กรุงเทพฯ – นายกรัฐมนตรี ร่วมหารือกับผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและแขกพิเศษ เพื่อรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจโลกและภาวะถดถอยที่กำลังเกิดขึ้นท่ามกลางความท้าทายทางภูมิรัฐศาสตร์ พร้อมร่วมกันแสวงหาแนวทางส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม เพิ่มพูนความร่วมมือเพื่อลดช่องว่างการพัฒนา
วันที่ 18 พฤศจิกายน 2565 เวลา 12.30 น. ณ ห้อง Plenary Hall 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการหารืออย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค กับแขกพิเศษ (นายเอมานูว์แอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และ เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อาล ซะอูด มกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีซาอุดีอาระเบีย) ภายใต้หัวข้อ ‘การค้าและการลงทุนที่ยั่งยืนระหว่างเอเปคกับหุ้นส่วนด้านการค้า’ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ในเชิงเศรษฐกิจ ผลกระทบจากโควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย ต้องเผชิญกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูง ความไม่มั่นคงด้านพลังงานและอาหาร ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกที่หยุดชะงัก และความเสี่ยงด้านเสถียรภาพทางการเงินที่เพิ่มขึ้น รวมถึงความท้าทายใหม่ ๆ
‘เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล’ ซึ่งเป็นหัวข้อการประชุมเอเปคปี 2565 อยู่บนพื้นฐานของแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว หรือ แนวคิดเศรษฐกิจ BCG เพื่อขับเคลื่อนงานภายใต้ 3 เสาหลักของวิสัยทัศน์ปุตราจายาของเอเปค ปี ค.ศ.2040
ข่าวน่าสนใจ:
- กลุ่มผู้รับเหมาประกาศกฎเหล็กไม่ดำเนินงานต่อโครงการพลังงานสะอาด หาก UJV ไม่ชำระหนี้เก่าทั้งหมด
- ททท.เชิญชม แสง สี สวยงามอลังการ “VIJIT CHAO PHRAYA 2024” วันนี้-15 ธค. ฟรี
- ตรัง อึ้ง!! เด็ก-เยาวชนหลุดออกนอกระบบการศึกษากว่า 6 พันคน ศึกษาธิการตรังสั่งรวบรวม-วิเคราะห์ข้อมูล รับนโยบาย Thailand zero dropout
- ททท. จัดงานใหญ่ "วิจิตรเจ้าพระยา 2024" สวยงามตระการตา กระตุ้นการท่องเที่ยวส่งท้ายปีนี้
ตลอดปีที่ผ่านมา มีการพบปะกับภาคเอกชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และได้เป็นเจ้าภาพจัดการการประชุมระดับรัฐมนตรี 8 ครั้ง เพื่อพัฒนาความร่วมมือของเอเปคในประเด็นที่เกี่ยวข้อง และมีความคืบหน้าอย่างมาก ไทยตระหนักดีว่า ความร่วมมือกับพันธมิตรนอกเอเปค เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการฟื้นฟูและการเติบโตในระดับที่กว้างขึ้น เพื่อการพัฒนาที่แข็งแกร่ง สมดุล ยืดหยุ่น ยั่งยืนและครอบคลุม
ด้านประธานาธิบดีฝรั่งเศส กล่าวว่า พร้อมสนับสนุนการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการเจริญเติบโตที่ยั่งยืน ท่ามกลางความท้าทาย ในส่วนซาอุดีอาระเบีย และโอเปค มุ่งมั่นเสริมสร้างการเจริญเติบทางเศรษฐกิจ ตลอดจนการสร้างเสถียรภาพในตลาดพลังงาน และความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม พลังงานสะอาด พร้อมทั้งมุ่งมั่นสร้างสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อม
ร่วมกันแสวงหาแนวทางส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ครอบคลุมท่ามกลางความท้าทาย
เวลา 13.50 น. ณ ห้องประชุม Plenary Hall 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการหารือ ระหว่างผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคกับแขกพิเศษ ในช่วงอาหารกลางวัน ภายใต้หัวข้อ ‘การส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม ในช่วงเศรษฐกิจถดถอยและวิกฤติเงินเฟ้อ. โดยมีสาระสำคัญจากการหารือ ดังนี้
นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงรายงานภาพรวมเศรษฐกิจโลกของ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประจำปี 2565 ซึ่งคาดการณ์ว่า การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกจากนี้จนถึงปี 2566 จะชะลอตัว ระดับเงินเฟ้อยังคงเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วและเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาในทิศทางและระดับที่ต่างกัน ตลอดจนส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ทำให้ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจนยิ่งกว้างขึ้น การสร้างการเติบโตหลังโควิด-19 ที่ครอบคลุมและยั่งยืนมากขึ้น จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการบรรเทาผลกระทบต่อกลุ่มเปราะบาง และช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับรากฐานทางเศรษฐกิจและสังคม
ภายหลังการแลกเปลี่ยนมุมมองของผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและแขกพิเศษ นายกรัฐมนตรีกล่าวสรุปการหารือ ซึ่งผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและแขกพิเศษ เห็นพ้องกันว่า ท่ามกลางสถานการณ์ความท้าทายต่าง ๆ ยังมีปัจจัยบวกจากการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล และการค้าการลงทุนที่คำนึงถึงความสมดุลระหว่างธุรกิจกับสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงการกระจายผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจไปสู่คนทุกกลุ่ม รวมถึงการขจัดความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน เพื่อนำไปสู่การเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาว ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเห็นความจำเป็นในการพัฒนาเครือข่ายรองรับทางสังคม การส่งเสริมการเข้าถึงโอกาสทางธุรกิจของ MSMEs ส่งเสริมบทบาทของสตรี รวมถึงการสร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ โดยนายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า การหารือในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นการส่งเสริมความร่วมมือที่สร้างสรรค์ระหว่างกัน ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ท้าทาย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: