นครพนม นำเจ้าแขวงคำม่วนและคณะ ทัศนศึกษางานหัตถกรรม หวังแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาต่อยอดผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่
วันที่ 8 ก.ย.66 นายชวนินทร์ วงศ์สถิตจิรกาล เปิดเผยว่า ในโอกาสที่ นายวันไซ พองสะหวัน เจ้าแขวงคำม่วน สปป.ลาว และคณะ ได้เดินทางมาประชุมคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนไทย – ลาว (จังหวัดนครพนม – แขวงคำม่วน ครั้งที่ 13 ที่จังหวัดนครพนม เพื่อร่วมกันหารือพิจารณาทบทวนความร่วมมือในการรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนไทย – ลาว ในพื้นที่จังหวัดนครพนมและแขวงคำม่วน เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งในที่ประชุมได้มีการหารือในหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น ในเรื่องของความมั่นคง การป้องกันปราบปรามยาเสพติด การค้ามนุษย์ สิ่งผิดกฎหมายต่าง ๆ แต่ที่สำคัญอีกอย่างก็คือเรื่องของการพัฒนาอาชีพของพี่น้องประชาชนทั้ง 2 ฝั่ง ซึ่งทางจังหวัดนครพนมพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ ภูมิปัญญาในด้านต่าง ๆ กับแขวงคำม่วน โดยเฉพาะในเรื่องของการทอผ้าโดยใช้สีธรรมชาติ การจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้ไปพัฒนาต่อยอดสร้างรายได้ให้ประชาชนทั้ง 2 ประเทศเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ข่าวน่าสนใจ:
- นครพนม : หมอสงค์ หมอผู้สร้าง เปิดตัวสมัครนายก อบจ.นครพนม พร้อม ส.อบจ.นครพนม
- ตำรวจนครพนมทลายขบวนการค้ายาเสพติด ยึดยาบ้า 2 ล้านเม็ด ไอซ์ 46 กก. ผู้ต้องหา 4 ราย รับจ้างข้ามชาติ
- มุกดาหาร แรลลี่ลุ่มน้ำโขง MEKONG CAR RALLY ท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดสนุก ปชส. จังหวัดทั้ง 3 รับนักท่องเที่ยวปีใหม่
- นครพนมคึกคัก! เปิดศึกเลือกตั้ง อบจ. วันแรก “ศุภพานี-ประสงค์” ชิงชัย พร้อมนโยบายพัฒนาท้องถิ่น
ดังนั้นนายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ซึ่งติดภารกิจเร่งด่วนจึงได้มอบหมายให้พาคณะเจ้าแขวงคำม่วน ไปเยี่ยมชมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการทอผ้า ที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าไหมบ้านท่าเรือ อำเภอนาหว้า ที่เป็นมรดกทางภูมิปัญญาในการมัดลาย ย้อมสีธรรมชาติและการทอผ้าสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ยายจนถึงปัจจุบัน โดยผ้าไหมบ้านท่าเรือเป็นลายดั้งเดิมที่มีเอกลักษณ์และอัตลักษณ์เฉพาะตัวมาแต่โบราณ เป็นงานหัตถกรรมพื้นบ้านที่ต้องการของตลาด ด้วยลวดลายที่มีความงดงาม มีคุณภาพระดับ OTOP 5 ดาว มีรางวัลการันตีในระดับต่าง ๆ มากกว่า 200 รางวัล โดยเฉพาะผ้าไหมลายนาคน้อย ลายตาหมากนัด (ลายสับปะรด) ลายกุญแจน้อย ลายตุ้ม และลายพระราชทาน นอกจากนี้ยังมีการผลิตเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสานทั้ง พิณ แคน ปี่และโหวด ทำให้ทุกวันนี้แต่ละครอบครัวที่เป็นสมาชิกกลุ่มมีรายได้เดือนละประมาณ 8,000 – 10,000 บาท และยังเป็นต้นแบบให้ชุมชนอื่นได้นำไปทำตาม จากนั้นเดินทางไปทัศนศึกษาเกี่ยวกับการจักสานเส้นกก กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสหกรณ์จักสานเส้นกกบ้านเหล่าพัฒนา อำเภอนาหว้า ซึ่งถือเป็นหัตถกรรมจักสานที่สร้างรายได้ให้ชุมชนได้อย่างยั่งยืน ด้วยมีการพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มทำให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มีความทันสมัย ทนทานต่อการใช้งาน แต่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ทางภูมิปัญญาไทยที่ตรงกับความต้องการของตลาด ก่อให้เกิดการรู้จัก ชื่นชอบ เชื่อมั่น และจดจำแบรนด์ผลิตภัณฑ์นำไปสู่การเป็นลูกค้าประจำที่มีทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น เสื่อกก กระเป๋า หมวก ของชำร่วย สิ่งของประดับตกแต่งบ้านเรือน และสิ่งอื่น ๆ อีกหลากหลายชนิด โดยสมาชิกแต่ละคนจะมีรายได้เฉลี่ยประมาณ 5,000 บาทต่อคนต่อเดือน ที่สำคัญยังมีเวลาในการไปทำกิจกรรมอย่างอื่นเพิ่มเติมได้อีก
ซึ่งในการทัศนศึกษาแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ ได้รับความสนใจจากคณะเจ้าแขวงคำม่วนเป็นอย่างมาก มีการสอบถามถึงประเด็นข้อสงสัยต่าง ๆ ตลอดเวลา โดยเฉพาะแนวคิดและหลักในการบริหารกลุ่มเพื่อที่จะนำไปแนะนำและบอกต่อยังประชาชนของตนเองให้ได้มีการพัฒนาทักษะความสามารถให้มากยิ่งขึ้น สามารถตอบโจทย์ความต้องการของตลาดในยุคปัจจุบัน เพราะประชาชนจังหวัดนครพนมและแขวงคำม่วน มีศิลปวัฒนธรรมและการใช้ชีวิตที่ใกล้เคียงกัน ถ้าเกิดการแลกเปลี่ยนทางภูมิปัญญาและทั้ง 2 ฝ่ายนำไปพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ของตนเองก็จะเป็นการเพิ่มความหลากหลายให้ลูกค้า เป็นการสร้างแรงดึงดูด แรงจูงใจในการจับจ่ายซื้อหาผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะก่อเกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้ให้กับประชาชนทั้ง 2 ประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคตอย่างแน่นอน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: