กรุงเทพฯ – กรมควบคุมโรค ส่งทีมสอบสวนโรค กรณีชายวัย 38 ปี ติดโควิดและเสียชีวิตในคอนโดมิเนียม พบรับวัคซีนเข็ม 3 มานานกว่า 10 เดือน ย้ำกลุ่มผู้สูงอายุ/กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง 608 ให้รีบมาฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ลดป่วยหนัก-เสียชีวิต
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวกรณี ชายอายุ 38 ปี ติดโควิด 19 และนอนเสียชีวิตในคอนโดมิเนียม เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 ว่า จากข้อมูลการสอบสวนโรคเบื้องต้น โดยสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค และสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร พบว่า ชายคนดังกล่าวได้รับวัคซีน 3 เข็ม รับเข็มสุดท้ายเดือนมกราคม 2565 นานมากกว่า 10 เดือน ขณะนี้รอผลการชันสูตรศพ เพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต จากสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งจะทราบผลเร็ว ๆ นี้
จึงขอความร่วมมือ โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเสี่ยง 608 คือ ผู้สูงอายุหรือกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน มีอัตราการป่วยตายจากโควิดมากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งหมดที่รายงานในแต่ละวัน และกลุ่มนี้หากรับวัคซีนครบแล้วเข็มล่าสุดนานเกิน 4 เดือนขึ้นไป ให้เข้ารับวัควีนเข็มกระตุ้นเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่เพียงพอ จะสามารถป้องกันการป่วยหนัก และลดโอกาสเสียชีวิตได้ สามารถเข้ารับวัคซีนได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ด้านนายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า หลายพื้นที่ของประเทศไทยเริ่มมีอากาศหนาว ส่งผลต่อการแพร่เชื้อโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะโรคโควิด 19 สายพันธุ์ BA.2.75 ที่สามารถหลบภูมิคุ้มกันได้ เริ่มมีแนวโน้มพบผู้ป่วยสูงขึ้นในประเทศไทย ซึ่งตรวจพบครั้งแรกในประเทศอินเดีย เมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา และได้แพร่กระจายไปหลายประเทศ
ข่าวน่าสนใจ:
- "รัฐสภา" ร่วมสนับสนุนการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน “พระจักราวตาร”
- รมว.ท่องเที่ยว ชวนลอยกระทง "สีสันแห่งสายน้ำฯ" สร้างสรรค์และใส่ใจสิ่งแวดล้อม
- ททท. จัดงานใหญ่ "วิจิตรเจ้าพระยา 2024" สวยงามตระการตา กระตุ้นการท่องเที่ยวส่งท้ายปีนี้
- ทีดีอาร์ไอ จัดเวิร์คชอป “ CONTENT CREATOR WORKSHOP: SYNERGY FOR CLEAN ENERGY”
ดังนั้น การพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว บ่งชี้ว่ามีความสามารถในการแพร่ระบาด แต่ยังไม่มีรายงานความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นจากเชื้อเดิม โดยในประเทศไทย มีรายงานพบสายพันธุ์ BA.2.75 ครั้งแรก เมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2565 แต่รายงานสัดส่วนของผู้ติดเชื้อสายพันธ์นี้ในประเทศเพิ่มขึ้นมากจากเดือนที่แล้ว เพิ่มจากร้อยละ 23.2 เป็นร้อยละ 43.9 อย่างไรก็ตาม สามารถใช้ยาต้านไวรัสที่มีอยู่รักษาได้ และวัคซีนที่มีอยู่รวมถึงแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว (Long-acting Antibodies; LAAB) ยังสามารถยับยั้งเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์ BA.2.75 ได้
ทั้งนี้ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข สั่งการให้โรงพยาบาลต่าง ๆ ในสังกัด ขยายวันให้บริการฉีดวัคซีน เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงวัคซีน รวมทั้งสถาบันบำราศนราดูร ที่เปิดให้บริการวันจันทร์-ศุกร์ ตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: