เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 24 ส.ค.ที่ห้องสุนทรภู่ โรงแรมสตาร์ คอนเวนชั่นระยอง อ.เมือง จ.ระยอง นายกฤษ อุตตมะเวทิน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นางอุบล มากอง ผอ.สำนักงานส่งเสริมการเกษตร เขต 3 จ.ระยอง น.ส.วรนุช สีแดง เกษตรจังหวัดระยอง ร่วมแถลงข่าวประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานการบริหารจัดการผลไม้ภาคตะวันออกปี 2566ของกรมส่งเสริมการเกษตร มีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเขต 3 ระยอง และเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล อำเภอ จังหวัดจาก 9 จังหวัดภาคตะวันออก ร่วมงานแถลงข่าว ทั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งเสริม จัดระบบ วางแผนการผลิตพืชผลทางการเกษตรแก่เกษตรในแต่ละพื้นที่ให้มีผลผลิตต่อเนื่องตลอดปี ให้เป็นไปตามแผนสอดคล้องตามยุทธศาสตร์พัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ.2565-2570
นายกฤษ กล่าวว่า กรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะคณะทำงานเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้หรือ คกก.ที่ดูแลการบริหารจัดการผลไม้ไทย ซึ่งไทยเป็นประเทศที่ส่งออกผลไม้มากกว่า 57 ชนิด ไปทั่วโลก รวมไปถึงการบริโภคในประเทศด้วย สิ่งสำคัญที่กรมส่งเสริมการเกษตร ทำหน้าที่คือ การบริหารด้านการผลิตให้มีปริมาณที่เพียงพอ เหมาะสม ไม่มากและไม่น้อยเกินไป ซึ่งจะส่งผลถึงระดับราคา ขณะเดียวกันก็ต้องยกระดับเพิ่มคุณภาพและมาตรฐานเพื่อให้เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคของตลาด ซึ่งเป็นภารกิจหลักที่กรมส่งเสริมการเกษตรรับผิดชอบ นอกจากนั้นจะเป็นการบริหารเกี่ยวกับดีมานด์ซัพพลาย หรือกลไกการตลาด ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตร ก็มี คกก.จากหลายหน่วยงานที่มาร่วมช่วยกันบริหารให้เกิดความสมดุลในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน
ข่าวน่าสนใจ:
- ตร.กมลารวบ ผจก.เกสเฮ้าส์สาวติดพนันออนไลน์ ฉกเครื่องเพชร-นาฬิกาหรูนายจ้างสาวลูกครึ่ง ขาย-แพ็คส่งให้แฟนหนุ่มเก็บ
- 'โครงการสร้างโอกาสสานฝันเด็กและเยาวชน จ.ระยอง' มุ่งสร้างโอกาสทางการศึกษา
- คอหวยแห้ว เลขหางประทัดขบวนเรือหลวงพ่อโสธรไม่ปรากฏให้เสี่ยงทาย
- หลวงพี่น้ำฝนพร้อมสำนักพุทธ ตามจับสึกพระบวชแล้วไม่อยู่วัดแต่กลับมานอนบ้าน
ซึ่งสินค้าเกษตรอาจจะบริหารไม่ได้ง่ายเหมือนสินค้าอุตสาหกรรม แต่ว่าโดยเนื้อหาประเทศไทยก็มีการบริหารด้านดีมานด์กับซัพพลาย ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตร ก็ช่วยดูแล และควบคุมด้านปริมาณดีมานด์ซัพพลายให้สอดคล้องกับปริมาณสินค้าเกษตรที่ผลิตให้ตรงตามความต้องการของตลาดที่มคุณภาพ และเหมาะสม
นายกฤษ ยังกล่าวถึงการรับมือปัญหาเอลนีโญ่ที่จะกระทบภาคการเกษตรด้วยว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวใน 2 ส่วนคือ 1.เอลนีโญ่ และลานีญ่า ซึ่งไม่ใช่เรื่องใหม่ในโลก เกษตรกรไทยรับรู้ภัยแล้ง น้ำท่วมหมุนเวียนเป็นวัฏจักรตลอดมา เพียงแต่ว่าในกระแสสังคมเมืองอาจจะตกใจกับปรากฏการณ์ดังกล่าว ส่วนภาคการเกษตร ตัวเกษตรกรนั้นรับรู้ และเตรียมรับมืออยู่แล้ว พร้อมที่เผชิญกับปรากฏการณ์ดังกล่าว โดยธรรมชาติเกษตรกรจะรู้ว่าแต่ละปีจะเข้าสู่วงรอบเอลนีโญ่ หรือลานีญ่า เกษตรกรจะรู้เตรียมรับมือหาแหล่งน้ำสำรอง ขณะที่ในส่วนของกรมส่งเสริมการเกษตร ก็จะมีเจ้าหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้เกษตรกร เตรียมความพร้อมโดยเฉพาะพื้นที่ใดจำเป็นที่จะต้องระวังการใช้น้ำ ก็จะมีการเร่งสร้างการตระหนักรู้ หรือเตือนเกษตรกรให้รับรู้รับทราบ
นอกจากนี้ในเรื่องของปัจจัย แหล่งน้ำก็ต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าไว้ มีการสะสมแหล่งน้ำสำรอง มีการให้ข้อมูลแก่เกษตรกรเตรียมการสำรองน้ำ รวมไปถึงการแนะนำให้งดการปลูกพืชเกษตรที่มีการใช้น้ำสูง และส่วนที่ 2 เป็นเรื่องของการใช้น้ำภาคประชาชนที่ใช้เพื่อการอุปโภค บริโภคและภาคเกษตร ซึ่งเกษตรกรต้องใช้ หลายภาคส่วนจะต้องช่วยกันสร้างการรับรู้ของการใช้น้ำทั้ง 2 ภาคส่วน เพื่อให้สมดุลเพียงพอ และไม่ขาดแคลน กรมส่งเสริมการเกษตรก็จะช่วยในการสร้างการตระหนักใช้น้ำด้วย.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: