อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด ร่วมกับ อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จัดพิธีวันระลึกพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ครบรอบ 133 ปี
( วันที่ 22 มิถุนายน 2566) นายเสถียร เจริญเหรียญ ผวจ.ประจวบฯนายนิทัศน์ จันทร์ทอง ผอ.ทสจ.ประจวบคีรีขันธ์ นายพงศธร พร้อมขุนทด หน.อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยอด เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด นานมนต์ชัย หนูสายนายอำเภอสามร้อยยอดพร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. ฝ่ายปกครอง นักเรียน นักศึกษา และกลุ่มพลังมวลชนต่าง ฯได้เดินทางขึ้นไปยังถ้ำพระยานคร อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ ร่วมกันประกอบพิธี เนื่องในวันระลึกพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ ครบรอบ 133 ปี
ข่าวน่าสนใจ:
โดยผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบฯเป็นประธานวางพวงมาลา หน้าพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งประดิษฐานบนพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ และกล่าวอาศิรวาทราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติฯเพื่อเป็นการน้อมรำลึกและแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
ถ้ำพระยานคร มีมาตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของ อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ ทั้งยังมีพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี เสด็จประพาสที่ถ้ำพระยานคร หลายพระองค์ เป็นถ้ำที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เดิมมีหลักฐานปรากฏว่ามีพระมหากษัตริย์เพียง 3 พระองค์ที่เสด็จประพาส
นายพงศธร พร้อมขุนทด หน.อุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด กล่าวว่าข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของ”ถ้ำพระยานคร” ของกรมศิลปากรได้ยืนยันว่า มีพระมหากษัตริย์ 5 พระองค์ เสด็จประพาส”ถ้ำพระยานคร”ดังนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้เสด็จประพาสถ้ำพระยานครเป็นอย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินมณฑลปักษ์ใต้ เมื่อปีมะแม พ.ศ.2402 และครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2406 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสถ้ำพระยานครทั้งหมด4ครั้ง ได้แก่ปี พ.ศ.2406 ,2429,2432 และ พ.ศ.2433 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่6 กล่าวกันว่าพระองค์ท่านเคยเสด็จที่ถ้ำพระยานครครั้งหนึ่ง แต่ไม่ทราบว่าเมื่อใด พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7 พระองค์ท่านได้เสด็จไปประทับ ที่พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2469 และได้จารึกพระปรมาภิไธย ย่อ ป.ป.ร. ไว้ที่ผนังถ้ำทางทิศตะวันตกของพลับพลา ซึ่งยังปรากฏให้เห็นอยู่จนถึงวันนี้ และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 พระองค์ท่านได้เสด็จที่ถ้ำพระยานคร เป็นการส่วนพระองค์ 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่22 มิถุนายน พ.ศ.2501 และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2524
พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ ตั้งอยู่ในถ้ำพระยานคร เป็นพลับพลาทรงจตุรมุข กว้าง2.55เมตร มีความยาว 8 เมตร สูง 2.55เมตร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่5 ได้ทรงโปรดให้สร้างพลับพลาที่ประทับไว้ ในคราวเสด็จประพาสถ้ำพระยานคร เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2433โดยทรงโปรดให้จัดทำขึ้นที่กรุงเทพ ฯ แล้วบรรทุกเรือหาญหักศัตรูขนมาก่อสร้างที่ถ้ำพระยานคร ส่งมาประกอบทีหลังโดยให้พระยาชลยุทธโยธินทร์เป็นนายงานยกขึ้น และพระราชทานามว่า”พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์” โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงยกช่อฟ้า ด้วยพระองค์เองเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2433 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จารึกพระปรมาภิไธย ย่อ จ.ป.ร. ไว้ที่บริเวณผนังด้านเหนือของพลับพลา
พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ ยังเป็นตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อีกด้วย โดยกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์เป็นโบราณสถานสำคัญเมื่อปี พ.ศ. 2495
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: