ผู้ประกอบการยะลารวมตัว ขอให้ศอ.บต.ติดตามกรณีเงินกู้ Soft loan และเตรียมบุกพบนายกฯ วันที่ 11 นี้
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 เวลา 13:30น. กลุ่มผู้ประกอบการกว่า 20 คน ที่เป็นตัวแทนผู้ประกอบการในจังหวัดยะลา ได้ขอเข้าพบเลขาธิการศอ.บต. เพื่อติดตามความคืบหน้าในการขอความอนุเคราะห์เรื่องให้ปรับปรุงคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ(Soft loan) ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565
ข่าวน่าสนใจ:
- "มิชลินไกด์" เผย 20 ร้านใหม่ และ156 ร้านที่ได้รับรางวัล"บิบ กูร์มองด์" 2568
- นครพนมเดือดร้อน! แม่ค้าหวยร้องไห้ รถจักรยานยนต์พร้อมลอตเตอรี่เกือบ 600 ใบถูกขโมย วอนคนร้ายนำมาคืน
- ศุภาลัย เปิดบ้านซีรีส์ใหม่ Tropical Modern ครั้งแรก! ในสุราษฎร์ฯ ปักหมุดแบรนด์ “ปาล์มวิลล์ โกเตง” ตอบโจทย์ชีวิตติดเมือง
- สองวัยรุ่นอดีตนักเรียนอาชีวะถูกคู่อริตามมาดักยิง ต้องบิดมอไซค์หนีตายฝ่าเข้าฝูงชน
ทางเลขาธิการศอ.บต.ได้มอบหมายให้นาวาเอกจักรพงษ์ อภิมหาธรรมผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนงานพัฒนาฝ่ายพลเรือน (กสพ.) ชี้แจงกับผู้ประกอบการ โดยนาวาเอกจักรพงษ์ ได้แจ้งถึงความคืบหน้าที่อาจจะมีการบรรจุเรื่องที่ผู้ประกอบการได้ยื่นเสนอเข้าสู่การประชุมครม.ในวันอังคารที่ 14 มีนาคม 2566 รวมถึงแนวทางแก้ไขปัญหา หากเรื่องที่เสนอไม่ได้รับการอนุมัติ โดยจะใช้กฎหมายพิเศษของศอ.บต.เข้าช่วยเหลือผู้ประกอบการ
นางอุษณีย์ เลขะกุล หนึ่งในผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ กล่าวว่า จากมติ ครม.ที่ออกเมื่อ เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้ประกอบการค่อนข้างหนัก เพราะว่ามีเงื่อนไขเพิ่มเติมขึ้นมาในข้อที่ 2 คือ ผู้ประกอบการที่มีโครงการอยู่แล้วเกินกว่า 5 ปี จะไม่สามารถอยู่ในโครงการนี้ต่อไปได้ ผู้ประกอบการก็จะต้องกลับมาใช้ระบบวงเงินตามปกติ และต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูงขึ้นกว่าเดิม ทำให้เกิดปัญหากับผู้ประกอบการบางราย อย่างเช่นเราเอง ที่พึ่งจะเอาเงินไปลงทุน ยังไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ด้านผลกำไร แต่จะต้องมาแบกรับภาระตอนนี้ ซึ่งการที่รัฐบาลจะกำหนดคุณสมบัติข้อนี้ขึ้นมา ก็ควรจะให้ระยะเวลากับผู้ประกอบการโดยบอกกล่าวกันมาล่วงหน้า หรือมีกฏเกณฑ์อย่างไร ก็แจ้งให้ผู้ประกอบการทราบล่วงหน้า ก็อยากฝากให้ผู้เกี่ยวข้อง ช่วยผลักดันเรื่องคุณสมบัติของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่อยู่ในโครงการนี้เกินกว่า 5 ปี ให้เขาได้รับคุณสมบัติเหมือนเดิม และต่อระยะเวลา อีกทั้งหากในอนาคตข้างหน้ารัฐบาลต้องการเอาเงินส่วนนี้คืน หรือมีกฏเกณฑ์อย่างไร ก็แจ้งให้ผู้ประกอบการทราบล่วงหน้า
และอยากให้รัฐบาลผลักดันเรื่องนี้เข้าสู่มติ ครม.เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งยังมีปัญหาความรุนแรงอยู่อย่างต่อเนื่อง ผู้ประกอบการบางรายก็ได้รับผลกระทบจากปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบ แล้วเราก็ช่วยอะไรเขาไม่ได้ แล้วยังมาโดนซ้ำเติมจากปัญหาเงินกู้ Soft Loan ที่รัฐบาลกำลังจะเอาเงินกู้คืนโดยที่ไม่บอกกล่าวล่วงหน้า
ทั้งนี้ทางกลุ่มผู้ประกอบการทั้งหมดจะติดตามว่าเรื่องดังกล่าวจะได้เข้าวาระในการประชุม ครม.วันที่ 14 มีนาคม นี้หรือไม่ และเตรียมขอเข้าพบนายกรัฐมนตรี ที่จะมาปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม 2566 นี้ต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: