กรุงเทพฯ – ผลสำรวจ ‘คะแนนความนิยมทางการเมือง 2566’ ประจำสัปดาห์โดย มหาวิทยาลัยศรีปทุม และดีโหวต พบ บุคคลที่ประชาชนจะเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี อันดับ 1 คือ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สำหรับพรรคที่จะเลือก ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ อันดับ 1 พรรคก้าวไกล ส่วน ส.ส.แบบแบ่งเขต พรรคเพื่อไทย
วันที่ 6 พฤษภาคม 2566 มหาวิทยาลัยศรีปทุม (SPU) ร่วมกับดีโหวต (D-vote) เปิดผลสำรวจ ระหว่างวันที่ 29 เมษายน – 5 พฤษภาคม 2566 จากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกช่วงอายุ จังหวัด ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ จำนวน 2,526 ตัวอย่าง ค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 97.0 ผ่านเทคโนโลยีสำรวจความเห็นสาธารณะบนบล็อกเชน พบว่า
พรรคการเมืองที่ประชาชนจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ
อันดับ 1 พรรคก้าวไกล ร้อยละ 44.20
อันดับ 2 พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 35.60
อันดับ 3 พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 8.97
อันดับ 4 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 3.47
อันดับ 5 พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 2.91
อันดับ 6 พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 1.40
อันดับ 7 พรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 1.26
อันดับ 8 พรรคชาติพัฒนากล้า ร้อยละ 0.84
อันดับ 9 พรรคเสรีรวมไทย ร้อยละ 0.72
อันดับ 10 พรรคอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ ร้อยละ 0.44
*ผู้ยังไม่ตัดสินใจ ร้อยละ 0.17
เมื่อเทียบกับผลสำรวจครั้งที่แล้ว (ระหว่างวันที่ 24-28 เมษายน) พรรคการเมืองที่ความนิยมขยับสูงขึ้น สำหรับแบบบัญชีรายชื่อ 3 ลำดับแรก คือ พรรคก้าวไกล พรรคพลังประชารัฐ และพรรคภูมิใจไทย
ข่าวน่าสนใจ:
- จังหวัดสกลนคร คุมเข้มเตรียมพร้อมป้องกันไฟป่า-งดเผา ลดฝุ่น PM 2.5
- ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีฯ จัดกิจกรรม"วันกิมจิ"เผยแพร่การทำกิมจิ ผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 700 คน
- กองบิน 5 แถลงข่าวการจัดงาน “สดุดีวีรชน 8 ธันวาคม 2484” รำลึกถึงความกล้าหาญ และความสามัคคีของวีรชนผู้กล้า ในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา
- กทม. ร่วม"ฟูกูโอกะ" เปิดงาน "Fukuoka Fair" ฉลอง 18 ปีเมืองพี่เมืองน้อง
ผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตที่ประชาชนจะเลือก
อันดับ 1 พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 37.62
อันดับ 2 พรรคก้าวไกล ร้อยละ 37.02
อันดับ 3 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 8.67
อันดับ 4 พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 7.38
อันดับ 5 พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 4.22
อันดับ 6 พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 2.03
อันดับ 7 พรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 1.26
อันดับ 8 พรรคชาติพัฒนากล้า ร้อยละ 0.61
อันดับ 9 พรรคเสรีรวมไทย ร้อยละ 0.38
อันดับ 10 พรรคอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้ ร้อยละ 0.15
*ผู้ยังไม่ตัดสินใจ ร้อยละ 0.47
เมื่อเทียบกับผลสำรวจครั้งที่แล้ว พรรคการเมืองที่ความนิยมขยับสูงขึ้น สำหรับแบบแบ่งเขต 3 ลำดับแรก คือ พรรคก้าวไกล พรรคเพื่อไทย และพรรคชาติพัฒนากล้า
บุคคลที่ประชาชนต้องการสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี
อันดับ 1 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (ก้าวไกล) ร้อยละ 44.73
อันดับ 2 น.ส.แพทองธาร ชินวัตร (เพื่อไทย) ร้อยละ 21.20
อันดับ 3 นายเศรษฐา ทวีสิน (เพื่อไทย) ร้อยละ 14.89
อันดับ 4 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (รวมไทยสร้างชาติ) ร้อยละ 9.67
อันดับ 5 นายอนุทิน ชาญวีรกูล (ภูมิใจไทย) ร้อยละ 2.17
อันดับ 6 ไม่รู้/ไม่แน่ใจ ร้อยละ 1.88
อันดับ 7 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (ประชาธิปัตย์) ร้อยละ 1.58
อันดับ 8 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ (พลังประชารัฐ) ร้อยละ 1.50
อันดับ 9 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (ไทยสร้างไทย) ร้อยละ 1.40
อันดับ 10 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (เสรีรวมไทย) ร้อยละ 0.67
อันดับ 10 นายกรณ์ จาติกวณิช (ชาติพัฒนากล้า) ร้อยละ 0.32
เมื่อเทียบกับผลสำรวจครั้งที่แล้ว บุคคลที่มีคะแนนนิยมขยับสูงขึ้น 3 ลำดับแรก คือ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
ขณะที่ผลสำรวจเบื้องต้นด้านนโยบาย (471 ตัวอย่าง) พบว่า 3 ปัญหาแรกที่ต้องการให้รัฐบาลหน้าเร่งแก้ไข คือ ค่าครองชีพ ร้อยละ 40.55 ความยากจน ร้อยละ 34.82 และคอร์รัปชัน ร้อยละ 27.81
ปัจจัยที่ทำให้พรรคการเมืองทำตามนโยบายที่สัญญาไว้ไม่สำเร็จ คือ ไม่ได้คิดจะทำนโยบายดังกล่าวตั้งแต่แรก-เป็นแค่การหาเสียง ร้อยละ 56.05 คิดนโยบายไม่รอบคอบจนทำจริงไม่ได้ ร้อยละ 21.44 และพยายามทำแล้วแต่มีอุปสรรค ร้อยละ 14.23
ประเด็นว่าอะไรสำคัญกว่ากัน ระหว่างนโยบายและจุดยืนทางการเมือง (193 ตัวอย่าง) พบว่า ร้อยละ 66.84 ให้ความสำคัญกับจุดยืนทางการเมืองมากกว่า ขณะที่ร้อยละ 32.64 ให้ความสำคัญกับนโยบายมากกว่า
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: