16 พฤศจิกายน 2565 แผนกประชาสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์ระบบส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับแผนกประชาสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์โรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และแผนกประชาสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์โรงไฟฟ้าน้ำพอง จ.ขอนแก่น นำคณะสื่อมวลชนจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายสาขาประกอบด้วย สื่อวิทยุโทรทัศน์ โทรทัศน์ดาวเทียม เคเบิ้ลทีวี สื่อออนไลน์ สื่อภาครัฐ จากจังหวัดต่างๆ ในภาคอีสาน จำนวน 36 คน เดินทางมาศึกษาดูงาน ระหว่างวันที่ 12 -16 พฤศิกายน 2565 ภายใต้โครงการสื่อมวลชนสัมพันธ์ กฟผ.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ศึกษาดูงาน และสานเสวนาในพื้นที่ กฟผ.ภาคเหนือ ปี 2565 โดยมี นายก่อเกื้อ พรหมกสิกร หัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เป็นผู้แทนต้อนรับและบรรยายภารกิจของโรงไฟฟ้าแม่เมาะจังหวัดลำปาง
นายก่อเกื้อ กล่าวว่า กฟผ. แม่เมาะ มีภารกิจหลักในการผลิตถ่านลิกไนต์ให้กับโรงไฟฟ้าแม่เมาะใช้สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อรักษาความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศโรงไฟฟ้าถ่านหินลิกไนต์แม่เมาะ ประกอบด้วยโรงไฟฟ้าพลังความร้อนทั้งหมดจำนวน 14 เครื่อง ได้แก่โรงไฟฟ้าพลังความร้อน เครื่องที่ 1-3 กำลังผลิตเครื่องละ 75 เมกะวัตต์ รวม 225 เมกะวัตตฺ์ (ปลดออกจากระบบ)โรงไฟฟ้าพลังความร้อน เครื่องที่ 4-7 กำลังผลิตเครื่องละ 140 เมกะวัตต์ รวม 560 เมกะวัตต์ (ปลดออกจากระบบ) กฟผ. ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่สูงขึ้น จึงทำให้ปัจจุบันโรงไฟฟ้าแม่เมาะมีกำลังผลิตตามสัญญารวม 2,220 เมกะวัตต์ซึ่งจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังจังหวัดต่าง ๆ ทั้งภาคเหนือตอนบนและล่างเชื่อมต่อไปยังภาคกลางและเชื่อมโยงกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วย
นายก่อเกื้อ กล่าวอีกว่าท่ามกลางวิกฤติพลังงาน โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ได้กลับมามีบทบาทสำคัญในการช่วยรักษาความมั่นคงทางพลังงานอีกครั้ง เนื่องจากเป็นโรงไฟฟ้าฐานขนาดใหญ่ ที่ผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินลิกไนต์ เหมืองแม่เมาะ ซึ่งเป็นแหล่งเชื้อเพลิงในประเทศ ซึ่ง MM-T4 RE-Powering Project เป็น โครงการที่ศึกษาด้านเทคนิคและวิศวกรรมในเบื้องต้น ในการนำโรงไฟฟ้าที่ปลดระวางไปแล้ว กลับมาเดินเครื่อง ซึ่งพบว่าโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4 มีความพร้อม และเหมาะสมที่สุดในการบำรุงรักษา และนำกลับมาเดินเครื่องอีกครั้ง เพื่อลดต้นทุนค่าไฟฟ้า และบรรเทาวิกฤตด้านพลังงานของชาติตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน ขณะนี้อยู่ระหว่างการทดสอบระบบต่างๆ เพื่อเตรียมการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบต่อไป ซึ่งการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4 จะเดินในช่วงที่โรงไฟฟ้าเครื่องอื่นหยุดซ่อมบำรุงตามวาระ เพื่อควบคุมไม่ให้การผลิตเกิน 2,455 เมกกะวัตต์ ตามที่ EHIA โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่อง 4-7 กำหนดทั้งนี้เหมืองแม่เมาะเป็นเหมืองแร่ลิกไนต์ขนาดใหญ่ มีกำลังการผลิต 16 ล้านตันต่อปี เพื่อส่งให้โรงไฟฟ้าแม่เมาะใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า
ซึ่งการนำโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 4 กลับมาเดินเครื่อง เพื่อเป็นกำลังเสริมในช่วงที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องอื่น ๆ ขัดข้องหรือหยุดเดินเครื่องนั้น จะช่วยลดผลกระทบด้านต้นทุนค่าไฟฟ้าแก่ภาคประชาชนโดยตรง ลดการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ ทั้งช่วยกระจายสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงเพื่อความมั่นคงในระบบไฟฟ้า นอกจากนั้นยังทำให้เกิดการจ้างงานใน อ.แม่เมาะ อย่างต่อเนื่อง และรักษาสัดส่วนเงินนำเข้าของกองทุนพัฒนาไฟฟ้า โรงไฟฟ้าแม่เมาะ อีกด้วย นอกจากนี้คณะสื่อมวลชนได้เดินทางไปรับฟังบรรยายและชมการผลิตไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล จ.ตาก และ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ ตามลำดับ
ข่าวน่าสนใจ:
- อบจ.ลำปางยกระดับคุณภาพมาตรฐานหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ PCU/NPCU
- กทม. ร่วม"ฟูกูโอกะ" เปิดงาน "Fukuoka Fair" ฉลอง 18 ปีเมืองพี่เมืองน้อง
- ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีฯ จัดกิจกรรม"วันกิมจิ"เผยแพร่การทำกิมจิ ผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 700 คน
- ตรัง จัดใหญ่ 12 วัน งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานกาชาดจ.ตรัง 4-15 ธ.ค.นี้ รีแบร์นใหม่! ย้อนยุคงานเหลิมแต่แรก แสดงบินโดรนพิธีเปิด วธ.ทุ่ม 3.4 ล้าน…
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: