ชัยภูมิ – ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดอีสานตอนล่าง 1 พร้อมอัดงบกว่า 2,600 ล้าน เมืองชัยภูมิ โชว์ศักยภาพเสนอแผนแม่บทของบระยะแรกได้แล้วกว่า 300 ล้านบาท ในการมีส่วนร่วมแก้ปัญหาชุมชน พัฒนาบึงหนองตาดำ แก้ปัญหาน้ำท่วม-แล้ง – ต่อยอดแหล่งท่องเที่ยวสร้างเศรษฐกิจชุมชน!
เมื่อเวลา 08.30 น.- 11.30 น.วันที่ 15 พ.ค.66 นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ พร้อมด้วยแทนกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นงานออกแบบรายละเอียดโครงการพัฒนาพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน)ตอนล่าง 1 ระยะที่ 2 จังหวัดชัยภูมิ
รวมกับตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชน ผู้นำชุมชน ผู้แทนภาคประชาชนจากทุกภาคส่วนกว่า 50 คน ในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ เพื่อให้ทราบทิศทางขอบข่ายและขั้นตอนการดำเนินการจำทำแผนแม่บทและร่างลำดับความสำคัญของการพัฒนาแต่ละพื้นที่กลุ่มจังหวัดอีสานตอนล่าง 1 ในกลุ่ม 4 จังหวัด ประกอบด้วย จ.นครราชสีมา,ชัยภูมิ,บุรีรัมย์ และสุรินทร์ เพื่อให้เสนอข้อคิดเห็นที่จะนำไปสู่การจัดทำแผนแม่บทและเกิดประโยชน์ในการดำเนินโครงการในแต่ละพื้นที่จังหวัดได้อย่างยั่งยืนต่อไป
ข่าวน่าสนใจ:
ซึ่ง นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ กล่าวว่า ในการดำเนินการครั้งนี้ที่มีกรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นแม่งาน ในการที่จะเข้ามาช่วยดำเนินการทำแผนแม่บทโครงการนี้ได้เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ได้เห็นความสำคัญที่จะออกมาช่วยกันรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะต่างๆ ที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหาที่เหมาะสมสอดคล้องในทุกพื้นที่ได้
โดยในภาพมวลรวมสภาพปัญหาในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ในปัจจุบันจะเกิดปัญหาน้ำท่วม –ภัยแล้ง ซ้ำซากมายาวนาน ที่จะต้องมีการช่วยกันหาแนวทางที่จะเข้าแก้ไขปัญหาในขณะนี้ให้ได้ ซึ่งความสำคัญในตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทุกพื้นที่ของ จ.ชัยภูมิ ใน 124 ตำบล ใน 16 อำเภอ รวมทั้งทุกภาคส่วนทั้งภาคเอกชน ตัวแทนทุกภาคส่วน
ที่ขณะนี้ปัญหาที่ผ่านมา ในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ เป็นพื้นที่ต้นกำเนิดแม่น้ำชี แต่ไม่สามารถมีแผนแม่บทจุดรองรับเก็บกักน้ำที่เพียงพอได้ จากปริมาณฝนตกต่อปีมีสูงกว่า 2,000 – 2,600 ล้าน ลบ.ม. แต่ จ.ชัยภูมิ ในปัจจุบันที่แหล่งเก็บน้ำขนาดกลาง-ใหญ่ รวมกว่า 13 แห่ง ที่สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้หลังหน้าฝนได้ไม่เกิน 800 ล้าน ลบ.ม. พอมีฝนตกหนักในช่วงหน้าฝนก็จะมีการพลักดันน้ำทิ้งไปตามสายน้ำชีไหลผ่านไปทั่วภาคอีสาน เกิดปัญหาน้ำท่วม มายาวนาน แต่พอหมดฝน สิ่งที่เหลือไว้คือภัยแล้ง ไม่มีน้ำที่จะมีแหล่งเก็บกักไว้เป็นต้นทุนที่จะนำไปช่วยด้วยการเกษตรได้ไม่ถึง10 % ซึ่งชาว จ.ชัยภูมิ ส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตร
ซึ่งในทิศทางต่อไปในเวทีรับฟังความคิดเห็นของตัวแทนทุกพื้นที่ของ จ.ชัยภูมิ ในครั้งนี้ อยากให้มีการเพิ่มพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำในทุกพื้นที่ให้มากขึ้น และสำรวจแหล่งเก็บน้ำ คูคลอง บึงขนาดกลางและใหญ่ในพื้นที่ ทั้งหมด ใน จ.ชัยภูมิ เพื่อที่จะนำเสนอให้ทาง กรมโยธาธิการและผังเมือง นำไปเป็นข้อมูลช่วยออกแบบรายละเอียดโครงการนำไปสู่การเกิดแผนแม่บทที่สอดคล้องกันทั้งจังหวัดชัยภูมิ ที่จะมีทิศทางที่ชัดเจนการมีส่วนร่วมจากทุกพื้นที่ให้มากขึ้น ที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วม-ภัยแล้ง ที่รุนแรงซ้ำซากหนักเป็นประจำทุกปีจากนี้ต่อไปได้มากขึ้นได้
ที่จะสามารถบูรณาการนำไปเป็นแผนแม่บทของจังหวัด ที่จะเกิดโครงการต่างๆขึ้นในพื้นที่ ที่จะนำไปสู่การแก้ทั้งปัญหาภัยแล้ง-น้ำท่วม รวมทั้งบูรณาการสร้างความเข้มแข็งของแต่ละชุมชน ที่การออกแบบพัฒนาพื้นที่ตามผังเมืองรวม การพัฒนาแหล่งน้ำในแต่ละชุมชนตำบล และอำเภอ คูคลอง บึงต่างๆ ที่ไม่เฉพาะแต่ด้านเป็นแหล่งน้ำทางการเกษตร อุโภค บริโภค ยังสามารถดำเนินการโครงสร้างเพิ่มเติมในแต่ละพื้นที่เป็นแหล่งกระจายสินค้า กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวประจำชุมชน ส่งเสริมด้านเศรษฐกิจ เกิดความสุขเมืองน่าอยู่ของชุมชน และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบได้มากขึ้นและเกิดความยั่งยืนตามมาในอนาคตได้
ซึ่งในขณะนี้ทางตัวแทนกรมโยธาธิการและผังเมือง มีแผนที่จะดำเนินการโครงการแผนแม่บทดังกล่าวขึ้นเพื่อจัดทำแผนชุมชนในแต่ละพื้นที่จังหวัดต้องช่วยกันนำเสนอแผนขึ้นมาในขณะนี้ที่เป็นระยะที่ 2 ได้ ซึ่งในกลุ่มอีสานตอนล่าง 1 ในกลุ่ม 4 จังหวัด นคร-ชัย-บุ-รินทร์ ก็มีงบประมาณที่พร้อมรองรับไว้ขณะนี้ประมาณกว่า 2,600 ล้านบาท
และในส่วนของ จ.ชัยภูมิ ก็มีตัวอย่างที่ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องได้เสนอแผนมาถึงกรมโยธาธิการและผังเมืองให้ออกแบบการพัฒนา หนองตาดำ ที่เป็นบึงน้ำขนาดกลางอีกจุดที่มีศักยภาพในการออกแบบโครงการในการเข้ามาช่วยเป็นแหล่งเก็บกักน้ำ ไว้ใช้ทั้งหน้าแล้ง และเป็นจุดช่วยรองรับน้ำหลาก และสามารถพัฒนาตามแผนแม่บทของพื้นที่ที่จะเข้ามาส่งเสริมด้านความเป็นอยู่ของชุมชนที่ดีขึ้น ทั้งเป็นจุดรวมสินค้าชุมชน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิตอล เป็นรองรับนักท่องเที่ยว ช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของจังหวัดและเป็นจุดบริการจัดการน้ำทั้งระบบในพื้นที่รอยต่อได้อย่างดีอีกจุด ที่มีการบูรณาการพื้นที่รอยต่อของเทศบาลเมืองชัยภูมิ เชื่อมต่อเขต อบต.บุ่งคล้า อ.เมือง จ.ชัยภูมิ ที่ได้ผ่านการพิจารณางบประมาณจัดทำแผนรายละเอียดโครงการเบื้องต้นแล้วกว่า 300 ล้านบาท ซึ่งในผ่านงบประมาณลงมาดำเนินการในระยะแรกแล้วในขณะนี้กว่า 80 ล้านบาท ซึ่งเป็นอีกจุดตัวอย่างที่ดี และขยายผลไปยังพื้นที่แหล่งน้ำต่างๆอีกจุดที่ บึงชวน อ.บำเหน็จณรงค์ และในทั่วทั้งจังหวัดชัยภูมิ ได้ต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: