กรมทางหลวง ประชุมสรุปแบบ ทางแยกต่างระดับ รูปแบบ ทางลอดร่วมกับวงเวียน เหมาะกับ ถนนหมายเลข 117 อุตรดิตถ์-ภูดู่ ช่วงแยก ป่าขนุน-สักใหญ่ เปิดการค้าชายแดน การท่องเที่ยว สปป.ลาว
วันที่ 26 กันยายน 2565 นายพยงค์ ยาเภา รองผู้ว่าฯจ.อุตรดิตถ์ เป็นประธานเปิดการประชุมสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบการพัฒนาโครงการสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร บนทางหลวงหมายเลข 117 ช่วง อุตรดิตถ์-ภูดู่ ตอนแยกป่าขนุน-แยกสักใหญ่ กรมทางหลวงได้จัดทำแผนพัฒนาทางหลวง โดยกำหนดตามทิศทางของการพัฒนาระบบคมนาคมและขนส่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ แต่ละฉบับมาตามลำดับงานที่ดำเนินการจะครอบคลุมถึงโครงการใหม่ ซึ่งเป็นงบลงทุนก่อสร้างและบูรณะทางหลวงทั่วประเทศ
ทั้งนี้นายศุภชัย ประเสริฐคุณาสิน รองผู้อำนวยการแขวงทางหลวงอุตรดิตถ์ที่ 1 กล่าวรายงานถึงรายละเอียดของโครงการฯว่า สำหรับทางหลวงหมายเลข 1 17 สายนครสวรรค์ – จุดผ่านแดนภูดู่ เป็นทางหลวงสายหลักที่เชื่อมการขนส่งจราจรระหว่าง จ.นครสวรรค์ จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก และเป็นทางหลวงสายรอง ระหว่าง จ.พิษณุโลก กับ จ.อุตรดิตถ์ ปัจจุบันแนวเส้นทางมีปริมาณการจราจรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ใช้ทางไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง ดังนั้น การศึกษาและออกแบบโครงการดังกล่าวจากทางหลวง 2 ช่องจราจร เป็นทางหลวง 4 ช่องจราจร จะช่วยให้การเดินทางท่องเที่ยว และการขนส่งสินค้ามีความสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น การดำเนินงานการศึกษาโครงการดังกล่าว กรมทางหลวงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่โครงการ จึงจัดให้มีการประชุมสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบการพัฒนาโครงการ(การประชุมสัมมนาครั้งที่ 2) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาที่เหมาะสมให้กลุ่มเป้าหมายได้รับทราบและเพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากกลุ่มเป้าหมายที่มีต่อโครงการ นำมาปรับปรุงข้อมูลรายละเอียดโครงการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นสำหรับนำมาพิจารณาประกอบการศึกษาและออกแบบโครงการให้มีความเหมาะสมต่อไป โดยผลการสรุปการเปรียบเทียบรูปแบบทางเลือกด้านเรขาคณิตทางแยกต่างระดับโดยพิจารณาปัจจัยด้านวิศวกรรมและจราจรปัจจัยด้านเศรษฐกิจและการลงทุนรวมถึงปัจจัยด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อมพบว่าทางเลือกที่สี่ทางแยกต่างระดับรูปแบบทางลอดร่วมกับวงเวียนเป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุด
ทางหลวงหมายเลข 1 17 ช่วง อุตรดิตถ์-ภูดู่ ตอน แยกป่าขนุน-แยกสักใหญ่ มีจุดเริ่มต้น โครงการบนทางหลวงหมายเลข 117 ประมาณ กม. 248+700 และจุดสิ้นสุดบนทางหลวงหมายเลข 117 ประมาณ กม. 311+250 ระยะทางประมาณ 62.55 กิโลเมตร โครงการมีกรอบระยะเวลาในการศึกษา 360 วัน ประโยนช์ที่คาดว่าจะได้รับ ช่วยให้การเดินทางและการขนส่งมีความสะดวกรวดเร็วและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม การค้าขายชายแดน การท่องเที่ยวกับ สปป.ลาว ผ่านการใช้ทางหลวงที่ได้มาตรฐานสูงกว่าเดิม ลดค่าใช้จ่ายการเดินทาง เพิ่มความสามารถในการรองรับปริมาณการจารจรที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
ข่าวน่าสนใจ:
จากการสรุปผลการเปรียบเทียบรูปแบบ พบว่าทางเลือกที่ 4 ทางแยกต่างระดับรูปแบบทางลอดร่วมกับวงเวียนเป็นรูปแบบที่เหมาะสมที่สุด ก่อสร้างทางลอดระดับรองรับการจราจรบนทางหลวงหมายเลข 11 ในทิศทางตรงจากเมืองอุตรดิตถ์มุ่งขึ้นเหนือไปอำเภอเด่นชัย และในทิศทางขาล่องจากอำเภอเด่นชัยไปเมืองอุตรดิตถ์ ด้วยก่อสร้างเป็นทางลอดต่างระดับ ขนาด 6 ช่องจราจร ทิศทางละ 3 ช่องจราจร ร่วมกับการปรับปรุงทางแยกระดับพื้น ควบคุมการจราจรทิศเลี้ยวขวาด้วยสัญญาณไฟจราจร เพื่อรองรับการเดินทางในทิศทางเลี้ยวขวาของการจราจรบนทางหลวงหมายเลข 11 และทางหลวงหมายเลข 117 และถนนดุสิตาลัยถนนเข้าวัดใหญ่เจริญธรรม
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: