X

สสจ.ตรัง เต้น ตั้งคกก.สอบด่วนกระบวนการรักษา สาเหตุน้องมีตังค์เสียชีวิต ชี้ทางยื่นม.41 พ.ร.บ.เยียวยาผลกระทบจากการรับบริการทางการแพทย์

สสจ.ตรัง เต้น ตั้งคกก.สอบด่วน กระบวนการรักษาพยาบาล สาเหตุน้องมีตังค์เสียชีวิต ชี้ทางยื่นเรื่อง ม.41 พ.ร.บ.เยียวยาผลกระทบจากการรับบริการทางการแพทย์

สสจ.ตรัง เต้น ตั้งคกก.สอบด่วน กระบวนการรักษาพยาบาล สาเหตุน้องมีตังค์เสียชีวิต ปอดบวม-หายใจล้มเหลว ใช้คนกลางนั่งกก. เหตุรพ.ให้ข้อมูลชี้แจงมาอีกอย่าง ปมส่งตัวภาวะวิกฤติช้า อ้างญาติร้องขอในวันสุดท้าย ยอมรับเอ็กเรย์ปอดแค่ครั้งเดียวก่อนยอมส่งตัว ชี้ทาง ระหว่างพิสูจน์ ไม่ต้องรอถูกผิด ยื่นเรื่องตามม.41 พ.ร.บ.เยียวยาผลกระทบจากการรับบริการทางการแพทย์ได้เลย รู้ผลไม่เกิน 2 สัปดาห์

จากกรณี พ่อแม่ร่ำไห้ขอความเป็นธรรมให้ลูกสาววัย 3 ขวบ หลังเข้ารักษาที่โรงพยาบาลวังวิเศษ กระทั่งมีไข้สูงชัก แต่โรงพยาบาลแห่งนี้ไม่ยอมส่งตัวต่อไป โรงพยาบาลตรังตามที่ร้องขอ อ้างดูแล ได้กระทั่งอาการหนัก ก่อนยอมส่งตัวสุดท้ายเสียชีวิตหลังส่งถึงโรงพยาบาลตรัง
คืบล่าสุดวันนี้ 21 กรกฎาคม 2566 ผู้สื่อข่าวได้ขอเข้าสัมภาษณ์ นายแพทย์สินชัย รองเดช นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง ถึงกรณีดังกล่าว

นายแพทย์สินชัย รองเดช นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง บอกว่า เรื่องนี้ได้รับทราบเมื่อคืนประมาณ 4 ทุ่ม ทางผอ.โรงพยาบาลวังวิเศษแจ้งมาทางโทรศัพท์ว่ามีเด็กเพศหญิงเข้ารับการรักษาอายุ 3 ขวบ เมื่อวันที่ 16 ก.ค.66 และรีเฟอร์เข้ารพ.ตรัง วันที่ 19 ก.ค.66 รวม 4 วัน รพ.วังวิเศษมีการเสียชีวิตเกิดขึ้น เข้ามาด้วยเรื่องของอาการมีไข้และอาการชัก เรื่องความรู้สึกของเด็กก็มีความรู้สึกตัวดีให้การรักษาโดยทีมแพทย์และพยาบาล วันสุดท้าย 19 ก.ค. ช่วงบ่ายเด็กมีอาการหอบเหนื่อยความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดตกต่ำ ได้ปรึกษาไปที่กุมารแพทย์โรงพยาบาลห้วยยอด ให้ใช้ออกซิเจนไฮโฟร์ แต่ว่าพอให้ไปปอดแฟบ ความอิ่มตัวของออกซิเจนไม่ขึ้น ทางโรงพยาบาลวังวิเศษได้เอกซเรย์ปอดดู และคุยกับญาติส่งตัว รีเฟอร์เข้ารพ.ตรังเพื่อจะรักษา แต่ในระหว่างรีเฟอร์เมื่อมาถึงโรงพยาบาลตรัง ก็ช่วยกันปั๊มหัวใจ และ ก็ได้เสียชีวิตลงในเวลาต่อมา
สาเหตุที่เสียชีวิตมีปัญหาระบบการหายใจ เป็นตัวหลัก แต่เราสอบถามไปทางรพ.ตรัง เป็นภาวะนิวโมเนียวิดเออาร์ดีเอช(Pneumonia with ARDS) หรือปอดบวม และระบบทางเดินหายใจวิกฤตเฉียบพลันรุนแรง น่าจะเกิดจากถุงลมและเนื้อปอดมีปัญหา


ในเรื่องตรงนี้ที่ทางญาติมีการร้องขอให้ส่งรพ.ตรัง ผมขอไม่ตอบก่อนว่ามีการร้องขอก่อนไหมจะขอลงไปสืบข้อเท็จจริงก่อน จะมีชุดกรรมการลงตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน เราให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย ซึ่งประเด็นตรงนี้ ผมไม่แน่ใจ มีญาติร้องขอก่อนหรือไม่ แต่จะสืบข้อเท็จจริงที่รพ.ตรงนี้ก่อน ว่าญาติเห็นว่าผู้ป่วยวิกฤตแล้วขอให้โรงพยาบาลส่ง ซึ่งจะตรวจสอบข้อเท็จจริงตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลวังวิเศษ จนถึงส่งโรงพยาบาลตรัง หรือญาติมาร้องขอเอาในวันสุดท้ายที่ที่เด็กอาการทรุดหนักแล้ว ซึ่งข้อมูลตรงนี้ฝ่ายโรงพยาบาลกับญาติไม่ตรงกัน ซึ่งต้องหาความกระจ่างต่อไป
ส่วนเรื่องมาตรฐานการให้บริการ ตนได้สอบถามไปอย่างโรงพยาบาลวังวิเศษ ซึ่งทางโรงพยาบาลทำตามไกด์ไลน์หรือรูปแบบให้บริการที่เขียนไว้เป็นขั้นตอนชัดเจน เรามีมาตรการการให้บริการที่ทำเหมือนกันทุกโรงพยาบาล บริการตามหลักเพราะรพ.วังวิเศษ อยู่ถึง 7 คน แพทย์เวรประจำอาคารอยู่ 24 ชั่วโมงที่จะดูแลผู้ป่วย
โดยระบบการดูแลผู้ป่วยในจะวนอยู่ตลอดวัน แต่เมื่อหลังเวลาทำการจะมีแพทย์เวรดูแลประจำอาคาร
ทั้งนี้ที่โรงพยาบาลวังวิเศษ จะไม่มีกุมารแพทย์ มีแต่แพทย์เจนเนเรอฟิสิกเชียลหรือแพทย์ทั่วไป
ส่วน การรักษาที่โรงพยาบาลวังวิเศษมีการเจาะเลือด ส่วนเรื่องการเอกซเรย์ปอดจะมีแค่วันสุดท้ายวันเดียว เพราะการเอกซเรย์บางครั้งก็ไม่จำเป็นเพราะไม่อยากให้เด็กโดนรังสีเอกซ์เข้าไปในร่างกาย ซึ่งเครื่องมือมีทั้งคุณและโทษจึงขอให้ใช้ตามความจำเป็น ซึ่งทางโรงพยาบาลขอยืนยันว่าทำตามตามขั้นตอน แต่ทางญาติบอกว่ามีข้อบกพร่อง ตนในฐานะผู้บริหารต้องเข้าไปดูแลในเรื่องนี้ ซึ่งต้องให้ความเป็นกลาง โดยตั้งกรรมการขึ้นมาเพื่อเข้าไปตรวจสอบและดูแลมาตราฐานการให้บริการทางการแพทย์ ของโรงพยาบาลวังวิเศษ ซึ่งจะดูตั้งแต่เด็กเข้าโรงพยาบาลไปจนถึงรีเฟอร์ ว่ามีข้อบกพร่องตรงไหน ซึ่งกรรมการที่ตั้งไปนั้นจะเป็นบุคคลภายนอก ไม่มีเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลวังวิเศษเลย โดยจะให้นายแพทย์สมเกียรติ พยุหเสนารักษ์ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง เป็นประธานกรรมการ และตัวแทนหลักประกันที่ดูแลเรื่องการบริการทั้งหมด


เมื่อเกิดความเสียหายเกิดขึ้น ไม่ต้องตอบถูกผิดก่อนแต่ต้องลงไปตรวจสอบก่อน วันนี้มีเจ้าหน้าที่ ลงไปเยี่ยมที่งานศพแล้ว และจะมีการประชุมคณะกรรมการตามมาตรา 41 การบริการที่เกิดความเสียหายเกิดขึ้น ให้ยื่นคำร้อง ขอรับเงินเยียวยา ความเสียหายที่เกิดจากบริการทางการแพทย์ และ กรรมการจะดูว่าเกิดขึ้นจากกรณีความเสียหาย พิจารณาว่ากรรมการจะพิจารณาว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดจากการบริการทางการแพทย์หรือไม่ ถ้าเกิดจากการบริการก็ สามารถใช้เงินเยียวยาของกองทุนตามมาตรา 41 ได้ แต่ถ้าคณะกรรมการ เห็นว่าไม่ได้เกิดจากการบริการทางการแพทย์ญาติก็สามารถยื่นอุทธรณ์ได้อีกหนึ่งครั้ง ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวจะทำให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ คาดว่าสิ้นเดือนสิงหาคมนี้
ในขณะที่ทางด้านแพทย์หญิงปณิดา เพชรรัตน์ ผอ.รพ.วังวิเศษ บอกว่า ทางรพ.วังวิเศษทำเต็มที่สุดความสามารถทำให้ดีที่สุด และขอแสดงความเสียใจกับทางครอบครัวของน้อง เราไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น

แฟ้มภาพ

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน