จ.นครพนม ออกหน่วยคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร จังหวัดนครพนม ให้บริการประชาชนพื้นที่อำเภอนาแก
วันที่ 27 พฤษภาคม 2566 ที่โรงเรียนชุมชนบ้านนาเลียง หมู่ที่ 1 บ้านนาเลียง ตำบลนาเลียง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานเปิดหน่วยคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร จังหวัดนครพนม นำบริการของภาครัฐทุกประเภท เข้ามาให้บริการและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนแก่ประชาชนในพื้นที่หมู่บ้าน ซึ่งอยู่ห่างไกล โดยปรับรูปแบบกิจกรรมให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน มุ่งการดำเนินการด้วยความคุ้มค่า และก่อประโยชน์สูงสุดแก่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ห่างไกล โดยมี นายจิรศักดิ์ สีหามาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม นางสงวน จันทร์พร นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครพนม หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดและอำเภอ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำท้องที่ท้องถิ่น ประชาชนในพื้นที่ ร่วมกิจกรรม ราว 300 คน และได้ร่วมมอบพันธุ์ปลาแก่ผู้นำชุมชนเพื่อนำไปปล่อยตามแหล่งน้ำจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด สำนักงานประมงจังหวัดนครพนม มอบโถสุขภัณฑ์ ตามโครงการโถสุขภัณฑ์ปันสุข ลุกนั่งปลอดภัย ห่วงใยผู้สูงอายุ มอบถุงยังชีพให้ผู้ด้อยโอกาส จากสำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดนครพนม มอบเงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุ มอบเงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจนจากบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดนครพนม และมอบทุนอุปการะเด็ก อายุ 0 – 6 ปี จากเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (อำเภอนาแก)
จากนั้น ได้เดินตรวจเยี่ยม จุดหน่วยจังหวัดเคลื่อนที่แบบบูรณาการ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข สร้างร้อยยิ้มให้ประชาชน โดยได้มีการแนะนำส่วนราชการต่างๆ ให้กับประชาชนได้รู้จักเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละหน่วย เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ารับบริการได้อย่างถูกต้องตรงตามความต้องการของแต่ละคน รวมถึงตอบข้อซักถามข้อสงสัยของประชาชน รวมถึงได้นำเอานโยบายต่างๆ ของรัฐบาลไปชี้แจงให้ประชาชนได้รับรู้ รับทราบ เพื่อสร้างความเข้าใจ และหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. จังหวัดนครพนม ที่คณะแพทย์ได้นำเครื่องมือและอุปกรณ์สาธารณสุขต่าง ๆ มาให้บริการตรวจสุขภาพเบื้องต้น ทำทันตกรรม ให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพ นอกจากนี้ยังมีจุดให้บริการอื่นๆ ของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่นำมาให้บริการมาทุกคน เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้แบบไม่มีค่าใช้จ่ายทั้งด้านการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ ที่ดิน การบริหารจัดการน้ำ การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การให้บริการซ่อมเครื่องมือทางการเกษตร การแจกพันธุ์ต้นไม้ การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย การเลือกใช้พลังงาน การทำบัตรประชาชน การรับเรื่องราวร้องทุกข์ร้องเรียน การเข้าถึงกองทุนยุติธรรม การทำประกันสังคม การขึ้นทะเบียนและทำหมันสัตว์ รวมถึงการออกร้านจำหน่ายสินค้าราคาถูก สินค้าทางการเกษตร และสินค้า OTOP เพื่อให้ประชาชนได้เลือกซื้อไปใช้ในครัวเรือน
ข่าวน่าสนใจ:
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: