กรุงเทพฯ – กอนช.ออกประกาศ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากใน ภาคเหนือ อีสาน ตะวันออก และภาคใต้ ช่วงวันที่ 12-18 ส.ค.2566
กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ออกประกาศ ฉบับที่ 14/2566 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก
จากการติดตามสภาพอากาศ พบว่า ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านตอนบนของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งใน ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ กอนช.ได้ประเมินวิเคราะห์สถานการณ์น้ำด้วยฝนคาดการณ์ จากกรมอุตุนิยมวิทยา และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และพื้นที่เสี่ยงดินโคลนถล่มบริเวณต้นน้ำ จากกรมทรัพยากรน้ำและกรมทรัพยากรธรณี ในช่วงวันที่ 12-18 สิงหาคม 2566 มีพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน ดังนี้
1.ภาคเหนือ
จังหวัดเชียงราย (อำเภอแม่จัน แม่สาย และแม่ฟ้าหลวง)
จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภออมก๋อย)
จังหวัดตาก (อำเภอท่าสองยาง แม่สอด แม่ระมาด และอุ้มผาง)
จังหวัดน่าน (อำเภอเมืองน่าน บ่อเกลือ ปัว เชียงกลาง ทุ่งช้าง เฉลิมพระเกียรติ และสองแคว) โดยเฉพาะจังหวัดน่าน ซึ่งปัจจุบันมีน้ำท่วมขังอยู่ในอำเภอเวียงสา ท่าวังผา และแม่จริม ระดับน้ำจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก
2.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย เฝ้าไร่ โพนพิสัย และรัตนวาปี)
จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอเมืองบึงกาฬ ปากคาด บุ่งคล้า เซกา ศรีวิไล พรเจริญ โซ่พิสัย และบึงโขงหลง)
จังหวัดนครพนม (อำเภอเมืองนครพนม ท่าอุเทน ศรีสงคราม บ้านแพง นาทม และโพนสวรรค์)
จังหวัดสกลนคร (อำเภอบ้านม่วง และอากาศอำนวย)
ข่าวน่าสนใจ:
3.ภาคตะวันออก
จังหวัดระยอง (อำเภอเขาชะเมา บ้านค่าย แกลง และบ้านฉาง)
จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง เขาคิชฌกูฏ และท่าใหม่)
จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด คลองใหญ่ บ่อไร่ แหลมงอบเขาสมิง เกาะกูด และเกาะช้าง)
4.ภาคใต้
จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง กะเปอร์ และกระบุรี)
จังหวัดพังงา (อำเภอคุระบุรี และท้ายเหมือง)
จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง)
จังหวัดสตูล (อำเภอละงู)
จังหวัดตรัง (อำเภอกันตัง สิเกา และปะเหลียน)
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
1.ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ หรือพื้นที่ชุมชนเมืองที่เคยเกิดน้ำท่วมขังไม่สามารถระบายได้ทัน
2.เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ลอกท่อระบายน้ำ และบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: