กรุงเทพฯ และปริมณฑล : ททท. เปิดแผนตลาดฯ ปี 67 เร่งฟื้นฟูการท่องเที่ยวไทยสู่บทต่อไปที่เน้นคุณค่า สมดุลและยั่งยืน พร้อมดันรายได้ท่องเที่ยวให้ประเทศรวม 3 ล้านล้านบาท
ในช่วงเย็นวันนี้ (17 กรกฎาคม 2566) นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พร้อมด้วยนางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ ททท. ร่วมแถลงทิศทาง การส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยว ปี 2567 ประกาศเร่งฟื้นฟูการท่องเที่ยวไทยสู่บทต่อไปที่ดีขึ้น (Moving forward to Better) ทั้งฝั่ง Supply และ Demand ด้วยหัวใจหลักของการสร้างระบบนิเวศใหม่ที่มีคุณค่า สมดุลและยั่งยืน พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันสร้างความมั่นคงทางการท่องเที่ยว ก้าวสู่ High Value and Sustainable Tourism อย่างแท้จริง มั่นใจฟื้นรายได้สูงสุด 3 ล้านล้านบาท เทียบเท่าปี 2562 โดยได้รับเกียรติจากนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท. กล่าวว่า ปี พ.ศ. 2567 ถือเป็นปีแห่งการเร่ง “ฟื้นฟู” (Resilience) พร้อมพลิกโฉมสู่ High Value and Sustainable Tourism ที่เน้นคุณค่าและความยั่งยืน ททท. จึงได้ยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและ ททท. แบบ Moving forward to Better เดินหน้าต่อเนื่องสู่ก้าวต่อไปของการท่องเที่ยวไทยที่ดียิ่งขึ้น โดยมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การสร้างระบบนิเวศทางการท่องเที่ยวใหม่ New Ecosystem ด้วยการลดการพึ่งพานักท่องเที่ยวจำนวนมาก สร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูง พัฒนาห่วงโซ่อุปทานร่วมกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมฯ ให้พร้อมรับกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ รวมทั้งกระจายรายได้สู่ฐานรากอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งมิติความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ มิติสังคมอยู่ดีมีสุข มิติสิ่งแวดล้อมที่ดี และมิติภูมิปัญญา
อีกหนึ่งในความพยายามของ ททท. คือ การสร้าง“ความมั่นคงทางการท่องเที่ยว” หรือ Tourism Security เพื่อให้มั่นใจว่า อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยจะเติบโตอย่างเข้มแข็ง “ล้มให้เป็น” “ลุกให้ไว” และ “ไปต่อ” อย่างมีภูมิคุ้มกันระยะยาว สามารถเผชิญวิกฤติเชิงซ้อน (Polycrisis) ที่เกิดขึ้นได้ จึงมุ่งมั่นเสริมทัพด้วย 4 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ 1) เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับห่วงโซ่อุปทานบนพื้นฐานของคุณภาพและความยั่งยืน สอดรับกับความต้องการของกลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพ และกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม 2) พัฒนาปัจจัยสนับสนุนการท่องเที่ยวและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยว เอื้อต่อการเดินทางอย่างสะดวกและปลอดภัย เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดี มีคุณค่าอย่างเท่าเทียม ทั้งนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติ 3) ใช้ประโยชน์จากการปรับเปลี่ยนสู่โลกดิจิทัล เพิ่ม Digital Literacy ลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล เน้นการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าและความยั่งยืน และสุดท้าย 4) ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความเสี่ยงภายนอก อย่างมีประสิทธิภาพ
ข่าวน่าสนใจ:
- ปิดตำนานนักเขียน "ตรี อภิรุม" ศิลปินแห่งชาติฯ เจ้าของผลงาน "นาคี"
- "เบิร์ด ธงไชย" ศิลปินแห่งชาติ ร่วมสืบสานนาฏศิลป์สยาม ชมการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ
- ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีฯ จัดกิจกรรม"วันกิมจิ"เผยแพร่การทำกิมจิ ผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 700 คน
- กทม. ร่วม"ฟูกูโอกะ" เปิดงาน "Fukuoka Fair" ฉลอง 18 ปีเมืองพี่เมืองน้อง
ทางด้าน นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ รองผู้ว่าการด้านตลาดในประเทศ ททท. กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2567 ททท. จะให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการสานต่อการ “สร้างประสบการณ์ทรงคุณค่า” เพื่อส่งมอบให้กับกลุ่มเป้าหมายนักท่องเที่ยวคุณภาพที่มีความต้องการแตกต่างกัน โดยคำนึงถึง Sub-culture Movement และ Partnership 360o ประสานความร่วมมือกับทุกพันธมิตรผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย “มุ่งสู่ความยั่งยืน”
วางแผนกระตุ้นตลาดด้วย 5 ทิศทางหลัก ได้แก่ เสริมภาพลักษณ์ แบรนด์ท่องเที่ยวไทยด้านความยั่งยืนและใช้เป็นจุดขายใหม่ของประเทศไทย เน้นไม่สร้างภาระ แต่สร้างสาระรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อมและชุมชน (Travel with Care) กระจายรายได้อย่างทั่วถึง (Fair Income) และเสนออัตลักษณ์ท้องถิ่นเป็นจุดขาย (Encourage Identity & Biodiversity) โดยมีแนวคิดดำเนินโครงการ Kinnaree Brand Refresh ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติได้รู้จักรางวัลกินรีในวงกว้าง เพื่อเป็นเครื่องหมายรับรองคุณภาพสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวภายใต้มาตรฐาน การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Responsible Tourism) รุกเปิดตลาดคุณภาพใหม่ให้ท่องเที่ยวไทยอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โฟกัสตลาดใหม่ในภูมิภาคยุโรปและตะวันออกกลาง และขยายสู่กลุ่มตลาดย่อย ซึ่งเป็นผู้มีรายได้สูง แสวงหาคู่ค้ารายใหม่และขยายความร่วมมือกับคู่ค้ารายใหญ่ในเวทีโลก เช่น Tourism Cares ของสหรัฐอเมริกา OTA ชั้นนำ หรือ Platform การชำระเงินยอดนิยมต่าง ๆ ขยายการเดินทางเชื่อมโยงทางบกเข้าถึงประเทศไทย เช่น เส้นทางรถไฟความเร็วสูง จีน-เวียงจันทน์ (ลาว) – ไทย และ ใช้ Digital Content เสริมพลังทางการตลาด เช่น เกาหลีใต้ ใช้ Virtual influencer คือ น้อง Rozy นำเสนอประสบการณ์ท่องเที่ยวไทยชวนนักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมาย Gen Y – Z มาเที่ยวไทยพร้อมกันนี้ ได้ส่งไม้ต่อไปที่ “ไทยเที่ยวไทย” ตลาดในประเทศ ททท. ให้น้ำหนักไปที่การกระตุ้นให้เที่ยวไทยทันที
ทั้งนี้ ททท. ตั้งเป้าหมายอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ปี 2567 ผลักดันรายได้ในระดับใกล้เคียงกับรายได้ที่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยได้รับในปี 2562 ก่อนสถานการณ์การเผยแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยบนพื้นฐานของสถานการณ์ท่องเที่ยวที่มีปัจจัยเอื้ออำนวยในทุกด้าน (Best Case Scenario) จะมีรายได้จากการท่องเที่ยว รวมทั้งสิ้น 3 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากต่างประเทศ 1.92 ล้านล้านบาท ดึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเข้าไทยจำนวน 35 ล้านคน ขณะที่ตลาดในประเทศ สร้างรายได้หมุนเวียน 1.08 ล้านล้านบาท จากการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศของคนไทย 200 ล้านคน-ครั้ง #
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: