X

ชาวนาลำปางครวญระบายผ่านโชเชียล หลังน้ำท่วมนาข้าวซ้ำซากต้นข้าวจมน้ำเสียหาย ส

ผู้สื่อข่าวรายจากสถานการณ์ฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดลำปางโดยเฉพาะน้ำในเขื่อนกิ่วลมและเขื่อนกิ่วคอหมา เพิ่มประมาณมากขึ้นทำให้ โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากิ่วลม-กิ่วคอหมาได้รายงานสถานการณ์น้ำ วันที่ 14 ก.ย. 65 คือสถานการณ์ฝนตกในรอบ 24 ชั่วโมง เขื่อนกิ่วลม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ปริมาณน้ำฝน 29.0 มม. เขื่อนกิ่วคอหมา อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ปริมาณน้ำฝน 0.0 มม. อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง คือ เขื่อนกิ่วลม ความจุ 106.22 ล้านลบ.ม. ปริมาณน้ำเก็บกัก 88.151 ล้าน ลบ.ม. (82.99%) ใช้การได้ 84.151 ล้าน ลบ.ม. น้ำไหลเข้า 24.890 ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำ 17.479 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนกิ่วคอหมา ความจุ 170.29 ล้านลบ.ม. ปริมาณน้ำเก็บกัก 172.244 ล้าน ลบ.ม. (101.15%) ใช้การได้ 166.244 ล้าน ลบ.ม. น้ำไหลเข้า 18.535 ล้าน ลบ.ม. ระบายน้ำ 7.266 ล้าน ลบ.ม.

ขณะเดียวกันได้มีชาวนาในพื้นที่อำเภอแจ้ห่มได้โพสต์เฟซบุกส่วนตัว ชื่อ กิตติศักดิ์ อุดรพงศ์ ถ่ายคลิปภาพนิ่งความเสียหายของนาข้าวตัวเอง ลงในกลุ่มเฟซบุก”เฮาฮักแจ้ห่ม” ระบายความในใจเกี่ยวกับความเสียหายของนาข้าวโดยมีการพูดระบายในคลิปว่า หลังจากน้ำท่วมครั้งที่แล้วช่วงต้นสิงหาคม 2556 ข้าวที่ปลูกไว้ตายหมด ที่เห็นนี้ปลูกใหม่ปลูกได้ไม่ถึงอาทิตย์ ฝนตกใหม่ 13 กันยายน และถ่ายวีดีโอ วันที่ 14 กันยายน 2565 ไม่เหลือละครับ การควบคุมการปล่อยน้ำของเขื่อน จะต้องปรับปรุง นะครับ ดูครับ ข้าวไม่เหลือแล้ว ท่วมจนถึงถนนไม่มีแล้วนะครับ ชลประทานและเขื่อน ต้องมีการควบคุมการปล่อยน้ำนะครับ ถ้าปล่อยอย่างนี้ทุกปี ไม่เหลือนะครับ ข้าวอยู่ในน้ำอยู่ใต้น้ำหมดนะครับ ไม่มีนะครับหมดเลย พอการโพสต์ปรากฏว่ามีคนเบ้ามาคอมเม้นท์ จำนวนมาก

ต่อมาผู้สื่อข่าวได้ติดต่อผู้ใช้เฟซบุกคนดังกล่าว ทราบต่อมาชื่อ นายกิตติศักดิ์ อุดรพงศ์ เปิดเผยว่า นาข้าวของตนที่เสียหายทั้งหมด 7 ไร่ อยุ่ที่การบริหารจัดการน้ำ หากมีน้ำท่วมใหญ่ อ.แจ้ห่มจะท่วมประมาณ 2 ชั่วโมง น้ำก็จะทยอยไหลไปตามธรรมชาติไปตามเส้นทางและไหลในตัวเมืองลำปาง ไปทางทิศใต้ ตั้งแต่มีเขื่อนมีการกักเก็บน้ำไว้ ในเขื่อนทั้งสองเขื่อนแล้วปล่อยพร้อมกันสองเขื่อน ทำให้น้ำที่ไหลมาระบายไม่ทันและจึงท่วมขังทำให้นาข้าวเสียหาย ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 แล้ว ที่ตนต้องปลูกข้าวใหม่ ควรมีการบริหารจัดการน้ำให้ดีควรคำนึงนึกถึงพี่น้องเกษตรกร ก่อนที่จะปล่อยน้ำ หากมีการบริหารจัดการที่ดีน้ำก็จะท่วมซ้ำซาก และเกิดความเสียหายเหมือนเดิม

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน