X

ปทุมธานี เปิดศูนย์เลสิกธรรมศาสคร์ใช้เทคโนโลยีช่วยรักษาสายตาได้เร็วและความแม่นยำที่สุดในการรักษาสายตาคนไข้

ปทุมธานี เปิดศูนย์เลสิกธรรมศาสตร์ใช้เทคโนโลยีช่วยรักษาสายตาได้เร็วและความแม่นยำที่สุดในการรักษาสายตาคนไข้

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 2 ธันวาคม 2565 ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ภก.ชาญชัย อุดมลาภธรรม ประธานบริหารบริษัท อาร์เอ็กซ์ จำกัด , รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ , รศ.พญ.วิมลวรรณ ตั้งปกาศิต หัวหน้าศูนย์ต้อกระจกและเลสิกธรรมศาสตร์ พร้อมทีมแพทย์ร่วมพิธีเปิดศูนย์เลสิกธรรมศาสตร์ใช้เทคโนโลยี WaveLight Refractive Suite รักษาสายตาได้เร็วที่สุดและมีเทคนิคการส่งผ่านข้อมูลที่ก้าวหน้าที่สุด เป็นเทคโนโลยีสามารถผสมผสานระหว่างความเร็วและความแม่นยำในการรักษาสายตาคนไข้

สืบเนื่องจากในช่วงแรกศูนย์เลสิกธรรมศาสตร์ได้เปิดบริการในปี 2549 ที่บริเวณชั้น 1 อาคารม.ร.ว.สุวพรรณ สนิทวงศ์ และทำการย้ายพื้นที่ เปลี่ยนเครื่องผ่าตัดให้ทันสมัยมากขึ้นในปี 2556 จนถึงปี 2563 และทำการปรับปรุงพื้นที่เป็นศูนย์ต้อกระจกและเลสิกธรรมศาสตร์ (TCLC) เปิดให้บริการผ่าตัดต้อกระจกและเลสิก โดยเริ่มเปิดให้บริการในเดือนตุลาคม 2565 เฉพาะในส่วนของต้อกระจกและในเดือนธันวาคม 2565 ได้เปิดให้บริการส่วนเลสิก บริการผ่าตัดทั้งในเวลาราชการและนอกเวลาราชการ โดยใช้เครื่องมือผ่าตัดแก้ไขสายตาผิดปกติ สั้น ยาว เอียง ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่จากประเทศเยอรมนี คือ WaveLight Refractive Suite และปรับรูปแบบบริการเป็นการให้บริการแบบพรีเมี่ยม เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ใช้บริการที่ต้องการความสะดวก รวดเร็ว และการรักษาที่ได้มาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล

สำหรับศูนย์เลสิกธรรมศาสตร์ ได้วิวัฒนาการของการผ่าตัดปรับเปลี่ยนความโค้งของกระจกตาโดยเครื่องเลเซอร์ ได้มีการก้าวหน้าอย่างมาก เทคโนโลยีของเครื่องมือ Lasik ในปัจจุบันมีความแม่นยำสูง สามารถแก้ปัญหาสายตาสั้นและเอียงได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงเพราะสามารถตอบโจทย์การใช้ชีวิตและมอบอิสระแก่คนรุ่นใหม่ ที่ไม่ต้องการผูกติดกับแว่นตาและคอนแทคเลนส์ ทางด้าน บริษัท อาร์เอ็กซ์ จำกัด ร่วมมือกับแผนกจักษุ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ในการนำอุปกรณ์ที่มีความทันสมัยและบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาทำงานร่วมกับทีมจักษุแพทย์ ตลอดจนช่วยสนับสนุนการเรียนการศึกษาของว่าที่จักษุแพทย์ในอนาคต เพื่อผลิตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการแก้ปัญหาสายตาสั้น และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน

รศ.พญ.วิมลวรรณ ตั้งปกาศิต ผู้จัดการศูนย์ต้อกระจกและเลสิกธรรมศาสตร์ กล่าวว่า WaveLight Refractive Suite คือเทคโนโลยีจากประเทศเยอรมนี เป็นเครื่องที่ใช้เวลารักษาสายตาได้เร็วที่สุดและมีเทคนิคการส่งผ่านข้อมูลที่ก้าวหน้าที่สุด เป็นเทคโนโลยีที่สามารถผสมผสานระหว่างความเร็วและความแม่นยำในการรักษาสายตาคนไข้ ประกอบด้วยเครื่องแยกชั้นกระจกตาด้วยเลเซอร์ความเร็วสูง (WaveLight FS200, Femtosecond Laser) และเครื่องแก้ไขสายตาผิดปรกติด้วยเลเซอร์ (WaveLight EX500, Excimer Laser) ซึ่งทำงานร่วมกันเพื่อการรักษาที่แม่นยำ, รวดเร็ว, ผลการรักษาที่ดีและสามารถวางแผนรักษาเป็นแบบเฉพาะบุคคล มีระบบ Advance data transfer (WaveNet) สำหรับส่งข้อมูลคนไข้จากเครื่องตรวจวิเคราะห์สภาพตาต่างๆ และวางแผนในการยิงเลเซอร์ เพื่อลดความผิดพลาดของขั้นตอนการตรวจรักษาและสะดวกรวดเร็วในการปฎิบัติงานของเจ้าหน้าที่และแพทย์ผู้รักษา โดยการรักษาเริ่มจากการเก็บข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงของคนไข้ รวมถึงข้อมูลภาพถ่ายจากเครื่องตรวจวิเคราะห์สภาพตา และส่งผ่านข้อมูลของคนไข้แต่ละคนผ่านทาง WaveNet ไปยังเครื่อง WaveLight EX 500, Excimer Laser จากนั้นระบบจะนำข้อมูลที่ได้รับมาคำนวณรูปแบบการแก้ไขสายตาสำหรับคนไข้คนนั้นๆ โดยเฉพาะ แล้วจึงส่งต่อข้อมูลไปที่เครื่อง WaveLight FS200, Femtosecond Laser ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้แสงเลเซอร์ในการตัดแยกชั้นกระจกตาแทนใบมีด จะเห็นได้ว่าข้อมูลของคนไข้จะเป็นข้อมูลชุดเดียวกันทั้งหมด เป็นการป้องกันการผิดพลาดในการส่งข้อมูลของคนไข้

สำหรับเครื่อง Wavelight FS200 มีระบบตรวจวัดอุปกรณ์ที่ใช้สัมผัสกับกระจกตาของคนไข้แต่ละคนทุกครั้งแบบอัตโนมัติก่อนที่จะตัดแยกชั้นกระจกตา เพื่อลดความคลาดเคลื่อนของความหนาของกระจกตาให้น้อยที่สุดเพียง 5 ไมครอน การที่มีระบบตรวจสอบนี้ส่งผลให้การตัดแยกกระจกตามีความเรียบสม่ำเสมอและแม่นยำ และการตัดแยกชั้นกระจกตานี้ใช้เวลาเพียง 6 วินาทีเท่านั้น WaveLight EX500, Excimer Laser มีความยาวคลื่น 193 nm. ความถี่ของการยิงเลเซอร์สูงถึง 500 เฮิรตซ์ (Hz) และระบบติดตามลูกตา (Eye Tracker) ที่ 1050 เฮิรตซ์ (Hz) สามารถให้การรักษาที่รวดเร็วโดยค่าสายตา 1D ใช้เวลาเพียง 1.4 วินาที และประหยัดเนื้อเยื่อกระจกตาทำให้จึงทำให้สามารถรักษาค่าสายตาได้สูงถึง -14D ทางเดินเลเซอร์แบบระบบปิดที่ช่วยควบคุมพลังงานของเลเซอร์ให้คงที่ เพื่อการแก้ไขค่าสายตาที่แม่นยำที่สุด.  ./ อำนาจ โรจน์รักษ์ … รายงาน

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of พนอ ชมภูศรี

พนอ ชมภูศรี

พนอ ชมภูศรี คลุกคลีในวงการสื่อสารมวลชนมานาน โดยเริ่มงานครั้งแรกในราวปีพศ.2540 โดยเข้าร่วมงานกับ นสพ.อาชญากรรม รายสัปดาห์ จากนั้นก็ทำงานเป็น ขทร.ไทยรัฐ นสพ.บ้านเมือง ก่อนจะไปยัง นสพ.คมชัดลึก และเครือเนชั่นกรุ๊ป รายงานข่าว ความเดือดร้อน ระวังภัย และข่าวพัฒนาในชุมชนในท้องถิ่นทางเนชั่นทีวี วันนี้พร้อมแล้วที่จะเป็นปากเสียง และนำเสนอการพัฒนาเมืองปทุมธานี