ตรัง อบจ.ตรัง จัดงานย้อนวันวานเมืองเก่าท่าข้าม-หยงสตาร์-ทุ่งยาว ชุมชนพหุวัฒนธรรม ครึกครื้นด้วยขบวนแห่ตามประเพณีมุสลิม “ประเพณีแห่แขก-ขอขนม” อิ่มอร่อยกับร้านค้าและบูธสาธิตทำอาหารพื้นบ้าน
เมื่อวันที่ 18 ส.ค.66 ที่แหลมหยงสตาร์ ต.ท่าข้าม อ.ปะเหลียน จ.ตรัง นายบุ่นเล้ง โล่สถาพรพิพิธ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง เป็นประธานในพิธีเปิดงานส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองเก่าท่าข้าม-หยงสตาร์ – ทุ่งยาว ตามโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองเก่าตรัง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยว และบริการ ในพื้นที่ชุมชนเมืองเก่าจังหวัดตรัง ให้กลับมาคึกคักอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังเป็นการประชาสัมพันธ์ กิจกรรมการท่องเที่ยว เมืองเก่าตรัง ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการร่วมกันอนุรักษ์เมืองเก่า และสืบทอดวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของจังหวัดตรัง ให้คงอยู่ คู่กับจังหวัดตรังต่อไป และเพื่อกระจายรายได้สู่ฐานราก ตามนโยบายของรัฐบาล ตามลำดับ การจัดงาน “ย้อนวันวานเมืองเก่าท่าข้าม – หยงสตาร์ – ทุ่งยาว” ครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 20 สิงหาคม 2566 ณ แหลมหยงสตาร์ ตำบลท่าข้าม ในงานมีร้านค้าในท้องถิ่น จำนวน 30 ร้านค้า และ ร้านค้าทั่วไปอีก 100 ร้านค้า ทั้งยังมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นตลอดการจัดงาน การสาธิตอาหารพื้นถิ่น
สำหรับชุมชนเมืองเก่าท่าข้าม-หยงสตาร์–ทุ่งยาว เป็นชุมชนพหุวัฒนธรรมมีทั้งชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวไทยมุสลิม และชาวไทยพุทธ อยู่ร่วมกันมาช้านาน ซึ่งเรื่องราวของวัฒนธรรมจึงมีการผสมผสานกัน อาหารการกินมีความหลากหลาย มีทั้งอาหารคาวหวาน อาหารมงคลตามคติความเชื่อตามแบบชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวไทยมุสลิม และไทยพุทธ
งานเมืองเก่าครั้งนี้มีการแสดงขบวนแห่ตามประเพณีโบราณ “ขบวนขอขนม – แห่แขก (เข้าสุนัต) – กลองมาลายู” ของพี่น้องชาวไทยมุสลิมชุมชนหยงสตาร์ – ท่าข้าม ในขบวนจะประกอบเด็กชายที่จะเข้าพิธิสุนัต ที่แต่งกายในชุดตามแบบชาวมาลายู สีสันสวยงาม ร่วมขบวนแห่ร้องรำตามทำนองเพลง หรือบทกลอน ไปยังบ้านเรือนชาวบ้านเพื่อขอขนม และ เงิน ผ่านบ้านใครก็จะร้องเรียกชื่อเจ้าของบ้าน เมื่อได้รับแล้วจากเจ้าของจากเจ้าบ้านแล้ว ผู้ร่วมขบวนจะกล่าวบทกลอนอวยพร เช่น ขอให้ร่ำรวย ขอให้มีโชคลาภ ขอให้สุขภาพแข็งแรง ให้กับผู้ใหญ่ดี ตลอดการแห่ขบวนบรรยากาศจะเป็นไปอย่าวสนุกสนาน มีการโห่ร้องกล่าวบทกลอนอยู่ตลอดเวลา
ข่าวน่าสนใจ:
- คึกคัก นาย"บุ่นเล้ง" อดีตนายกอบจ.ตรัง นำทีมนายกบุ่นเล้ง สมัครครบ 30 เขต ท่ามกลางกองเชียร์คับคั่ง
- วันแรก! คึกคัก สมัครนายกอบจ.ภูเก็ต ผู้สมัครมารอก่อนเวลา กองเชียร์แห่ให้กำลังใจอย่างล้นหลาม
- รับสมัคร นายก อบจ.และ ส.อบจ.สุราษฎร์ ฯ คึกคัก
- กองเชียร์นายกก้อยคึก แม้ไม่มีคู่แข่งดีกรีพอทาบบารมีได้ ในสนามชิงนายก อบจ.แปดริ้ว
ชาวบ้านที่ร่วมขบวน บอกว่า ขบวนแห่ดังกล่าว แบ่งเป็น 3 ชุด คือ แห่ประเพณีขอขนม เป็นประเพณีสืบทอดกันมาของชาวมุสลิมชุมชนบ้านตันหยงสตาร์ ที่มีขึ้นในค่ำคืน ก่อนวันฮารีรายา (วันตรุษอีดิลฟิตตรี และวันตรุษอีดิลอัฎฮา) เนื่องจากในอดีตเมื่อใกล้ถึง วันตรุษพี่น้องมุสลิมแทบทุก ๆ บ้านจะทำขนมพื้นบ้านหลากหลายชนิด พอตกตอนพลบ ค่ำเหล่าผู้ชายในหมู่บ้านรวมตัวกันเป็นกลุ่มขบวนเดินตระเวณขอขนมไปตามบ้านต่างๆ ใน ระหว่างเคลื่อนขบวนก็มีการร้องรำทำเพลงกันเป็นที่สนุกสนานครื้นเครง
ประเพณีแห่แขก (เข้าสุนัต) การเข้าสุนัตของมุสลิมบ้านตันหยงสตาร์ ที่เป็นเอกลักษณ์ คือ ก่อนตัดแขก 1 วัน (สุนัตคือการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายในศาสนาอิสลาม) จะมีการทำบุญเลี้ยงแขก โดยในช่วงตอนเย็นจะมีการระแขก หรือแห่แขก โดยนำเด็กที่จะ ตัดมาแต่งหน้าตา สวมเสื้อผ้าตามแบบมาลายูพร้อมประดับประดาให้เด็กอย่างสวยงาม แล้วทำการแห่เป็นขบวน โดยอาจให้นั่งคล่อมคอผู้ใหญ่ นั่งบนรถยนต์ หรืออาจจะสร้างเป็น เกี้ยวคานหามซึ่งมีการประดับตกแต่งอย่างสวยงาม แล้วเคลื่อนขบวนแห่ไปตามหมู่บ้าน
ขบวนแห่กลองมาลายู เป็นวงมโหรีของชุมชนตันหยงสตาร์ที่สืบทอดมาแต่ดั้งเดิม ประกอบด้วย กลอง มาลายู ไวโอลิน หรือปี่ชวา โหม่ง กรับ ฉิ่ง ใช้สำหรับบรรเลงเพลงเดินนำหน้าขบวนในงาน ประเพณี หรืองานรื่นเริงต่าง ๆ เช่น ขบวนแห่ขันหมาก ขบวนแห่แขก ขบวนของนม
และ รองแง็งตันหยงสตาร์ เป็นศิลปะพื้นบ้านที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะทั้งความไพเราะ ของจังหวะดนตรี และท่าทางของการร่ายรำ ที่ยังคงสืบทอดมาสู่ลูกหลานจนถึงปัจจุบัน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: