อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จัดกิจกรรม”วันช้างไทย” สร้างความตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาระหว่าง “คนกับช้าง สร้างแหล่งน้ำ แหล่งอาหารของช้างป่า ขณะที่นักท่องเที่ยวต่างชาติ ให้ความสนการท่องเที่ยวชมสัตว์ป่า ถึงร้อยละ 60 ที่เหลือเป็นกลุ่มคนไทย สร้างรายได้สู่ชุมชน
(วันที่ 13 มี.ค. 66) ที่หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ กร.5 (ห้วยลึก)หมู่ที่ 7 บ้านรวมไทย ตำบลหาดขาม อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายคมกริช เจริญพัฒนสมบัติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นประธานเปิดกิจกรรม”วันช้างไทย”ปีนี้ พร้อมด้วยนายนิทัศน์ จันทร์ทอง ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ,นายประธาน สังวรณ์ ผู้อำนวยการส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 3 สาขาเพชรบุรี ,นางสาวสุพร พลพันธ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ,นายมนตรี ลังกาพันธ์ นายอำเภอกุยบุรี หัวหน้าส่วนราชการ กลุ่มอนุรักษ์ ชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี. ตลอดจนชาวบ้าน นักท่องเที่ยวร่วมกิจกรรม”วันช้างไทย”
ข่าวน่าสนใจ:
นายประธาน สังวรณ์ ผอ.ส่วนอุทยานแห่งชาติ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่3สาขาเพชรบุรี กล่าวว่าวันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันที่มีความสำคัญต่อการอนุรักษ์ช้าง คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 เห็นชอบให้ วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันช้างไทย เพื่อให้คนไทยได้ตระหนักถึงคุณค่า ความสำคัญของช้าง
อุทยานแห่งชาติกุยบุรี เป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุกรรมที่สำคัญของช้างป่า และมีช้างป่าอาศัยอยู่ในพื้นทีไม่น้อยกว่า 350 ตัว และเป็นพื้นที่ต้นแบบในการแก้ไขปัญหาระหว่างคนกับช้าง
ด้านนางสาวสุพร พลพันธ์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี กล่าวว่าดังนั้น เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของช้าง จึงได้มีการจัดกิจกรรม”วันช้างไทย”ขึ้นเป็นประจำทุกปี
โดยในปีนี้นอกจากการจัดเสวนาในหัวข้อ”ทางออกของชุมชน คนช้างป่ากุยบุรี” แล้วยังได้นำรถบรรทุกน้ำ จากเทศบาล และอบต.ในพื้นที่อำเภอกุยบุรี บรรทุกน้ำจากอ่างเก็บน้ำยางชุมมาเติมใส่ในกะทะน้ำ ตามจุดต่างๆเกือบ 1 แสนลิตร เนื่องจากเป็นช่วงฤดูแล้ง ตลอดจนฉีดพ่นน้ำตามแปลงหญ้าแหล่งอาหารสัตว์ป่า เพื่อให้เกิดความชุ่มชื้น เนื่องจากหญ้าบางส่วนเริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เนื่องจากไม่มีฝนตก นอกจากนั้นยังได้ร่วมกันเสริมโป่งเทียมซึ่งเป็นแร่ธาตุให้กับสัตว์โดยเฉพาะช้างป่าและกระทิง
โดยในช่วงบ่ายไปจนถึงเวลา 17.30.น.ยังคงมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และชาวไทย ให้ความสนใจเข้าไปชมสัตว์ป่าตามจุดต่างๆที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ได้กำหนดจุดเอาไว้ ซึ่งจะมีโขลงช้างแต่ละจุดที่ออกมาหากินตามแปลงหญ้าและแหล่งน้ำ ตั้งแต่ 3-10 ตัวหรือบางครั้งอาจเจอโขลงใหญ่ 10 กว่าตัวขึ้นไปก็มี
โดยนักท่องเที่ยวต้องนั่งรถของชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สัตว์ป่า เข้าไปเท่านั้นโดยแต่ละคันจะมีไกด์และคนขับของชุมชน ทั้งนี้ราคาค่าบริการ 850 บาทต่อหนึ่งคัน นั่งได้ 6-8 คนซึ่งเป็นการสร้างรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่ อีกทางหนึ่งนอกจากการทำไร่สับปะรด
หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี กล่าวอีกว่าภายหลังเปิดให้บริการนักท่องเที่ยวเข้าไปชมสัตว์ป่าในพื้นที่ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2565 -มกราคม -กุมภาพันธ์ ปีนี้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เข้ามากว่า 7,000 คนในรอบ 4 เดือนเฉลี่ยวันละประมาณ 50-60 คน เก็บเงินรายได้กว่า 1 ล้าน 2 แสนบาท เป็นชาวต่างชาติจากประเทศแถบยุโรป 65% ที่เหลือเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทย
โดยจุดเด่นของการชมสัตว์ป่าในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี มีลักษณะโดดเด่น มีความเป็นธรรมชาติของทั้งสัตว์ป่า ช้างป่า กระทิงที่เดินออกมาหากินตามแปลงหญ้าในจุดต่างๆ จนได้รับการกล่าวขานว่า”ซาฟารีเมืองไทย”
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: