(9 มี.ค. 66) ที่บริเวณบึงแก่นนคร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น นายชาญชัย ศรศรีวิชัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบกรณีน้ำบึงแก่นนครเน่าเสีย โดยวางแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน
โดยเทศบาลฯได้ติดตามตรวจวัดคุณภาพน้ำพบว่า บึงแก่นนครจัดอยู่ในเกณฑ์แหล่งน้ำผิวดินประเภทที่ 5 มีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมมากเหมาะแก่การใช้ประโยชน์เพื่อคมนาคม และมีสาหร่ายสีเขียวเป็นจำนวนมาก ซึ่งเกือบทุกปีจะเกิดปัญหาปลาตายเป็นจำนวนมาก ประกอบกับบึงแก่นนครจากการสำรวจสภาพท้องน้ำบางแห่งมีสภาพตื้นเขินมีวัชพืชขั้นปกคลุม ดินตะกอนท้องน้ำไม่เหมาะสมกับการเป็นที่อยู่อาศัยของปลา
การบริหารจัดการน้ำบึงแก่นนคร แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่1) การบริหารจัดการน้ำบึงแก่นนครในช่วงฤดูหนาวและฤดูร้อน
ช่วงเดือนพฤศจิกายน – เดือนพฤษภาคม จะมีการปิดน้ำเสียจากท่อระบายน้ำไม่ให้ระบายลงสู่บึงแก่นนคร โดยจะมีการสูบระบายน้ำ ณ สถานีสูบน้ำบึงแก่นนคร เข้าสู่โรงงานปรับปรุงคุณภาพน้ำ บึงทุ่งสร้างผ่านคลองร่องเหมือง 2) การบริหารจัดการน้ำบึงแก่นนครในช่วงฤดูฝน
ช่วงเดือนมิถุนายน – เดือนตุลาคม ในช่วงฝนแรก ยังไม่มีการเปิดประตูน้ำระบายน้ำฝนลงสู่บึงแก่นนคร เนื่องจากเพื่อเป็นการช่วยชะล้างระบบท่อระบายน้ำ ชะล้างตะกอนของน้ำเสียที่ตกค้างภายในระบบท่อออกไปก่อน โดยจะเปิดที่กั้นน้ำให้ไหลเข้าสู่บึงแก่นนครในช่วงฝนต่อมา
เนื่องจากบึงแก่นนครเป็นบึงขนาดใหญ่ใจกลางเมือง มีพื้นที่รับน้ำประมาณ 400 ไร่ เทศบาลนครขอนแก่นได้ใช้ประโยชน์บึงแก่นนครเป็นแก้มลิงในการในเรื่องการบริหารจัดการน้ำท่วม เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตเทศบาลนครขอนแก่น และบริเวณใกล้เคียง โดยในช่วงฤดูการปรกติ เดือนพฤศจิกายน – เดือนมิถุนายน จะปิดประตูระบายน้ำ ที่ 6 และจุดรับน้ำต่าง ๆรอบบึงแก่นนคร เพื่อป้องกันน้ำเสียไหลเข้าบึง
และเทศบาลนครขอนแก่นได้เตรียมการบริหารจัดการน้ำ โดยการลดระดับน้ำในบึงแก่นนคร ให้มีค่าระดับต่ำกว่าระดับน้ำในคลองร่องเหมืองเพื่อเตรียมรับน้ำ เนื่องจากคลองร่องเหมืองเป็นท่อระบายน้ำหลักของเมืองขอนแก่น พอเข้าสู่ช่วงฤดูฝนประมาณเดือนกรกฎาคม – ตุลาคม ถ้าเกิดเหตุฝนตก ท่อระบายน้ำในคลองร่องเหมืองมีระดับสูงขึ้นและสูงกว่าระดับน้ำบึงแก่นนคร เทศบาลนครขอนแก่นจะเปิดประตูระบายน้ำที่ 6 (บึงแก่นคร) เพื่อช่วยเร่งระบายน้ำในคลองร่องเหมือง และจะเปิดจุดรับน้ำรอบบึงต่างๆปล่อยน้ำฝนให้ไหลเข้าสู่บึงแก่นนครเพื่อใช้เป็นที่เก็บกักน้ำชั่วคราว หลังจากฝนหยุดตกน้ำในบึงแก่นครมีระดับสูงขึ้น น้ำในคลองร่องเหมืองมีระดับต่ำลง น้ำจากบึงแก่นนครจะไหลกลับเข้าคลองร่องเหมือง เพื่อพร่องน้ำในบึงและเตรียมเป็นแก้มลิงในการรับน้ำฝนต่อไป
การจัดการคุณภาพน้ำ1. ตรวจวัดคุณภาพน้ำเป็นประจำทุกเดือนได้แก่ ค่าออกซิเจนละลายในน้ำ DO ค่าความสกปรก BOD และค่าความเป็นกรด-ด่าง pH2. เก็บเศษขยะ กำจัดวัชพืชในแหล่งน้ำ เพื่อไม่ให้เกิดการเน่าเหม็นเป็นประจำทุก 3. ฉีดน้ำจุลินทรีย์เพื่อรักษาคุณภาพน้ำ 2 ครั้งต่อสัปดาห์4. ติดตั้งเครื่องเติมอากาศ จำนวน 6 เครื่อง เพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยมี จุดติดตั้งเครื่องเติมอากาศ มีทั้งหมด 6 จุด ดังนี้1) บัวหลวงฝั่งเจ้าแม่กวนอิม 2) บัวหลวงฝั่งตลาด 3) เจ้าพ่อมเหศักดิ์ 4) ทิศใต้ฝั่งสะพานเฉลิมพระเกียรติ 5) เจ้าแม่สองนาง 6) สวนไหช่วงเวลาการเปิด-ปิด เครื่องเติมอากาศ 3ช่วงเวลา 05.00 – 9.00 น., 16.00-20.00 น. ,23.00-00.20 น.5. ตรวจสอบแหล่งปล่อยน้ำเสียที่ปล่อยลงสู่บึง 6. งดตกปลาและงดให้อาหารปลา 7. ปิดทางระบายน้ำเสียไม่ให้ไหลลงบึง
แนวทางการปรับปรุงคุณภาพบึงแก่นนครในอนาคตโครงการก่อสร้างท่อส่งน้ำเข้าบึงแก่นนครเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำ ช่วงจากคลองชลประทานถึงบึงแก่นนคร แนวความคิดในการเปลี่ยนถ่ายน้ำสะอาดเข้าสู่บึงแก่นนครเพื่อรักษาคุณภาพน้ำปีละ1-3 ครั้ง/ปี จึงเป็นแนวความคิดที่เป็นไปได้ จากการประสานงานกับกรมชลประทาน กรมชลประทานยินดีที่จะให้น้ำเข้ามาเติมบึงแก่นนคร โครงการก่อสร้างการเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำและรวบรวมน้ำเสียเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ฝั่งทิศตะวันออกถนนรอบบึงแก่นนคร
เนื่องจากท่อระบายน้ำรอบบึงแก่นนครเป็นระบบ Combine System คือรับทั้งน้ำฝนและน้ำเสียในระบบท่อเดียวกัน ดังนั้นถ้าในภาวะปรกติท่อรับน้ำรอบบึงแก่นนครจะถูกส่งไปยังสถานีสูบน้ำเสีย เพื่อสูบน้ำไปบำบัด แต่ถ้าหากเกิดฝนตกหนักเกินศักยภาพของท่อระบายน้ำรอบบึง อาจทำให้เกิดน้ำท่วม น้ำในท่อเออล้น ไหลเข้าไปในบึงแก่นนคร ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำในบึงแก่นนครมีคุณภาพต่ำลงได้ ดังนั้นในการแก้ปัญหาระยะยาว เทศบาลนครขอนแก่นมี โครงการก่อสร้างการเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำและรวบรวมน้ำเสียเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ฝั่งทิศตะวันออกถนนรอบบึงแก่นนคร มูลค่าโครงการ 34,000,000 บาท (อยู่ในช่วงขอรับงบประมาณ) ซึ่งถ้าโครงการแล้วเสร็จ จะช่วยปัญหาน้ำท่วมที่อยู่บริเวณรอบๆ บึงแก่นนคร และรวมน้ำเสียเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเสียไหลลงบึงได้ต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ข่าวน่าสนใจ:
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: