X
โดรนแปรอักษร,ตรังบินโดรน,ย.ป.,โรงเรียน ย.ป.,ชมรมเครื่องบินเล็ก,วช,

ตรัง วช.สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองฯจัดถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษร ภาคใต้ ครั้งที่ 2

สำนักงานวิจัยแห่งชาติร่วมกับสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ยกทัพโดรนบุก จ.ตรัง จัดถ่ายทอดเทคโนโลยี “โดรนแปรอักษร” ภาคใต้ ครั้งที่ 2 มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาด้านการศึกษา การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เกิดการสร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่หลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

โดรนแปรอักษร : วันที่ 15  กรกฎาคม 2566  ที่ห้องประชุมโรงเรียนย่านตาขาวรัชนูปถัมภ์ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง  ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรเพื่อประยุกต์การใช้งาน ภาคใต้ ครั้งที่ 2  ทั้งนี้ดร.วิภารัตน์   ดีอ่อง   ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีนโยบายที่มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาด้านการศึกษา การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เกิดการสร้างนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดนวัตกรรมที่หลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ และสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ซึ่งเป็นผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับโดรนในประเทศ

ที่ประสบผลสำเร็จในการคิดค้นและพัฒนาซอฟต์แวร์การสั่งงานโดรนแปรอักษร ที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ กล่าวได้ว่าเป็น “โดรนแปรอักษร” ฝีมือคนไทย และเป็นนวัตกรรมหนึ่งเดียวในอาเซียนและ 1 ใน 9 ของโลก ดังนั้น วช.จึงได้ให้การสนับสนุนแก่สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ผ่านโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรเพื่อประยุกต์สู่การใช้งาน มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565 จนถึงปัจจุบัน ที่ผ่านมา การดำเนินโครงการดังกล่าวเกิดผลงานและนวัตกรรมที่สำคัญมากมาย ซึ่งเป็นการยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีของคนไทยให้ก้าวล้ำไปอีกชั้นทัดเทียมกับเทคโนโลยีของต่างประเทศ เป็นการพัฒนาซอฟแวร์โดรนเพื่อนำไปประยุกต์ใช้งาน

ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรมและนวัตกร ที่จะนำความรู้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ หรือ”โดรน” ที่ได้รับมาพัฒนาต่อยอดและปรับใช้กับการทำงานในด้านต่าง ๆ ให้กับนักเรียน นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเป็นการอบรมบ่มเพาะเชิงบูรณาการ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและลงมือทำในสิ่งที่ต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมจริง ได้ฝึกคิด ฝึกทำ ฝึกทักษะ ฝึกปฏิบัติด้วยตนเองผ่านกิจกรรม “โดรนแปรอักษร” ซึ่งผลที่ได้จะนำไปสู่การพัฒนาที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป

ทางด้าน นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล นายกสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ กล่าวว่า การให้การสนับสนุนการบินโดรนปัจจุบันมาการนำเข้าโดรนจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากจึงจำเป็นต้องสนับสนุนการสร้างและการใช้โดรนให้กับเด็กเยาวชนของเราด้วยการสร้างและเขียนซอฟแวร์เองได้  และสมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ ซึ่งเป็นผู้นำด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับโดรนในประเทศที่ประสบผลสำเร็จในการคิดค้นและพัฒนาซอฟแวร์การสั่งงานโดรนแปรอักษร ที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ กล่าวได้ว่าเป็น “โดรนแปรอักษร” ฝีมือคนไทย และเป็นนวัตกรรมหนึ่งเดียวในอาเชียนและ 1 ใน 9 ของโลก

ซึ่งเป็นการยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีของคนไทยให้ก้าวล้ำไปอีกขั้นทัดเทียมกับเทคโนโลยีของต่างประเทศ ได้ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จัดโครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดรนแปรอักษรเพื่อประยุกต์สู่การใช้งาน” โดยจัดการอบรมให้กับนักเรียน/นักศึกษา ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยจัดอบรมในภาคใต้ จำนวน 4 ครั้งที่จังหวัดชุมพร จังหวัดตรัง จังหวัดกระบี่ และจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยอบรมครั้งละ 100 คน

ทั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเกี่ยวกับ “โดรนแปรอักษร” เพื่อนำไปประยุกต์ใช้งาน ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรม และนวัตกร ที่จะนำความรู้เทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน ที่ได้รับมาพัฒนาต่อยอดและปรับใช้กับการทำงานในด้านต่าง ๆ การอบรมครั้งนี้จัดขึ้น ณ โรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์ จังหวัดตรัง ในระหว่างวันที่ 15-17 กรกฎาคม 2566 โดยเป็นการอบรมบ่มเพาะเชิงบูรณาการ ที่สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติและลงมือทำในสภาพแวดล้อมจริง ได้ฝึกคิด ฝึกปฏิบัติ เพิ่มทักษะด้วยตนเองผ่านกิจกรรม  “โดรนแปรอักษร” 

ทั้งนี้ นายธัชชานนท์ อนุสาร นายเปี่ยมศักดิ์ วรรณแรก และนายทนงศักดิ์ พลอินทร์ นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์  สมาชิกชมรมเครื่องบินเล็กบังคับ  โรงเรียนย่านตาขาวรัชนูปถัมภ์ กล่าวว่าการที่โรงเรียนได้มีชมรมเครื่องบินเล็กบังคับ โครงการฝึกอบรมการบินโดรน เป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะเป็นการเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติให้นักเรียนสามารถนำความรู้ความสามารถมาให้ในการทำงานได้จริง เช่น การถ่ายภาพมุมสูง การนำทักษะการบินโดรน เพื่อการแข่งขัน มองว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก.

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน