X

สิ้น “อ.สักเสริฐ (ศักดิ์ รัตนชัย)” ปราช ย์ท้องถิ่นผู้แต่งเพลง รำเปิงลำปาง”

ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อเช้าวันที่ 21 มกราคม 2565 ที่บ้านเลขที่ 336ถนนทิพย์ช้าง ต.สวนดอก อ.เมือง จ ลำปาง ซึ่งเป็นบ้านพักของ อ. สักเสริญ (ศักดิ์) รัตนชัย ที่ปรึกษาสมาคมผู้สื่อข่าวนครลำปาง ผู้สื่อข่าวอาวุโส และปราชญ์ท้องถิ่นเมืองลำปางด้านประวัติศาสตร์ซึ่งถือว่าเป็นการสูญเสียบุคลากรที่ทรงคุณค่า ปูชนียบุคคลของสังคมไทยบรรยากาศเต็มไปด้วยความเศร้าโศกเสียใจ ของบรรดาญาติพี่น้อง หลังจาก ได้เสียชีวิตลงในวัย 95 ปี
สำหรับ อ.สักเสริญ (ศักดิ์) รัตนชัย เกิดวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2471 อายุ 95 ปีเกิดปีมะโรง วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2471 เป็นบุตรนายกิม และนางบัวเกี๋ยง รัตนชัย เกิด ณ บ้านสี่แยกสถานีรถไฟนครลำปาง ต.สบตุ๋ย อ.เมือง ลำปางเชื้อชาติไทย สัญชาติไทย นับถือศาสนาพุทธ คู่สมรสชื่อ นางทองสุข รัตนชัย (เดชะ) สมรสเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2494 มีบุตรธิดารวม 6 คน

อาจารย์สักเสริญ เป็นผู้ที่ความสามารถหูตากว้างไกล ดูจากประวัติการศึกษาท่าน มีความสามารถทั้งงานเขียนบทความ งานวิชาการ งานศิลปะประยุกต์ งานนาฏศิลป์ ตราบไปจนถึงงานเขียนตัวเมือง และหลายคนอาจไม่ทราบว่า อาจารย์สักเสริญ มีความถนัดในการใช้คอมพิวเตอร์ ขนาดที่ว่าสามารถประดิษฐ์อักษรตัวเมืองให้ใช้ในคอมพิวเตอร์ได้ กล่าวคือ Font อักขระไทยเมือง สำหรับ WINDOWS โดยสักเสริญ รัตนชัย

“สร้างความเป็นลำปางเป็นผู้ร่วมบุกเบิกในการ ค้นหาร่องรอยความเป็นลำปาง ที่ระบุไว้ก็คือ การสำรวจทำแผนที่เมืองโบราณนอกบัญชีทะเบียนโบราณสถาน, การแจ้งกรมศิลปากรทำแผนที่ฉบับแรกเมืองเขลางค์อาลัมพางค์ ราวพ.ศ.2510 รวมถึงการนำคณะ อาจารย์ นักศึกษาคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปการ สำรวจซากโบราณสถาน การแจ้งความบุกรุกโบราณสถาน กู่ย่าสุตตา พ.ศ.2511 ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการอนุรักษ์โบราณวัตถุต่าง ๆ เช่น ปืนใหญ่โบราณ พระพุทธรูปสำคัญ เป็นต้น

หอคำมงคล, พงศาวดารเถิน, ตำนานพระธาตุเสด็จ, ตำนานวัดพระธาตุจอมปิงค์, ตำนานวัดกู่คำ, ตำนานวัดพระแก้วดอนเต้า, ตำนานวัดศรีล้อม, ตำนานม่อนคีรีชัย, คัมภีร์วชิรเป๊กสูตร, กฎหมายมังราย ฉบับไฟม้างกัปป์ เป็นต้น

ความเป็นนักหนังสือพิมพ์ และนักประวัติศาสตร์ อาจเป็นตำแหน่งคู่กันในตัวอ.สักเสริญ หากใครที่จะทำงานวิจัย วิทยานิพนธ์ เกี่ยวข้องกับลำปางแล้ว แทบจะร้อยทั้งร้อยต้องเข้ามาสัมภาษณ์ อ.สักเสริญ ผู้เสมือนเป็นคัมภีร์เรื่องลำปางที่เคลื่อนที่ได้ และเป็นผู้ประดิษฐ์บทเพลงและท่วงท่านาฏศิลป์อันเป็นอมตะจากเพลง “ร่ำเปิงลำปาง” บนฐานความสามารถที่เป็นนักดนตรีที่เล่นได้ทั้งเพลงพื้นเมืองและเพลงสากล เพลงนี้อาจเรียกกันอย่างลำลองได้ว่าเป็น “เพลงชาติของนาฏศิลป์ลำปาง’ ซึ่งในช่วงบ่ายวัยนี้จะมีพิธีรดน้ำศพที่วัดเชียงราย เขตเทศบาลนครลำปา

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน