กาฬสินธุ์ – กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ ลงพื้นที่ติดตามปัญหาชาวบ้านถูกหลอกกู้เงิน 65 ล้านบาทกับธนาคารออมสิน สาขาท่าคันโท เชื่อถูกหลอกให้เซ็นเบิกเงินพร้อมตั้งทนายความสู้คดี
กรณีชาวบ้าน 4 ตำบลในเขต อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์ กว่า 300 คนอ้างว่าถูกสถาบันการเงินหลอกให้กู้เงินคนละ 2 แสนบาทรวมมูลค่า 65 ล้านบาท ก่อนได้รับใบแจ้งหนี้และหมายศาลกระทั่งเกิดการคัดค้านและไม่ยอมจ่ายเงินตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น
เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2561 พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม ซึ่งติดตามลงพื้นที่ร่วมกับ พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เพื่อร่วมหารือข้อราชการโครงการกาฬสินธุ์แฮปปี้เน็ตโมเดล
พ.ต.ท.ประวุธ วงศ์สีนิล รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ปัญหาการร้องทุกข์ กรณีสถาบันการเงินในพื้นที่อำเภอท่าคันโทจังหวัดกาฬสินธุ์ ไม่ใช่เรื่องเก่า เพราะผู้เสียหายในคดีได้เข้าไปแจ้งความร้องทุกข์กับ ตำรวจ สภ.ท่าคันโท แล้วแต่ดูเหมือนว่าผู้เสียหายในคดีนี้จะไม่ได้รับความเป็นธรรมจึงได้เข้าไปร้องต่อกระทรวงยุติธรรม
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง สถาบันพระบรมราชชนกเตรียมผลิต 9 หมอรุ่นใหม่ นวัตกรรมสุขภาพไทยสู่ระดับโลก
- ขอนแก่น พร้อมจัด " Khonkaen Countdown 2025 Rise Beyond" ขอนแก่น พุ่งทะยานสู่อนาคต อย่างยิ่งใหญ่ คาดเงินสะพัด 50 ล้านบาท
- ชวน” คลี่ปมขัดแย้งแก้พ.ร.บ.กลาโหม นักการเมือง-ทหาร ไม่ไวใจกันเอง สลับกันแก้หวังกระชับอำนาจ อ้างตัดไฟรปห.แค่ปลายเหตุ ต้นเหตุเพราะนักการเมืองโกง!
- ทนายเกรียง พา สาวนักแข่งรถจักรยานยนต์ทีมชาติไทย แจ้งความดำเนินคดีกับนายกสมาคม ข้อหาหมิ่นประมาท และ พรบ.คอม
รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ กล่าวว่าจากการลงพื้นที่เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2561 มีผู้เสียหายในคดีประมาณ 300 คน แต่ละรายอ้างว่าถูกหลอกกู้เงินกับธนาคาร เฉลี่ยคนละ 50,000. บาท ถึง 100,000 บาท แต่ที่มีปัญหาคือ ไม่ได้ใช้เงินที่กู้มา ซึ่งดีเอสไอพบมีคู่กรณีที่เกี่ยวข้องในคดีนี้จำนวน 2 ราย เป็นคนในสถาบันการเงินอ้างให้ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นการสมทบทุนและจะให้ค่าตอบแทนเป็นเงินรายละ หนึ่งหมื่นบาทและจะทำการชดใช้หนี้เงินกู้ต่อธนาคารออมสิน สาขาท่าคันโท ด้วย จนทำให้ธนาคารออมสิน เมื่อไม่ได้รับการชำระหนี้ก็ได้ทำการฟ้องเรียกค่าเสียหาย
“กรณีดังกล่าว ดีเอสไอ ได้รับการสั่งการจากปลัดกระทรวงยุติธรรม ให้ช่วยจัดหาทนายความเข้ามาต่อสู้คดี ข้อสังเกตในเรื่องนี้ ชาวบ้านที่ให้ข้อมูลกับดีเอสไอ ได้ทำการเซ็นทำสัญญาที่ธนาคารครั้งเดียว แสดงว่าในการเซ็นครั้งนั้นชาวบ้านน่าจะเซ็นใบถอนเงินไปด้วย และการเซ็นครั้งนั้นเป็นไปได้ว่าชาวบ้านไม่รู้ หรือด้วยความเชื่อในตัวบุคคลจึงเซ็นไป” ซึ่งดีเอสไอ ก็จะนำเสนอข้อมูลตรงนี้เพื่อนำไปเสนอต่อศาลต่อไป” รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษกล่าวในที่สุด
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: