เชียงราย-ปัญหาของชาวเขาชาวดอย ที่ห่างไกลจากท้องตลาด แหล่งจำหน่ายเนื้อหมู มีการจัดการปัญหาแก้ไขเนื้อหมูที่เป็นพาหะนำโรคเข้าหมูบ้าน เป็นวิธีที่เด็ดขาดของชนเผ่า ที่อาศัยอยู่ตามดอย ตามเขา
วันที่ 23 ส.ค.2566 ที่หมู่บ้านแม่หม้อ ม.7 ต.เทอดไทย อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ชนเผ่าอาข่า ลาหู่ ไทใหญ่ ลีซอ อาศัยอยู่จำนวน 300 หลังคาเรือน รวมไปถึงหมู่บ้านบริวารอีก 2 หมู่บ้าน ส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่ชา และเลี้ยงหมูดำ หรือหมูดอย บ้านละ 5-20 ตัว ไว้เป็นอาชีพเสริม ก่อนหน้าการเลี้ยงหมูดำจะปล่อยเลี้ยงตามธรรมชาติ ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ ได้เข้ามาให้ความรู้ในการเลี้ยง จึงมีการเลี้ยงแบบปิด แต่ปัญหาการตายของหมูดำยังคงมีอยู่ต่อเนื่องไม่ทราบสาเหตุ ชาวบ้านจึงหาวิธีแก้ไขปัญหา
นายอธิวัตน์ ศักดิ์ธัชชัยกุล ผู้ใหญ่บ้าน กล่าวว่า การติดป้ายหน้าหมู่บ้าน ห้ามนำเนื้อหมู จากต่างหมู่บ้านมาจำหน่ายภายในหมู่บ้าน เกิดจากปัญหาที่มีหมูดำตายจากหมู่บ้านอื่น จะมีพ่อค้าหรือคนที่เลี้ยง รีบฆ่านำมาขายก่อนที่จะตายหมด ชาวบ้านที่ซื้อไปก็ไม่ทราบว่าเป็นหมูติดเชื้อ ซื้อไปทานหรือได้สัมผัส อาจจะทำให้หมูในหมู่บ้านติดเชื้อได้ จึงต้องป้องกันการนำเข้ามาขายในหมู่บ้าน จะล้มตาย ถ้ามีการล้มตาย ก็จะมีการฆ่าหมูทั้งหมู่บ้าน ซึ่งหมู่บ้านได้มีมาตรการการแก้ไขปัญหา โดยเลี้ยงแบบปิดในโรงเรือน ไม่ให้คนภายนอกเข้าไป ซึ่งหมูดำ ที่คนในหมู่บ้านเลี้ยงไว้เพื่อ จะไว้ฆ่าในพิธีกรรมต่างๆ ตามความเชื่อของชาวเผ่า ซึ่งปัจจุบันมีการซื้อขายตัวเป็นราคา กิโลกรัมละ 80-85 บาท ซึ่งผู้เลี้ยงจะได้กำไรตัวละ 1,000-1,500 บาท อยู่ที่การเลี้ยงอีกที่
ข่าวน่าสนใจ:
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: