สงขลา-สะเดา 3 องค์กรจับมือสื่อท้องถิ่น (หนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส )จัดโครงการอบรมเยาวชน สื่อสร้างสรรค์คนรุ่นใหม่ “IDEA MEDIA” ภายใต้โครงการ สงขลาสู่มรดกโลก
วานนี้ (17 ต.ค.65) ณ โรงแรมเดอะฟลอร่า เมย์ รีสอร์ท ต.พะวง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา มูลนิธิสงขลาสู่มรดกโลก ร่วมกับ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท.สผ.เอนเนอร์ยี่ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (ปตท.สผ.อีดี), กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน และหนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส
จัดโครงการอบรมเยาวชน สื่อสร้างสรรค์คนรุ่นใหม่ “IDEA MEDIA” ภายใต้โครงการสงขลาสู่มรดกโลก ระหว่างวันที่ 17-19 ตุลาคม 2565 โดยนายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา ประธานมูลนิธิสงขลาสู่มรดกโลก เป็นประธานพิธีเปิด ร่วมด้วยนางศรินทิพย์ ศรีทองคำ ผู้จัดการแผนกองค์กรสัมพันธ์ ฝ่ายฐานสนับสนุนการพัฒนาปิโตรเลียม ปตท.สผ.
ข่าวน่าสนใจ:
นายจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา บอกว่า วันนี้ผมดีใจนี่อาจจะเป็นงานแรกที่ผมมีโอกาสได้ขึ้นเวทีอีกครั้ง หลังจากเกษียณไป 1 ปีกับอีก 15 วัน “ ผมอยากจะเล่าให้ฟังว่า ในฐานะที่ผมเป็นคนมาจากพื้นที่อื่น บ้านเกิดผมอยู่ที่สุราษฎร์ธานี ผมไม่เคยมาทำงานที่สงขลาเลย ในฐานะเป็นข้าราชการ จนกระทั่งได้มาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดที่สงขลา ก่อนหน้านั้น ผมเคยมาสงขลาหลายครั้ง ก็วนเวียนอยู่แถวหาดใหญ่บ้าง สงขลาบ้าง ผมมีเพื่อนเป็นชาวสงขลาเยอะมาก “
แต่ว่าพอมาสงขลาแล้ว สิ่งที่ได้เรียนรู้ ที่ได้พบเห็นอยู่อย่างหนึ่งก็คือว่า สงขลาเป็นเมืองที่มีเสน่ห์ มีประวัติศาสตร์ ความเป็นมาที่ผมคิดว่า คน 80-90% ในประเทศไม่เคยรู้ในประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสงขลา ไม่เคยรู้ในความสำคัญของความเป็นหัวเมืองของสงขลา ในการที่จะนำพาประเทศให้อยู่รอดปลอดภัยจากยุคการล่าอาณานิคม พวกเราเรียนประวัติศาสตร์มา คงจะทราบว่า สมัยก่อนหน้าเรา อังกฤษไปครองที่มาเลเซีย แล้วก็ไปยึดพม่า แล้วก็มีแนวโน้มว่าจะเข้ามายึดเมืองไทย เอกราชสงขลา พยายามที่จะเป็นหัวเมือง ในการที่จะต่อสู้กับเรื่องเหล่านี้
สงขลามีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะความเป็นเมืองเก่า ความเป็นชุมชนที่มีการผสมผสานระหว่างไทย-พุทธ และจีน ที่มีความผสมผสานแสดงออกถึง อาคารบ้านเรือนต่าง ๆ ซึ่งมีความเก่าแก่ เป็นเอกลักษณ์ ใครมาใครไป ก็จะเห็นภาพนี้ติดตาม เราอยู่ในพื้นที่ เราอาจจะเห็นมาตลอด แต่ว่าคนที่มาจากที่อื่น พอมาเห็นแล้ว เขามีความตื่นตาตื่นใจ สิ่งเหล่านี้มันผสมผสานกัน บวกกับความเป็นประวัติศาสตร์ ความเป็นมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน ก็จะทำให้สงขลามีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น จนกระทั่งภาคประชาสังคมมีหลาย ๆ คนเห็นว่า เราควรจะมีการผลักดันให้สงขลา ก้าวไปสู่ความเป็นมรดกโลก
“สิ่งเหล่านี้เป็นต้นทุนให้พวกเราได้มีความภาคภูมิใจ เห็นแล้วมีความภูมิใจ และก็เราจะได้ถ่ายทอดเรื่องนี้ต่อไปยังคนอื่น ๆ อาจจะเป็นคนในจังหวัดต่าง ๆ ต้องให้รู้เหมือนที่เรารู้ ต้องให้ภูมิใจเหมือนที่เราภูมิใจ เพราะฉะนั้น ผมยินดีที่เห็นทางปตท.สผ. ร่วมกับ หนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส แล้วก็ร่วมกับมูลนิธิสงขลาสู่มรดกโลก ได้จัดอบรมน้อง ๆ ให้สามารถที่จะสื่อสารข้อมูลต่าง ๆ ของพื้นที่เราออกไปสู่สาธารณะ ให้มีความเผยแพร่ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น เพราะว่าเดี๋ยวนี้เรามีสื่อ ทุกคนมีทีวีอยู่ในมือ ทุกคนเป็นเจ้าของสถานีโทรทัศน์หมดเลย อยู่ในมือของเรา อยู่ที่เราจะจินตนาการสร้างสรรค์ออกมาในรูปแบบไหน บางคนสร้างแค่ไม่กี่นาที ใน TikTok มีคนเข้าดูเป็นล้าน”
เพราะฉะนั้น ถ้าเราใช้ตรงนี้ให้เกิดประโยชน์ จะมีผลอย่างมหาศาลต่อการยกระดับของสงขลา เข้าไปสู่ความสนใจของคนไทยในพื้นที่ต่าง ๆ หรือแม้แต่เป็นจุดเด่นขึ้นมาในสายตาชาวโลก ซึ่งตอนนี้ทางมูลนิธิสงขลาสู่มรดกโลก เราพยายามหลากหลายที่จะให้สงขลามีความเป็นมรดกโลกต้องเรียนว่า มันไม่ได้เป็นกันง่าย ๆ มรดกโลกมีอยู่ 3 ประเภท คือ 1. ทางวัฒนธรรม 2. ทรัพยากรธรรมชาติ และข้อ 3 ความผสมผสาน ในส่วนของสงขลาเราก็เรียกว่า ทางวัฒนธรรมเราก็มี ทางธรรมชาติเราก็มี อย่างนี้เป็นต้น มันสามารถที่จะไปได้ทั้ง 3 ประเภท
“ถามว่า ในประเทศไทย หรือในทั่วโลก มีมรดกโลกมาแล้วกี่แห่ง ถ้าจำตัวเลขไม่ผิดประมาณ 1,100 กว่าแห่ง ประมาณ 800 แห่ง เกี่ยวกับวัฒนธรรม และประมาณ 200 กว่าแห่งเกี่ยวกับธรรมชาติ ในส่วนของเรา ที่เป็นวัฒนธรรม เรามี 3 แห่ง สุโขทัย อยุธยา บ้านเชียง เป็นมรดกโลก และอีก 3 แห่งเป็นมรดกทางธรรมชาติ ก็จะมีทุ่งใหญ่ ห้วยขาแข้ง แถวอุทัยธานี ภาคกลาง แล้วก็มีเขาใหญ่ ป่าดงพญาเย็นอีกแห่ง แล้วก็อีกแห่งป่าแก่งกระจาน ล่าสุดที่ได้ เราก็หวังว่า สงขลาจะเป็นแห่งที่ 7 ของประเทศไทย ก็เลยผลักดันในเรื่องของมรดกโลก”
แต่มันไม่ใช่ว่า เราเสนอ แล้วเขาจะให้ มันต้องมีตัวชี้วัด มีหลักเกณฑ์อะไรต่าง ๆ เข้ามามากมาย แต่หนึ่งในนั้นก็คือว่า เราต้องสร้างการรับรู้ให้เกิดขึ้นในพื้นที่เราก่อน ใกล้ ๆ บ้านเราก็มีของปีนัง ที่ปีนังมีก็เหมือนที่สงขลามีที่ผมไปดูมา แต่บางอย่างที่ปีนังไม่มี ที่สงขลามี แต่บางอย่างที่สงขลาไม่มี แต่ปีนังมี แต่เหนือสิ่งอื่นใด เราต้องมาช่วยกันสร้างการรับรู้ให้กับสาธารณะ ให้กับสังคม ประเทศไทย หรือให้กับสังคมโลกให้ได้
“โดยอาศัยน้อง ๆ รุ่นใหม่ทั้งหลายได้ช่วยกันทำสิ่งเหล่านี้ให้เกิดขึ้น ถึงแม้เราจะไม่ได้ไปสู่มรดกโลกในเร็ว ๆ นี้ แต่ว่า ถ้าเราช่วยกันสื่อสารสิ่งดี ๆ ของสงขลาออกไป ไม่ว่าจะเป็นเกี่ยวกับเรื่องของวัฒนธรรมก็ดี เกี่ยวกับเรื่องวิถีชีวิตก็ดี เกี่ยวกับเรื่องธรรมชาติ หรือว่าสิ่งก่อสร้างที่เป็นโบราณก็ดี เราสื่อออกไป อย่างน้อย ๆ เราก็ได้ทำให้คนในประเทศเรา ได้เห็นว่า สงขลามีดีอะไร มันก็จะนำไปสู่การสร้างภาพลักษณ์ของเมือง นำไปสู่เรื่องของการท่องเที่ยว นำไปสู่เรื่องของการขยายตัวในเรื่องราวต่าง ๆ เยอะมากมายที่จะตามมา นั่นคือสิ่งที่เราจะได้ตามมา”
“เพราะฉะนั้นเราต้องเอาสิ่งดี ๆ ที่บรรพชนของเราได้สร้างไว้ ที่มันปรากฏในรูปของโบราณสถานก็ดี อาคารบ้านเรือนก็ดี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ก็ดี ความผูกพัน ความสามัคคีกลมเกลียวก็ดี สิ่งเหล่านี้มันเป็นจุดเด่นของสังคมบ้านเรา นำสิ่งเหล่าเผยแพร่ไป แล้วก็ต้องสร้างให้คนรุ่นต่อ ๆ ไป เขามีความเข้าใจเห็นถึงจุดเด่น เห็นความสำคัญ เห็นคุณค่าของความเป็นสงขลาให้มากขึ้น แล้วในอนาคตเราเดินไปถึงมรดกโลกอย่างแน่นอน”
การฝากส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ว่าโยนภาระให้คนรุ่นใหม่ หมายความว่าเราต้องช่วย ทุกคนในที่นี้ ต้องช่วยกัน ต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ ใครมีกำลังทางไหนใครถนัดทางไหน เราก็ช่วยกัน เรายังมีเครือข่ายนักวิชาการอีกที่จะคอยช่วยกัน มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เริ่มทำวิจัย เริ่มศึกษา เรื่องอะไรต่าง ๆ ก็ช่วยกันคนละไม้บำรุงอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นหมายความว่า น้อง ๆ อบรมเรื่องนี้แล้ว เรามีน้อย ๆ ช่วยกันสร้างสรรค์ สิ่งเหล่านี้
นายจารุวัฒน์ฯ กล่าวด้วยว่า เมื่อผมได้รู้ ได้ฟังประวัติศาสตร์ ความเป็นไปเป็นมาของเมือง ได้สัมผัสวิถีชีวิตผู้คน รู้สึกมีความประทับใจ แล้วก็อบอุ่น ภาคภูมิใจไปกับสิ่งที่สงขลาได้พัฒนาการมา เพราะฉะนั้น ก็อยากเผื่อแผ่ความภูมิใจไปสู่น้อง ๆ ที่เป็นสายเลือดเนื้อเชื้อไขคนสงขลาแท้ ๆ
“ผมไม่ใช่คนสงขลาแท้ ๆ ผมยังภูมิใจขนาดนี้ ถ้าน้อง ๆ เป็นคนสงขลาแท้ ๆ น้องต้องมีความภาคภูมิใจมากกว่านี้” อดีตผู้ว่าฯ สงขลา กล่าว
ด้าน นางศรินทิพย์ ศรีทองคำ ตัวแทนของปตท.สผ. และปตท.สผ.อีดี ดีเวลลอปเม้นท์ บอกว่าวันนี้เรารู้สึกดีใจที่น้องๆ หลายๆ คนสมัครมาด้วยตนเองไม่ได้มีโรงเรียนหรือคุณครูบังคับมา ก็รู้สึกดีว่า ที่เห็นเยาวชนรุ่นใหม่ในการทำสื่อที่จะเป็นสื่อสร้างสรรค์ เพื่อประโยชน์โดยเฉพาะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองเรา”
เราจะมีการเรียนรู้ทั้งหมดกัน 3 วัน ทางปตท.สผ.ร่วมกับมูลนิธิสงขลาสู่มรดกโลกและหนังสือพิมพ์ภาคใต้โฟกัส ได้เรียนรู้จากวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ ให้พวกเรามาช่วยผลิตอาวุธให้พวกเราในการที่เราจะใช้สื่อและผลิตสื่อที่มีคุณภาพ เป็นสื่อสร้างสรรค์ เพื่อช่วยในการถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ของสงขลาของเราบ้านเกิดเมืองนอนของเราทั้งสงขลาในฝั่งบ่อยาง และฝั่งสิงหนคร ก็เป็นเมืองที่อย่างท่านผู้ว่าจรุวัฒน์ เกลี้ยงเกลาได้กล่าวไปแล้วว่า สงขลาเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ย้อนไป 1,000 ปี
“วันนี้พวกเราก็จะได้เรียนรู้กัน แล้วก็น้องๆ ก็จะได้ร่วมกันคิดว่าน้องอยากทำสื่ออย่างไรที่จะถ่ายทอดเรื่องราวดีๆเรื่องราวความสวยงามเรื่องราวอันทรงคุณค่า ของบ้านเมืองเราให้กับคนอื่น เพื่อนของเรา คนต่างชาติหรือคนที่อยู่ในที่ต่างๆ เขาจะได้รับรู้และประทับใจมาเยี่ยมชมมาเที่ยวชมเพื่อให้เกิดคุณค่า ทั้งในด้านวัฒนธรรม เขารับทราบและภาคภูมิใจไปกับเรา คุณค่าด้านเศรษฐกิจ เราก็ต้องยอมรับว่าปัจจุบันนี้การท่องเที่ยวเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสร้างรายได้สร้างความเจริญ ให้กับพื้นที่ เราสามารถทำสื่อดีๆเผยแพร่ออกไป ในภาพที่สวยงามเรื่องราวที่น่าประทับใจ“
ปตท.สผ. ขอบคุณทุกหน่อยงานที่ร่วมมือกันกิจกรรมนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าทุกท่านไม่ได้ร่วมมือกันแบบนี้ อันดับหนึ่งก็คือ มูลนิธิสงขลาสู่มรดกโลก ท่านจารุวัฒน์ เกลี้ยงเกลา อดีตผู้ว่าราชการจังหวัด ท่านให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับงานของเราในวันนี้ ท่านเป็นท่านผู้ว่าที่บุกเบิกและสนับสนุนให้สงขลาเราเป็น สงขลาสู่การมรดกโลกอย่างแท้จริง ก็ทาง ปตท.สผ. ได้ร่วมกับทางจังหวัดในการสนับสนุนงบประมาณให้สงขลาสู่การเป็นมรดกโลก
เรามีการพัฒนาพื้นที่ที่เป็นแหล่งประวัติศาสตร์ น้องๆ ฝั่งสิงหนครก็จะคุ้นเคยกันดีที่เป็นโบราณสถาน แล้วก็ในฝั่งบ่อยางหลายคนก็เชื่อว่าเคยทำกิจกรรมตรงนั้น เราคงต้องช่วยกันในการถ่ายทอดเผยแพร่ออกไปว่าบ้านเราเมืองเรา มีสิ่งเหล่านี้อยู่นะคะ อีกเรื่องหนึ่งที่หลายคนอาจไม่รู้ สงขลาเป็นเมืองที่สำคัญมากสำหรับทรัพยากรของประเทศเรา น้องๆทราบไหมคะว่า ไฟฟ้าที่เราใช้มาจากไหน โรงไฟฟ้าเขาใช้อะไรในการผลิตไฟฟ้า ไฟฟ้าที่เราใช้ที่ประเทศไทยใช้มาจากก๊าซธรรมชาติ แล้วก๊าซธรรมชาติอยู่ในอ่าวไทย ซึ่งเมืองสงขลาเป็นเมืองที่สำคัญมาก ในจะมีการผลิตก๊าซธรรมชาติได้
“ทุกคนที่ลงไปทำงานในอ่าวไทยอุปกรณ์ทั้งหมดที่จะต้องเอาไปใช้ในการทำงานในการผลิตก๊าซธรรมชาติ จะต้องผ่านจังหวัดสงขลา สงขลาเป็นฐานที่สำคัญที่สุดในการผลิตก๊าซธรรมชาติให้อ่าวไทย ไม่ว่าบริษัทอะไรก็ตาม แท่นผลิตก๊าซของ ปตท.สผ. ของเชฟรอน ของบริษัทอื่น ๆ อะไรก็ตามจะผ่านสงขลา เพราะฉะนั้นเมืองสงขลาเป็นแหล่งสำคัญผลิตปิโตรเลียม คนสงขลาอาจไม่รู้อาจเห็นแค่ว่าเรือน้ำมัน ความจริงที่เห็นเรือน้ำมัน ไม่มีน้ำมันอยู่ในนั้นนะ มันคือเรือที่ใช้ในการสนับสนุน สำรวจแบะการผลิตปิโตรเลียมในทะเล ซึ่งการผลิตปิโตรเลียมทั้งหมด จะออกที่สงขลา ในการบรรทุกคน บรรทุกของ บรรทุกอาหาร บรรทุกเสบียงทุกอย่างไป เพราะฉะนั้นสงขลาของเรามีเรื่องดี ๆ หลายเรื่อง ที่อยากให้พวกเราได้เรียนรู้และก็ถ่ายทอดออกไป“
เพื่อสร้างคุณค่าร่วมกัน สร้างคุณค่าให้กับเมืองนี้ของเรา เรามีโอกาสดีกว่าเพื่อนๆ เราสมัครมา เราเลือกที่จะมาเรียนรู้ 3 วันนี้ เราก็จะได้เรียนรู้ เราก็จะได้ผ่านกระบวนการคิดกันเรียบร้อยแล้วว่า อยากจะให้ความรู้อะไรให้กับน้อง ๆ บ้าง เพื่อให้น้องๆ จะได้มีอาวุธครบมือในการเป็นผู้ที่ถ่ายทอดเรื่องราวดีๆ ของเมืองสงขลา“ นางศรินทิพย์ฯ กล่าวถึง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: