จ. นครพนม ทดสอบเส้นทางการท่องเที่ยวในชุมชนเชิงประวัติศาสตร์ ท่าค้อ-เมืองเก่า แบบ Low Carbon Tourism
วันที่ 26 กรกฎาคม 2565 ที่ชุมชนท่าค้อหนองจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม นายวราวิทย์ พิมพนิตย์ นายอำเภอเมืองนครพนม พร้อมด้วย ดร.ธาวิษ ถนอมจิตศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพานิช ที่ปรึกษาโครงการ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพบริการและสินค้าทางการท่องเที่ยวจังหวัดนครพนม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธราธิป ภู่ระหงษ์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยนครพนม นายพิชญา โพชราษฎร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าค้อ นำคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยนครพนม ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตัวแทนภาคประชาชน และสื่อมวลชวน ร่วมทดสอบเส้นทางการท่องเที่ยวในชุมชนเชิงประวัติศาสตร์ รูปแบบ Low Carbon Tourism ท่าค้อ – เมืองเก่า ภายใต้กิจกรรมพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน “ต้องเที่ยว(Unseen)” จังหวัดนครพนม ที่วิทยาลัยการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลท่าค้อและชุมชนท่าค้อ เมืองเก่า หนองจันทร์ จัดขึ้น เพื่อศึกษา ออกแบบ และพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถให้กับชุมชนในการแข่งขันทางการตลาดท่องเที่ยว ทั้งเป็นการสร้างการรับรู้การท่องเที่ยวคุณภาพสูงเชิงประวิศาสตร์ ที่คำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมและผลกระทบทางลบต่อโลกตอบสนองการเปลี่ยนแปลงสู่ความปกติวิถีใหม่ (Next Normal) ภายใต้แนวคิด BCG Economy & Happy Model ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมของจังหวัดนครพนม
ข่าวน่าสนใจ:
โดยกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการพาท่องเที่ยวตามสถานที่สำคัญของ ชุมชนท่าค้อ เมืองเก่า หรือสมัยก่อนเรียกว่าบ้านห้วยน้ำแจ่ว ที่ในอดีตบริเวณนี้เคยเป็นเมืองเก่า ก่อนที่จะมีการย้ายมาสร้างเมืองใหม่เป็นเมืองมรุกขนคร และจังหวัดนครพนม ตามลำดับ ดังนั้นจึงทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีประวัติศาสตร์ เรื่องราว เรื่องเล่า วิถีชีวิต ประพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ สืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ที่หลายคนอยากมาเห็นและสัมผัส โดยจุดรวมพลการเดินทางจะอยู่ที่สวนสมุนไพรสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่เป็นศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรมากกว่า 50 ชนิด โดยในจุดนี้ทุกคนจะได้เห็นถึงวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในชุมชนท้าค้อ เมืองเก่า ที่มีการนำชุดการแสดงออนซอนฟ้อนรำสาวท่าค้อมาจัดโชว์ให้ได้ชม ก่อนที่จะมีการประกอบพิธีผูกข้อมือต้อนรับผู้ที่มาทดสอบเส้นทางท่องเที่ยวในวันนี้เป็นการรับขวัญ แสดงออกถึงความยินดีในการต้อนรับ จากนั้นทุกคนได้เดินทางไปที่วัดเมืองเก่า หมู่ที่ 2 ด้วยรถอีแต๊กและรถสามล้อเครื่องในชุมชน ทำให้ได้พบกับโบสถ์อันสวยงามที่ชาวบ้านได้ร่วมกันสร้างขึ้นมาครอบทับโบสถ์หลังเดิม แต่ที่ทำให้ทุกคนต้องตะลึงคือพระประธานขนาดใหญ่ที่อยู่ภายในโบสถ์มีจอมปลวกขึ้นมาปกคลุมจนแทบจะมองไม่เห็น จากนั้นไปไหว้เจ้าศาลอัญญาพระไซ ที่เป็นศาลเก่าแก่สร้างขึ้นสมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรที่อยู่ด้านข้างโบสถ์ โดยศาลแห่งนี้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน เป็นตัวแทนของเจ้าหัวเมืองที่มีความกล้าหาญ มีความสามารถในการสู้รบปกป้องบ้านเมืองและปราบปรามศัตรู และสายมูเตลูเชื่อว่ามาขอพรเรื่องหน้าที่การงานแล้วจะประสบความสำเร็จ จากนั้นเดินทางไปที่ฐานปฏิบัติการ ตชด. บ้านเมืองเก่า ซึ่งด้านหลังฐานปฏิบัติการมีวัดแป้มร้าง (แต้มร้าง) ที่มีซากโบราณสถานเจดีย์และอูบมุงเก่าแก่ 400 กว่าปี ที่กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2511 เพียงแห่งเดียวในพื้นที่ และเดินทางไปที่วัดชลธารบุญญาวาส บ้านท่าค้อ หมู่ที่ 3 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ประชาชนและนักท่องเที่ยวเพดินทางมากราบไหว้และขอพรในเรื่องการค้าขายและสุขภาพ เพราะสถานที่แห่งนี้มีพระทันใจ และรูปหล่อปู่ฤาษีอินปัน ที่ทุกคนเชื่อว่ามาไหว้ขอพรแล้วจะสมหวัง รวมถึงมีโรงอบสมุนไพรที่ให้ทุกคนได้มาศึกษาและใช้บริการ ก่อนที่ทุกคนจะมารับประทานอาหารกลางวันร่วมกันและจับจ่ายซื้อหาของฝากของที่ระลึกจากชุมชนที่ผ่านการอบรมกระบวนการแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: