X

ชาวบ้านร่วมกับมูลนิธิบูรณะนิเวศน์นำพืชมาปลูกซับสารพิษที่เกิดจากโรงงานกำจัดขยะ

 ราชบุรี      ในวันนี้ ( 12 พ.ค. 66) ที่บริเวณลำห้วยน้ำพุ  หมู่ 1  ต.น้ำพุ  อ.เมือง  จ.ราชบุรี  ชาวบ้านได้ร่วมกับมูลนิธิบูรณะนิเวศน์   ช่วยกันจัดกิจกรรมปลูกพืชซึมซับสารพิษ  ที่เกิดจากโรงงานกำจัดกากขยะอุตสาหกรรมที่ชาวบ้านได้ร้องเรียน และต่อสู้ฟ้องร้องต่อศาล เพื่อให้โรงงานได้ออกมารับผิดชอบเรื่องของน้ำเสียที่ไหลออกมาจากโรงงานและซึมลงใต้ดิน  จนทำให้น้ำในลำห้วยและน้ำใต้ดินมีสารปนเปื้อนชาวฟบ้านเดือดร้อนไม่สามารถนำไปใช้อุปโภคบริโภคได้มานานกว่า 20 ปี แล้ว  โดยมีนายอุดม  เพชรคุต  รองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธานในปลูกต้นใบเตยและบัวแดงในลำห้วย

      ด้านอาจารย์  เพ็ญโฉม   แซ่ตั้ง  ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศน์   ได้ให้ข้อมูลของโครงการนี้ว่า เป็นการร่วมกันระหว่างชาวบ้านในหมู่ 1  ต.น้ำพุ กับมูลนิธิบูรณะนิเวศน์  นำพืชมาปลูกซับสารพิษในลำห้วย  เพื่อช่วยแก้ปัญหาที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงานกำจัดกากขยะอุตสาหกรรม แวกกาเบ็จรีไซค์เคิล  เซ็นเตอร์  ซึ่งชาวบ้านได้มีการฟ้องต่อศาลแพ่งและชนะมาแล้วตั้งแต่ปี  2563  และศาลได้มีคำสั่งให้โรงงานได้ทำการฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสารปนเปื้อน ทั้งในบริเวณโรงงานและนอกโรงงาน  แต่ตอนนี้ผ่านมา 3 ปี แล้วพื้นที่นี้ก็ยังไม่ได้รับการฟื้นฟูยังมีสารปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำ และทางกรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับงบประมาณ 50 ล้านบาท มาใช้ในการฟื้นฟู  แต่ว่างบประมาณยังมาไม่ถึง ขณะที่ชาวบ้านเองก็ยังเดือดร้อนไม่สามารถใช้น้ำในลำห้วยทำการเกษตรได้  และชาวบ้านต้องพึ่งพาตนเองเพื่อลดความเสี่ยงในส่วนที่จะได้รับสารพิษ โดยเฉพาะการที่จะทำให้สารพิษในแหล่งน้ำลดลง  เนื่องจากได้มีการเก็บตัวอย่างพืชในท้องถิ่น ซึ่งทั้ง บอน  เฟริน  บัว และผักบุ้ง ไปตรวจเพื่อจะดูว่าพืชเหล่านี้สามารถดูดซับสารพิษ  และเมื่อพบว่าสามารถดูดซับสารพิษให้เจือจางและลดน้อยลงไปได้  และพืชที่นำไปตรวจก็พบว่ามีสารหนูปนเปื้อนอยู่  จึงได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้นมา ซึ่งเชื่อว่าตามระยะเวลาที่ปลูกจะสามารถทำให้สารพิษในลำห้วยลดลงไปได้บ้างแม้ว่าจะทำได้ไม่เต็มที่ และไม่ขั้นที่ปลอดภัย  แต่ก็เป็นการแสดงพลังของชุมชนที่อยากจะปกป้องสิ่งแวดล้อมและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในชุมชนและเป็นการเร่งรัดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ช่วยเหลือให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัยและสามารถใช้น้ำในลำห้วยได้ ซึ่งพืชที่นำมาปลูกนั้นทางมูลนิธิฯก็จะติดตามเป็นระยะ โดยพืชที่นำมาปลุกนั้น จะเป็นบัว และใบเตย โดยพืชที่ปลูกในลำห้วยแห่งนี้จะมีการติดป้ายห้ามรับประทานโดยเด็ดขาด  เป็นแปลงทดลองการใช้พืชดูดซับสารพิษโดยชุมชนเพื่อลดความเสี่ยงจากมลพิษ  และพืชทั้งหมดที่นำมาปลูกเมื่อถึงเวลาก็จะต้องนำไปทำลายทั้งหมด และจะนำพืชไปตรวจดูด้วยว่าในระยะเวลาที่เราปลูกนั้นจะมีสารพิษอะไรบ้างในพืชที่ปลุกไว้ดูดซับ  โดยตั้งใจว่าจะทำลำห้วยน้ำพุให้เป็นแปลงทดลอง  ที่จะสามารถลดผลกระทบของชุมชนลงได้ก็จะเป็นรูปแบบที่เรานำไปใช้ในพื้นที่อื่นที่เกิดผลกระทบเหมือนกันได้  ซึ่งอาจจะใช้ระยะเวลาเป็นปีขึ้นไป

    ส่วนนายจำเนียร   จินดาโชติ  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1  ต.น้ำพุ  ก็บอกว่า ทางมูลนิธิฯมาเป็นที่ปรึกษาให้กับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโรงงานดังกล่าวมากว่า 20 ปี  และทางหน่วยงานก็ไม่มีมาตราการในการเข้ามาดูแลอย่างชัดเจนในการแก้ไขปัญหา  และเมื่อมีการจัดกิจกรรมปลูกพืชซึมซับด้านสารเคมีในลำห้วย เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น  ส่วนพืชที่นำมาปลูกนั้นชาวบ้านที่มีจะช่วยกันนำมาและนำมาปลูกร่วมกัน  ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านซึ่งการใช้บัว  หรือใบเตย ก็จะสามารถช่วยซึมซับทั้งสารเคมีในดินและกลิ่นเหม็นจากสารเคมีได้

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of สายชล โอชะขจร

สายชล โอชะขจร

ผู้สื่อข่าวราชบุรี