กรุงเทพฯ – ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ สูตรคำนวณ ส.ส.แต่ละจังหวัด-แบ่งเขต ไม่นับรวมผู้ที่ไม่ได้มีสัญชาติไทย
วันที่ 3 มีนาคม 2566 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การกำหนดจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่แต่ละจังหวัดจะพึงมีตามรัฐธรรมนูญ มาตรา86 (1) ที่กำหนตให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง นั้น
คำว่า ‘ราษฎร’ ไม่หมายความรวมถึงผู้ไม่ได้สัญชาติไทย
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มีผลตั้งแต่วันที่ 3 มี.ค.2566 เป็นต้นไป ตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าตัวยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรมนูญ พ.ศ.2561 มาตรา 76 วรรคหนึ่งและวรรคสาม และไม่มีผลย้อนหลังไปถึงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ผ่านมา
ข่าวน่าสนใจ:
กรณีดังกล่าว สืบเนื่องจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (2) เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจในการประกาศจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 86 ซึ่งคิดคำนวณจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
โดยนำจำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ที่สำนักทะเบียนกลางประกาศ ณ วันที่ 31 ธันวาค 2565 มาใช้คิดคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตของแต่ละจังหวัด แต่ต่อมา มีผู้โต้แย้งและขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยดังกล่าว จะมีผลให้ กกต.จะต้องแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่โดยจะต้องไม่นำผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยมาคิดคำนวน ซึ่งก่อนหน้านี้ สำนักงาน กกต.ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการแบ่งเขตโดยไม่นำผู้ไม่มีสัญชาติไทยมาคิดคำนวณไว้แล้ว
เบื้องต้น จะมีผลต่อ 8 จังหวัด ที่จะต้องเปลี่ยนแปลง คือ
♦4 จังหวัด ที่จะมีจำนวน ส.ส.ลดลง ประกอบด้วย 1.ตาก 2.เชียงราย 3.เชียงใหม่ และ 4.สมุทรสาคร
♦4 จังหวัดที่จำนวน ส.ส.เพิ่ม ประกอบด้วย 1.อุดรธานี 2.ลพบุรี 3.นครศรีธรรมราช และ 4.ปัตตานี
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: