25 ก.ย. 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดวาลุการาม (วัดโตนด) หมู่ 2 ต.โตนด อ.คีรีมาศ จ.สุโขทัย ได้มีชาวบ้านผู้สูงวัยเป็นคุณปู่และคุณตา อายุ 70-90 ปี กว่า 10 คน รวมกลุ่มกันมาช่วยบูรณะซ่อมแซม “ล้ออิแอ่ว” หรือเกวียนโบราณเก่าแก่เกือบ 200 ปี เพื่ออนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้เห็น โดยช่างฝีมือหนึ่งในนั้นเป็นคุณปู่ อายุ 92 ปี ถีบจักรยานคู่ใจจากบ้านมาที่วัด ไปกลับวันละ 6 กิโลเมตร เพื่อมาช่วยซ่อมล้ออิแอ่ว
นายประเทือง ชำนาญ อายุ 92 ปี ชาวบ้านโตนด บอกว่า พระครูธำรงบุญเขต เจ้าคณะตำบลโตนด และเจ้าอาวาสวัดวาลุการาม ได้รวบรวมเครื่องมือของใช้โบราณไว้จำนวนมาก และมีความตั้งใจจะอนุรักษ์ “ล้ออิแอ่ว” หรือเกวียนโบราณ อายุเกือบ 200 ปี ไว้ให้ลูกหลานรุ่นหลังได้ดูได้ศึกษา ดังนั้นคนเฒ่าคนแก่ที่พอมีฝีมือช่าง ก็เลยมารวมตัวกันช่วยบูรณะล้ออิแอ่วให้คงสภาพดีดังเดิม โดยใช้เชือกหวายและไม้ประดู่เป็นชิ้นส่วนประกอบ มีซ่อมแซมครั้งแรกจำนวน 3 ลำ
ข่าวน่าสนใจ:
- กกต.อบจ.เพชรบูรณ์ สั่งเช็กเอกสารคล้ายประกาศรับรองผู้สมัครฯ หลุด หลัง"ลุงโทนี"โพสต์โชว์ก่อนลบทิ้ง
- พาณิชย์จังหวัดนครพนม ออกตรวจติดตามสถานการณ์การรับซื้อผลผลิตข้าวเปลือกนาปี
- ตร.กมลารวบ ผจก.เกสเฮ้าส์สาวติดพนันออนไลน์ ฉกเครื่องเพชร-นาฬิกาหรูนายจ้างสาวลูกครึ่ง ขาย-แพ็คส่งให้แฟนหนุ่มเก็บ
- จ.สุโขทัย 40 สาวงามขึ้นเวทีประชันโฉม ชิงตำแหน่งนางนพมาศ ในงาน "ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ" ประจำปี 2567
นายประเทือง เล่าให้ฟังว่า คนที่นี่สมัยก่อนจะใช้ควายเทียมล้ออิแอ่ว เป็นยานพาหนะในการเดินทาง และบรรทุกข้าวเปลือก พอเวลาล้อหมุนทำให้เพลาที่เป็นไม้เกิดการเสียดสีกัน จะมีเสียงดังอิแอ่วๆๆๆไปตลอดทาง ชาวบ้านจึงเรียกว่า “ล้ออิแอ่ว” ส่วนคำว่า “ล้อเกวียน” นั้นมาทีหลัง ห่างกันเป็นร้อยปี และต่างกันตรงที่ล้อเกวียนจะมีแผ่นเหล็กหุ้ม และเพลาก็เป็นเหล็กกลม แต่ล้ออิแอ่วนั้นทำจากชิ้นส่วนไม้ทั้งหมด ไม่มีเหล็กปน ชื่อเรียกกับความหมายจึงแตกต่างกัน
และนอกจาก “ล้ออิแอ่ว” ที่วัดวาลุการามแห่งนี้ ก็ยังมีการสานตะข้องยักษ์ กระบุงยักษ์ กระด้งยักษ์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร ตั้งแสดงอยู่บนศาลาการเปรียญ เพื่อให้ญาติโยมและเยาวชนรุ่นหลังได้ดูอีกด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: