คุณตาวัย 67 ปีชาวตำบลบางเป้า อ.กันตัง จ.ตรัง ตัดสินใจโค่นต้นยางพารากว่า 100 ต้นบนเนื้อที่กว่า 1 ไร่ เพื่อปลูกดอกบัวหลวง บัวสาย เก็บขายสร้างรายได้ดี
ปลูกบัวหลวง : วันนี้(21 ส.ค.2566) นายรุ่งโรจน์ เอี่ยวฉาย(โกหลี) อายุ 67 ปีเกษตรกรหมู่ที่ 1 ต.บางเป้า อ.กันตัง จ.ตรัง เคยใช้ที่ดินที่ปลูกดอกบัว ปลูกยางพารากว่า 100 ต้นบนเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ครึ่ง แต่ต้นยางพาราไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร เนื่องจากเป็นที่ราบลุ่ม เวลาฝนตกหนักจะมีน้ำไหลผ่านและมีน้ำท่วมขังตลอดทั้งปี คุณตาหลีฯ จึงพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส ด้วยการหันมาโค่นต้นยางพาราทั้งหมด
เพื่อปลูกดอกบัวหลวง บัวสายและบัวสีชมพู โดยแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งในนาบัว เลี้ยงปลาดุกไว้กินไว้ขายได้อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งคุณตาหลี ปลูกดอกบัวมาประมาณ 1 ปีแล้ว ตอนนี้ดอกบัวจึงเริ่มขยายพันธุ์และเริ่มออกดอก จนสามารถเก็บขายได้ทุกวันพระหรือทุกสัปดาห์ ราคาดอกละ 5 บาท สร้างรายได้กว่า 500 บาทต่อสัปดาห์ ส่วนวันธรรมดาก็มีลูกค้าสั่งซื้อเข้ามาทุกวัน วันละไม่ต่ำกว่า 100 บาท ซึ่งดีกว่ารายได้จากการทำสวนยางพาราบนเนื้อที่ 1 ไร่ครึ่งเป็นอย่างมาก
ซึ่งดอกบัวสาย นอกจากจะให้สีสันที่สวยงามแล้ว คุณตาหลียังเก็บสายบัวไปทำเป็นอาหารได้อีกด้วย โดยเตรียมจะปลูกดอกบัวสีชมพูเพื่อให้มีบัวหลากสีให้ลูกค้าเลือกซื้อ และสร้างสีสันให้กับนาบัวแห่งแรกในตำบลบางเป้า อ.กันตังด้วย
ข่าวน่าสนใจ:
- เปิดเวทีขยายโอกาส ยกระดับศักยภาพ SMES สู่ตลาดโลก
- ตรัง สับปะรดทอด-ข้าวเม่าทอด ดาวเด่นประจำร้านสมพร รสชาติอร่อย ราคาเป็นกันเอง
- ศุภาลัย เปิดบ้านซีรีส์ใหม่ Tropical Modern ครั้งแรก! ในสุราษฎร์ฯ ปักหมุดแบรนด์ “ปาล์มวิลล์ โกเตง” ตอบโจทย์ชีวิตติดเมือง
- จังหวัดสกลนคร คุมเข้มเตรียมพร้อมป้องกันไฟป่า-งดเผา ลดฝุ่น PM 2.5
แต่การเก็บดอกบัวของคุณตาหลีก็มีอุปสรรคอยู่บ้าง โดยเฉพาะในนาบัวซึ่งปลูกดอกบัวหลวงเอาไว้ มีระดับน้ำลึกไม่เกิน 2 เมตร พบปลิงควายขณะลงเก็บดอกบัวทุกครั้ง แต่คุณตาหลีใจสู้ เก็บดอกบัวไปขายได้ทุกครั้ง ส่วนนาบัวที่ปลูกดอกบัวสาย น้ำลึกประมาณ 4 เมตรและมีปลาธรรมชาติ จึงไม่มีปลิงควาย ซึ่งคุณตาหลีกำลังหาวิธีแปรสภาพปลิงควายเป็นเงิน ส่งขายภาคอีสานอยู่เช่นกัน
นายรุ่งโรจน์ เอี่ยวฉายหรือคุณตาหลี กล่าวว่า คิดที่จะปลูกบัวเองเพราะใจมันรัก พอเห็นดอกบัวแล้วชอบ และเชื่อว่าถ้าเอาดอกบัวไปถวายหรือไหว้พระจะได้ผลสำเร็จ มีสิ่งที่ดีเกิดขึ้นเลยปลูกบัวและเลี้ยงปลาคู่ไปด้วย โดยพื้นที่ตรงนี้เมื่อก่อนปลูกยางพารา แต่เพราะเป็นที่ลุ่มมีน้ำขังอยู่แล้ว เลยปรับมาปลูกบัว ซึ่งได้ผลดีกว่ายางพารา
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: