X

รมว.กระทรวงสาธารณสุข  ตรวจเยี่ยมการฉีดวัคซีนโควิด 19

นครพนม – รมว.กระทรวงสาธารณสุข  ตรวจเยี่ยมการฉีดวัคซีนโควิด 19 เอชเอ็กซ์พี – จีโอแวค (HXP – GPOvac) สำหรับโครงการวิจัยทางคลินิกระยะที่ 3

วันที่ 23 ธ.ค.65  ที่ศาลายงใจยุทธ  ศาลากลางจังหวัดนครพนม อ.เมือง จ.นครพนม  นายอนุทิน  ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในการแถลงข่าวและตรวจเยี่ยมการฉีดวัคซีนโควิด -19 เอชเอ็กซ์พี – จีโอแวค (HXP – GPOvac) สำหรับโครงการวิจัยทางคลินิกระยะที่ 3

นายวันชัย  จันทร์พร  ผวจ.นครพนม  เป็นผู้กล่าวต้อนรับคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข องค์การเภสัชกรรม   โดยมีนายศุภชัย  โพธิ์สุ  รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 / ส.ส.นครพนม  นายแพทย์ปรีดา  วรหาร  นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม  นายแพทย์ธนสิทธิ์  พงษ์ไพร  ผอ.รพ.นครพนม  นางสาวศุภพานี  โพธิ์สุ นายก อบจ.นครพนม หัวหน้าส่วนราชการ  ร่วมในการแถลงข่าวฯ

ผู้ร่วมแถลงข่าว โดยนายอนุทิน ชาญวีรกุล  รองนายกรัฐมนตรีฯ  นายแพทย์เกียรติภูมิ  วงศ์ระจิต  คณะที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม  นายแพทย์ทวีศิลป์  วิษณุโยธิน  รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข  นายแพทย์ศุภกิจ  ศิริลักษณ์  อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  นายแพทย์นคร เปรมศรี  ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ  นายแพทย์วิฑูรย์  ด่านวิบูลย์  ผอ.องค์การเภสัชกรรม

องค์การเภสัชกรรมเดินหน้า ทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ของวัคซีนเอชเอ็กซ์พี-จีพีโอแวค (HXP-GPOVac) ขนาด 10 ไมโครกรัม ในรูปแบบเข็มกระตุ้น เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของเภสัชกรรมเดินหน้า ทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ของวัควัคซีนเอชเอ็กซ์พี-อีพีโอแวควิด-1 ที่พัฒนาขึ้นในการใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น ภายหลังจากการทดลองทางคลินิกระยะความสำเร็จ

นายอนุทิน ชาญวีรกูล   รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยชนิด NDV-HXP-S สำหรับป้องกันโรคโควิด-19 ที่พัฒนาขึ้นโดยองค์การเภสัชกรรม (HXP-GPOVac)  ขณะนี้ได้เข้าสู่การทลลองทางคลินิกระยะที่ 3   แล้ว เพื่อประเมินการใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น ที่โรงพยาบาลนครพนม จังหวัดนครพนม ในวันที่ 23 ธันวาคม 2563 โดยการศึกษาครั้งนี้จะมีการทดสอบในอาสาสมัคร อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 4,000 คน ที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันใควิด-1 เข็มหลักมาแล้วจำนวน 2 เข็ม  ตั้งแต่เกิดการระบาดของ

โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ 2019 องค์การเภสัชกรรมได้มีการปรับแพลดฟอร์มการผลิตวัคชีนจากไข่ไก่ฟักเพื่อให้สำหรับรองรับการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในระดับอุตสาหกรรม โดยโครงการวัคซีนนี้เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน PATH, Icahn School of Medicine at Mount Sinai (Icahn Mount Sinai)  ยอร์ค, University of Texas at Austin (UT Austin) ประเทศสหรัฐอเมริกา และโรงงานผู้ผลิตวัคซีนใน 3 ประเทศ คือ บราชิล เวียดนาม และไทย   วัคซีนต้นแบบดังกล่าว มีการพัฒนามาจากนวัดกรรมการคัดต่อไวรัสนิวคาสเซิล (Newca virus, NDV) ให้มีการแสดงออกของโปรตื่นหนามของ ไวรัสโคโรนาที่ได้ถูกปรับแต่งด้วยเทคโนโถยีเฮกซะ โปร  (HexaPro) ให้มีความคงตัวมากขึ้น ซึ่งโปรตีนหนามนี้สามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันด้านโรค COVID-19 ขึ้น เทคโนโลยีการผลิตวัคซึนชนิด NDV นี้ถูกพัฒนาขึ้นโดย Icahn Mount Sinai ในขณะที่ UT Ausin เป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยี HexaPro โดยทีมงานผู้พัฒนาโปรตีนหนามซึ่งถูกใช้เป็นพื้นฐานในวัคซึนโควิด-19 อย่างน้อย 4 ชนิดที่ใช้อยู่ทั่วโถกในปังจุบัน แถะองค์การเภสัชกรรมเป็นผู้ผลิตวัคซีนวิชัยโควิด-19 ชนิด HXP-จาก seed virus ที่ได้รับจากโรงเรียนแพทย์ที่เมาท์ไซนาย (Icahn Mount Sinai) โดยใช้เทคโนโลยีฟัก  เช่นเดียวกับที่ใช้ในการผลิตวัคซึนไข้หวัดใหญ่ ที่โรงงานผลิต(วัคชีน) ชีววัตถุ ขององค์การเภสัชกรรม

ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี จังหวัดสระบุรี  ในส่วนของไทม์ไลน์คิดว่า จะขอจดทะเบียนได้ประมาณกลางปี 2566 จะได้ทะเบียน กระบวนการผลิตประมาณ 5-10 ล้านโด๊ส ต่อปี น่าจะเพียงพอกับการใช้ในประเทศ เป็นเทคโนโลยีที่ต้องใช้ในการผลิต  งบประมาณในการจัดหาวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และป้องกันโควิด ประมาณ 80,000 กว่าล้านบาท ถ้าเราผลิตเองได้จะต้องประหยัดอย่างแน่นอน เรื่องของสุขภาพของประชาชน ไม่ได้ดูจากตัวเลขของงบประมาณ เหตุผลของการพัฒนาให้ได้มากที่สุด ถ้าการทดสอบครั้งนี้สำเร็จ การผลิตในประเทศไทย ลดต้นทุน ด้านการขนส่ง ด้านการตลาดจะต้องลดงบประมาณ ในโอกาสเดียวกัน ถ้าทำสำเร็จเป็นเข็มกระตุ้นได้คนไทยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องฉีดหลายเข็ม กระตุ้นไปเรื่อย ๆ สามารถใช้วัคซีนของไทยเอง มั่นใจว่าจะประสบความสำเร็จในการพัฒนาครั้งนี้แล้ว จะมีความร่วมมือจากต่างประเทศเข้ามามากมาย ที่จะมาใช้รากฐานของวัคซีน ในการที่จะขยายวัคซีน  มีการประชุมด้านการสาธารณสุขที่เกาหลีใต้ ประเทศไทยได้รับการติดต่อจากผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ของเกาหลีรายหนึ่ง ที่จะมาร่วมกันผลิตกับองค์การเภสัชกรรมที่จะมาพัฒนาวัคซีนต่อยอดขึ้นไปเรื่อย ๆ  ความมั่นคงทางด้านวัคซีนในประเทศไทยเกี่ยวกับวัคซีนป้องกัน โควิด-19  โดยมีอาสาสมัครชาวนครพนม ต้องขอขอบคุณ ทีมงานนครพนม องค์การเภสัชกรรม ทุกคน ในเครือข่ายของกระทรวงสาธารณสุข ทำให้เกิดการพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น ความเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ ในการที่เราจะทำมาหากินได้ปกติ ถ้าออกมาดี เราตั้งจิตอธิษฐานให้วัคซีนออกมามีประสิทธิภาพ สร้างรายได้ให้กับประเทศมหาศาล สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขต้องการคือ วันที่เราพึ่งพาตนเองได้ ถ้าเราทำสำเร็จ เราก็อยู่บนเงื่อนไขของตนเอง ใช้ทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์ที่สุด เป็นการเสริมสร้างความมั่นคงของสุขภาพชาวไทย กระทรวงสาธารณสุขและภาคีเครือข่ายได้พัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด ที่ทำในประเทศไทย ในวันนี้มาทดสอบในระยะที่ 3 คือการทดสอบครั้งสุดท้ายก่อนที่จะนำไปขึ้นทะเบียน มีอาสาสมัครจำนวน 4,000 คน ที่ จ.นครพนม มารับเข็มที่ 3 จะมีการติดตามผลลัพธ์ถ้าเป็นที่น่าพอใจก็จะนำไปจดทะเบียนกับ อย. สามารถนำมาใช้ได้ ตราบใดที่โควิดยังอยู่ก็กลายเป็นวัคซีนหลัก  จะมีการต่อยอดในการระบุสายพันธุ์เลยได้หรือไม่ ครอบคลุมโรคหวัดสายพันธุ์อื่นได้ด้วยหรือไม่ มีการพัฒนาให้สะดวกมากที่สุด การพัฒนาวัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันได้หลายสายพันธุ์ เป็นการพัฒนาที่ดี ถ้าการทดสอบประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ เป็นไปตามความคาดหวังของผู้วิจัยพัฒนา สามารถนำมาใช้ให้กับประชาชนชาวไทยได้ ไม่ต้องกังวลกับวัคซีนที่ซื้อมาจากต่างประเทศ  จะสามารถลดการนำเข้าวัคซีนได้ เมื่อวัคซีนในประเทศได้รับการจดทะเบียนเรียบร้อยแล้ว  10 ล้านโด๊สต่อปี ก็สามารถเป็นการผลิตที่น่าพึงพอใจ มองไปถึงการพัฒนาการส่งออกวัคซีน ประเทศไทยมีความเป็นเลิศทางด้านการสาธารณสุขอยู่แล้ว

ในกรณีที่ พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีมีการประกาศ เข้าร่วมพรรครวมไทยสร้างชาติ ต้องแสดงความยินดีด้วย เนื่องจากท่านก็แสดงความชัดเจนให้กับพี่น้องประชาชนให้มีตัวเลือกสำหรับคนที่จะเป็นผู้นำของประเทศ อีกหนึ่งตัวเลือก ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาลก็ต้องให้กำลังใจท่าน ในเรื่องการแข่งขันทางการเมือง หวังว่าท่านคงให้กำลังใจกับพรรคด้วย เราเล่นตามกติกา ใครที่ได้รับความเชื่อมั่นจากประชาชนมากที่สุด ก็มาทำหน้าที่ในการบริหารบ้านเมืองต่อไป  ตอนนี้ยังไม่ถือว่าเป็นคู่แข่ง เป็นทางเลือกให้กับประชาชน ประโยชน์เกิดกับบ้านเมือง ไม่มองว่าเป็นคู่แข่งกัน คิดว่าต่างทำประโยชน์และความดีให้กับประชาชน  คิดแค่นี้  อีกประมาณ 3  เดือน สภาฯ ก็จะครบวาระ  สำหรับ พรบ.กัญชาถ้าผ่านได้ ก็จะมีการควบคุมการใช้ พรบ.กัญชา ให้ใช้ในทางที่ถูก ก็ต้องเลือกพรรคภูมิใจไทยจะได้ไม่ต้องพึ่งคนอื่น มาสร้างสิ่งดี ๆ ให้กับประชาชน เพราะพูดแล้วทำ  ราชสีห์ของหนูตัวนี้คือประชาชน จะทำทุกอย่าง รับใช้ทุกอย่าง เกมส์การเมืองในปีหน้า มีการแข่งขัน ทำให้ทุกคนขยันที่จะทำให้ประชาชนเชื่อมั่น แข่งกันทำความดี ประโยชน์ให้กับประชาชน ถ้าเราแพ้ เราก็ไม่เสียใจ แต่ถ้าชนะก็ยังมีกำลังใจที่อยากทำให้อย่างเต็มที่ มองเป็นบวก ไม่มองเป็นความขัดแย้ง เราก้าวข้ามความขัดแย้งไปแล้ว เราทำงานหนักมาโดยตลอด ต้องย้อมผมแล้ว  วันนี้มาทำงาน เราเคยเจ็บใจที่เคยซื้อวัคซีนจากต่างประเทศ แต่ก็ต้องยอมรับ มีความมุ่งมั่นว่า วันหนึ่งเราจะต้องพึ่งพาตนเอง อาจารย์แพทย์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ ได้วิจัย ผลลัพธ์ดีมาก ๆ เราควรให้กำลังใจกับบุคลากรเหล่านี้ มีสุขภาพดี อยู่อย่างมีความสุข

จากข้อมูลการทคลองทางคลินิกระยะที่ 1 ในปี พ.ศ. 2564 แถะระยะที่ 2 ในปี พ.ศ. 2564-2565 ว่าวัคซีนที่ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมนี้มีความปลอดภัยและสามารถกระดันภูมิคุ้มกันได้ดี และข้อมูลดังกล่าวได้นำมาใช้ในการคัดเลือกสูตรคำรับที่เหมาะสมสำหรับการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ต่อไป

นายเเพทย์วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า  การวิจัยในครั้งนี้ ดำเนินการใน 2 อำเภอหลัก ในพื้นที่ อ.นาแก และ อ.เมืองนครพนม  และพื้นที่ อ.ใกล้เคียง อ.เมือง อ.เรณูนคร และ อ.ท่าอุเทน ได้มีการเตรียมความพร้อมในด้านการจัดการ ด้านสถานที่ฉีดวัคซีน เตรียมการด้านห้องปฏิบัติการรองรับการจัดการที่เกิดขึ้น จากการวิจัยให้ได้ตามมาตรฐาน ได้มีความพร้อมเป็นอย่างดี  ส่วนที่สำคัญ คือ จ.นครพนม ได้สร้างความมั่นใจ ความเข้าใจในการวิจัยในครั้งนี้  ตลอดทั้งประชาชนที่เข้าใจในการวิจัยในการที่ได้รับวัคซีนที่เกิดขึ้น มีอาสาสมัครที่เพียงพอต่อการวิจัย สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของการวิจัย ทีมวิจัยได้เริ่มทำตามแผนที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง การฉีดวัคซีนจะเสร็จในเดือน ม.ค.66  การวิจัยในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างดีกับผู้บริหารในพื้นที่  ได้แก่  ผวจ.นครพนม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม  ผอ.รพ.นครพนม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  รองอธิบดีกรมควบคุมโรค  หากผลการศึกษาใน ในระยะที่ 3 เป็นที่น่าพอใจ จะสามารถขึ้นขึ้นทะเบียนวัคซีนต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ในปี พ.ศ.2566  และสามารถกระจายวัคซีนสู่ผู้ใช้ได้หลังจากนั้น โดยองค์การเภสัชกรรมมีศักยภาพในการผลิตวัคซีนดังกล่าว   ประมาณ 5-10 ล้านโคส และสามารถขยายกำลังการผลิดเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต  วัคซีนเอชเอ็กซ์พี-จีพีโอแวค HXP-GPOVac ขององค์การเภสัชกรรม เป็นวัคซีนที่มีศักยกาพในการใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นที่ผลิตได้เองในประเทศไทย ซึ่งทำให้ประชาชนไทยสามารถเข้าถึงวัดซีนได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการะค่าใช้ง่ายในการนำเข้าวัดซีนจากต่างประเทศ และส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงด้านวัคชื่นหากเกิดการระบาดในอนาคต ความสำเร็จของการวิจัยและพัฒนาวัคซีนนี้แสดงให้เห็นถึงการพึ่งพาตัวเองค้านวัคซีนของประเทศไทยอย่างยั่งยืนได้เป็นอย่างดี

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน