กรุงเทพฯ – ‘ครูมืด – ประสาท ทองอร่าม’ ศิลปินกรมศิลปากร บรมครูนาฏศิลป์ไทย ผู้เป็นครูโขนมากว่า 50 ปี เสียชีวิตแล้ว ในวัย 72 ปี ด้วยโรคมะเร็งปอด
วันที่ 5 พฤศจิกายน 2565 วงการโขนและศิลปวัฒนธรรมไทย สูญเสีย ‘ครูมืด’ ประสาท ทองอร่าม ปรมาจารย์ด้านวัฒนธรรม ศิลปินด้านศิลปวัฒนธรรมไทย ซึ่งมีประสบการณ์เป็นครูโขนมากว่า 50 ปี มีผลงานฝากไว้แก่วงการบันเทิงและศิลปะไทยอันทรงคุณค่ามากมาย เคยได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติด้านดนตรีและศิลปิน ประจำปี 2563 สาขาบุคคลต้นแบบผู้ทรงคุณวุฒิ ทางด้านดนตรีและศิลปะการแสดง โดยหออัครศิลปิน Hall Of Jazz ด้วย
ครูมืดเสียชีวิต ในวัย 72 ปี ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อเวลา 17.21 น. ระหว่างรักษาอาการโรคมะเร็งปอด มาราว 1 ปี
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง คู่ซี้ พระ-ฆราวาส เมาแอ๋ด่าทอชาวบ้านใกล้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อาละวาดอ้างมีปืน ทำชาวบ้านแตกตื่น ตร.หิ้วปีกบังคับสึก กร่างไม่เลิกบอกรู้จักพระผู้ใหญ่
- ปิดตำนานนักเขียน "ตรี อภิรุม" ศิลปินแห่งชาติฯ เจ้าของผลงาน "นาคี"
- ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีฯ จัดกิจกรรม"วันกิมจิ"เผยแพร่การทำกิมจิ ผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 700 คน
- กทม. ร่วม"ฟูกูโอกะ" เปิดงาน "Fukuoka Fair" ฉลอง 18 ปีเมืองพี่เมืองน้อง
ประวัติในวงการโขนและศิลปวัฒนธรรมไทย
‘ครูมืด’ ประสาท ทองอร่าม เคยเล่าว่า ได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดวิชานาฏศิลป์ไทยทุกแขนงมาตั้งแต่ยังเด็กด้วยสายเลือด เนื่องจากเติบโตมาในครอบครัวที่คุณปู่ คุณพ่อ และคุณอา เป็นนักดนตรีไทย อยู่ที่บ้านคุณครูหลวงประดิษฐ์ ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เมื่อจบการศึกษาระดับประถมศึกษา คุณปู่ซึ่งรู้จักกับครูดนตรีของกรมศิลปากร คือ คุณครูประสิทธ์ ถาวร จึงฝากฝังให้เข้าเป็นนักเรียนโรงเรียนนาฏศิลป์ ตั้งแต่ พ.ศ.2504 (ปัจจุบัน เป็นสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์) สาขาดุริยางค์ไทย ขณะศึกษา ได้รับการคัดเลือกเป็นนักเรียนในพระอุปถัมภ์ ของพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร ซึ่งมีดำริให้คัดเลือกเด็กนักเรียน มาฝึกหัดนาฏศิลป์ไทยทุกแขนง ทั้งการเรียนโขน ลิเก สวด แหล่ เห่ กล่อม การพากษ์โขนละคร รวมทั้งการแสดงจำอวด โดยมีอาจารย์เสรี หวังในธรรม บรมครูด้านนาฏศิลป์ไทยเป็นผู้ดูแลและถ่ายทอดวิชาความรู้
ทำให้ ครูมืดได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ในศาสตร์แห่งนาฏศิลป์ไทย และได้รับการยอมรับว่าเป็นศิษย์เอกคนสำคัญของอาจารย์เสรี หวังในธรรม
ประวัติการรับราชการ
‘ครูมืด’ เริ่มเข้ารับราชการที่ สำนักการสังคีต กรมศิลปากร ในตำแหน่งศิลปินสำรอง ทำให้มีโอกาสร่วมงานกับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการแสดงโขนหลายท่าน อาทิ อาจารย์ยอแสง ภักดีเทวา อาจารย์เจริญ เวชเกษม ทำให้ครูมืดได้สั่งสมความรู้และประสบการณ์ในการแสดงโขน รวมทั้งการเติบโตในตำแหน่งหน้าที่ราชการ กระทั่งเกษียณอายุ ในตำแหน่งหัวหน้างานกลุ่มวิจัยพัฒนางานและการแสดง สำนักการสังคีต กรมศิลปากร
อย่างไรก็ตาม ครูมืดยังได้รับเกียรติจากกรมศิลปากร ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมไทย มีหน้าที่ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมไทยทุกแขนง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสดงโขน
ผลงานชิ้นสำคัญของครูมืด คือ การควบคุมการฝึกซ้อมการแสดงโขนรามเกียรติ์ พร้อมจัดแสดงหน้าพระเมรุมาศ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: