กรุงเทพฯ : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ห่วงเศรษฐกิจ-ภาคการเกษตร ตั้งวอร์รูมสกัดผลกระทบภัยแล้งโลก ทั้งการผลิต-การตลาด-ราคาข้าวและพืชเกษตรสำคัญ รับมือ ‘เอลนีโญ’
วันที่ 7 สิงหาคม 2566 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงภายหลังเป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง การผลิต และการตลาดสินค้าเกษตร ที่ห้องประชุมกิติยากรวรลักษณ์ ชั้น 4 สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์
นายจุรินทร์ กล่าวว่า ตนเองได้ให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นัดหมายหารือ ติดตามสถานการณ์เอลนีโญหรือภัยแล้งที่เกิดขึ้นทั่วโลก เพื่อประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับภาคเกษตร และการตลาดพืชผลการเกษตรของไทย โดยมีผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ทูตพาณิชย์จาก 58 ประเทศทั่วโลก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ส่วนราชการอื่น และภาคเอกชนร่วมด้วย โดยมุ่งเน้นเรื่องข้าวเป็นหลัก
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง คู่ซี้ พระ-ฆราวาส เมาแอ๋ด่าทอชาวบ้านใกล้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อาละวาดอ้างมีปืน ทำชาวบ้านแตกตื่น ตร.หิ้วปีกบังคับสึก กร่างไม่เลิกบอกรู้จักพระผู้ใหญ่
- กทม. ร่วม"ฟูกูโอกะ" เปิดงาน "Fukuoka Fair" ฉลอง 18 ปีเมืองพี่เมืองน้อง
- ปิดตำนานนักเขียน "ตรี อภิรุม" ศิลปินแห่งชาติฯ เจ้าของผลงาน "นาคี"
- ศูนย์วัฒนธรรมเกาหลีฯ จัดกิจกรรม"วันกิมจิ"เผยแพร่การทำกิมจิ ผู้สนใจเข้าร่วมงานกว่า 700 คน
ที่ประชุมประเมินตรงกันว่าสถานการณ์เอลนีโญ รวมทั้งมาตรการห้ามส่งออกข้าวขาวของอินเดีย เมื่อวันที่ 20 ก.ค.ที่ผ่านมา มีผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตข้าว ตลาดข้าว และราคาข้าว กรมอุตุนิยมวิทยาชี้แจงว่า สถานการณ์เอลนีโญแบ่งเป็น 3 ระดับ ระดับอ่อน 0.5-1.0 ระดับปานกลาง 1.0-1.5 และระดับรุนแรง เกินกว่า 1.5 สำหรับประเทศไทย พ.ค.-ก.ค.ที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 0.8 ซึ่งช่วงที่มีสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรงตอนปี 59 อยู่ที่ระดับ 1.2 และกรมชลประทานรายงานว่าปีนี้ ปริมาณน้ำฝนของไทย จะลดลง 5% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 30 ปี และปริมาณน้ำในเขื่อนปีนี้ คาดว่าจะน้อยกว่าปี 65 ประมาณครึ่งหนึ่ง ซึ่งจะมีผลกระทบกับพืชผลการเกษตรอยู่ในเขตชนประทาน
และอินเดียที่ระงับการส่งออกข้าวขาวเมื่อวันที่ 20 ก.ค. ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า เกิดจากสถานการณ์เอลนีโญและภัยแล้งที่กระทบกับราคาข้าวในอินเดียสูงขึ้น รัฐบาลต้องการให้ราคาข้าวในประเทศลดลง จึงระงับการส่งออก เพื่อดูแลผู้บริโภคในประเทศ ส่งผลให้ 1.ราคาข้าวในตลาดโลกสูงขึ้น 2. เป็นโอกาสของตลาดข้าวไทยโดยเฉพาะตลาดแอฟริกา เพราะแอฟริกานำเข้าข้าวจากอินเดีย 3. เกษตรกรขายข้าวเปลือกได้ในราคาสูงขึ้น ซึ่งขณะนี้ราคาข้าวเปลือกเจ้า สูงกว่าก่อนอินเดียห้ามส่งออกข้าวประมาณ 7% แต่อาจมีผลลบกับอาหารสัตว์และปศุสัตว์ เพราะต้นทุนอาหารสัตว์สูงขึ้นแต่ราคาตลาดข้าวโลกมีความผันผวน ซึ่งยังไม่นิ่งในขณะนี้ เพราะยังไม่สามารถประเมินราคาข้าวในตลาดโลกได้อย่างชัดเจน
“โดยที่ประชุมมีมติให้ตั้งวอร์รูม ติดตามสถานการณ์เอลนีโญภัยแล้งของโลกและประเทศเรา รวมทั้งติดตามการผลิต การตลาด ราคาข้าวและพืชผลการเกษตรอื่นด้วย ซึ่งวอร์รูมจะประกอบด้วยปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นรองประธาน และผู้แทนส่วนราชการทั้งกระทรวงพาณิชย์กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงการคลัง กระทรวงดีอีและส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งภาคเอกชนและเกษตรกรที่เกี่ยวข้อง และให้เสนอแนวทางตัดสินใจเรื่องสำคัญต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ต่อไป ทั้งนี้มอบหมายให้ทูตพาณิชย์ทั่วโลกติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง การผลิต ราคาและการตลาดของพืชเกษตรทุกตัวโดยเฉพาะข้าว รายงานให้กระทรวงพาณิชย์ทราบทุก 1-2 สัปดาห์”
นายจุรินทร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับราคาข้าวในอนาคต ตนเองได้สั่งการให้หาจุดสมดุล ขณะที่ราคาข้าวเปลือกสูงขึ้นเกษตรกรได้ประโยชน์มากขึ้นจะส่งผลให้ข้าวสารแพงเกินจุดสมดุลหรือไม่ ถ้าแพงเกินก็ต้องกำกับควบคุมให้อยู่ในจุดที่ผู้บริโภครับได้ แต่ขณะเดียวกันผู้ประกอบการก็ต้องอยู่ได้ด้วย ให้วินวินทุกฝ่าย ได้ประโยชน์ร่วมกันทุกฝ่ายและถ้าเสียประโยชน์ให้เสียประโยชน์น้อยที่สุดทุกฝ่าย วอร์รูมมีหน้าที่ต้องไปดู
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: