หลังจากที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้ประกาศเปิดรายชื่อผลคัดเลือก “1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” ปี 2566 เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์อาหาร ที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตคนไทยรวมถึงการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ รวมทั้งเสนอสาระความรู้เกี่ยวกับอาหารไทย และอาหารท้องถิ่น ต่อยอดสมุนไพรไทย สรรพคุณทางเลือกและส่งต่อเป็นภูมิปัญญาที่มีการสืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่น ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนายกระดับอาหารถิ่น สู่มรดกทางวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ความเป็นไทย (Thailand Best Local Food) “รสชาติ…ที่หายไป The Lost Taste” ประจำปี 2566 แต่ก็ทำเอาชาวเน็ตถกกันสนั่นหลายเมนู มีชื่อที่แปลกไม่คุ้นหูและไม่เคยเห็น ขณะเดียวกันก็ชาวเน็ตอีกจำนวนไม่น้อยที่ต้องการอยากลองหามาชิมสักครั้ง
จังหวัดนครพนม เมี่ยงตาสวด เป็นภาษาไทแสก แปลว่า เมี่ยงตาเหลือก เพราะมีเครื่องเคียงค่อนข้างเยอะต้องรับประทานคำใหญ่ ทำให้เวลากินแล้วจะต้องอ้าปากกว้าง ตาเหลือกอร่อยเว่อร์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ออกประกาศ เรื่องผลการคัดเลือกกิจกรรม “1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น” เมื่อวันที่ 29 ส.ค.2566 ที่ผ่านมา โดยระบุว่า ตามที่กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ได้ดำเนินการจัดกิจกรรม “1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น”
นางจารุวรรณ ราชลัย ชาวไทยเชื้อสายแสก ชุมชนบ้านอาจสามารถ ตำบลอาจสามารถ จังหวัดนครพนม หนึ่งในสมาชิกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้รับเลือกให้ เมี่ยงตาสวด เป็นเมนู 1 จังหวัด 1 เมนู เชิดชูอาหารถิ่น จากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ปี 2566 ที่ผ่าน กล่าวถึงที่มาของ เมี่ยงตาสวด ประกอบด้วยพืชผักสมุนไพรในท้องถิ่นนับ 10ชนิด ที่นิยมรับประทานกันเป็นอาหารว่างของชาวไทยแสก เมื่อมีโอกาสมาร่วมพบปะสังสรรค์ โดยเฉพาะเมื่อมีพิธีไหว้บวงสรวง เดนหวั่วโองมู้ ศาลสักการะประจำหมู่บ้านอาจสามารถของทุกปี ชาวชุมชนไทยแสกต่างพากันประกอบอาหาร เมี่ยงตาสวด นอกจากมีรสชาตที่อร่อยยังมีสรรพคุณทางยา ช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ลดความเสี่ยงของเชื้อโควิด-19 โดยมีพืชสมุนไพร อาทิเช่น ตะไคร้ หอมแดง พริกสด มะเขือเทศ ลูกมะเดื่อ ผลมะเฟื่อง ผลอ่อนกล้วยตานี แคปหมู เส้นขนมจีนและใบชะพลูที่ขาดไม่ได้ เมื่อนำเครื่องเคียงต่างๆมาห่อด้วยใบชะพลู ก็จะมีน้ำปลาร้าสูตรเด็ดเฉพาะของชาวไทยแสก โดยนำปลาร้าที่หาได้จากแม่น้ำโขงนำมาเคี่ยวกับน้ำตาลปี๊บและน้ำตาลจนข้นและแทบไม่มีกลิ่นเหม็นของปลาร้าก่อนจะปรุงด้วยพริกป่นและข้าวคั่ว เพื่อนำมาราดลงบนเมี่ยงตาสวด เมนูท้องถิ่น
ข่าวน่าสนใจ:
นางจารุวรรณ ราชลัย กล่าวต่อว่า ตั้งแต่ที่มีกระแสจากชาวเน็ตถึงเมนูเมี่ยงตาสวดหรือเมี่ยงตาเหลือก จากเป็นเมนูที่มีเครื่องเคียงหลากหลายและนำมาห่อเป็นคำโตจึงเป็นที่มาของชื่อ ขณะนี้เริ่มมีนักชิมทั้งโซเชียลและนักท่องเที่ยวติดต่อเข้ามาขอซื้อขอชิมมากขึ้นเรื่อยๆ สร้างอาชีพและรายได้ให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มเมี่ยงตาสวด
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: