วันนี้ 15 ตุลาคม 2565 จากกรณีที่มวลน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลกัดเซาะ ถนนทางหลวงชนบท 3018 (สายคันคลองมหาราช) ในพื้นที่ ม.12 ต.ตลุก อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ขาดจนน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาไหลทะลักลงสู่คลองมหาราชเป็นจำนวนมาก และส่งผลทำให้ถนนนั้นขาดยาวกว่า 60 เมตร
ซึ่งล่าสุดในวันนี้ หลายหน่วยงานได้เร่งบูรณาการทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น กรมชลประทาน ทางหลวงชนบท ปภ.ชัยนาท อบจ.ชัยนาท หน่วยงานด้านทหาร เช่น ศูนย์การทหหารปืนใหญ่ จ.ลพบุรี เจ้าหน้าที่ทหารจากศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองบิน 4 และ ฯลฯ ได้เร่งดำเนินการนำตะข่ายกันหิน ลงสกัดอุดช่องน้ำขาด พร้อมปักเสาเข็มไม้ป้องกันน้ำกัดเซาะคันคลองฝั่งซ้ายด้วย
ข่าวน่าสนใจ:
- มทภ.4 ย้ำผู้นำท้องที่ คือกำลังหลักในการแก้ปัญหา จชต.
- ตร.ตรังเข้ม ปราบอาชญากรรม จับอาวุธปืน-รถซิ่ง-ท่อแต่ง ของกลางเพียบ ผู้การตรังลงมือขับแบ็คโฮนำทำลายด้วยตัวเอง
- บุรีรัมย์ มท 2 วางศิลาฤกษ์อาคารเรียนแบบพิเศษพัฒนาประสิทธิภาพการเรียนการสอน
- กลุ่มผู้รับเหมาประกาศกฎเหล็กไม่ดำเนินงานต่อโครงการพลังงานสะอาด หาก UJV ไม่ชำระหนี้เก่าทั้งหมด
นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยทางโทรศัพท์ว่า ความคืบหน้าการซ่อมคันคลองชัยนาท-อยุธยา (คลองมหาราช) ซึ่งเป็นของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามหาราช สำนักงานชลประทานที่ 10 สาเหตุเนื่องจากน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาทะลักเข้าไปทำให้คันคลองขาดลงประมาณ 60 เมตร ปัจจุบันการทำงานเข้าวันที่ 2 แล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในวันนี้ โดยบูรณาการกับทุกภาคส่วน ทั้งทางจังหวัดชัยนาท นำโดยรองผู้ว่านที ท่านได้ลงมากำกับดูแล และยังมี ปภ.จังหวัด ทหาร ตำรวจ โยธาธิการฯ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ท้องถิ่นท้องที่ และพลังมวลชนต่างๆ และภาคธุรกิจเข้ามาช่วยทำงานอย่างเต็มที่ ซึ่งผลการดำเนินการซ่อมแซมขณะนี้ได้ประมาณร้อยละ 60 ยังเหลืออีกประมาณกว่า 20 เมตร ซึ่งน้ำไหลแรง ได้ใช้หินใหญ่ในการดำเนินการ และทำแนวป้องกันเข็มไม้บริเวณฝั่งซ้ายของคลองเพื่อป้องกันการกัดเซาะ
ทั้งนี้ แนวโน้มปริมาณน้ำที่อยู่เหนือจังหวัดนครสวรรค์ ที่ C.2 แนวโน้มลดลง ขณะนี้ต่ำกว่า 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที อยู่ที่ 2,962 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เมื่อตรงนี้ปริมาณน้ำลดลง ส่วนการระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาขณะนี้ 3,100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เนื่องจากที่ไปผ่านนครสวรรค์ 2,900 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที มารวมกับน้ำไหลหลากจากแม่น้ำสะแกกรังเข้ามาสมทบด้วย ประกอบกับมีการระบายน้ำออกซ้ายขวา หลังจากนั้นหากปริมาณน้ำลดลง จะเร่งดำเนินการซ่อมคันคลองให้กลับสู่สภาพเดิม
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: