ที่เขื่อนทดน้ำผาจุก นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านการบริหารจัดการน้ำ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ การบริหารจัดการน้ำ ติดตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2566 เพื่อรองรับสถานการณ์เอลนีโญ ในส่วนของพื้นที่ลุ่มน้ำน่าน ตามแหล่งเก็บกักน้ำ ทั้งเขื่อนทอน้ำผาจุก น้ำห้วยน้ำรี และโดยเฉพาะเขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนดินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ สามารถเก็บกักน้ำ
นายชยันต์ กล่าวว่า แม้ในระยะนี้ฝนตกอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่ได้หมายความว่าปริมารณน้ำที่เก็บกักตามอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่จะมีปริมาณเพิ่มสูง จากการายงานพบว่า ปริมาณฝนสะสมทั้งประเทศตั้งแต่ 1 ม.ค. 66 ถึงปัจจุบัน น้อยกว่าค่าปกติ ร้อยละ 16 และในพื้นที่ภาคเหนือน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 25 ส่งผลสถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรี ความจุเก็บกัก 73.7 ล้านลูกบาศก์เมตร ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ 24.16 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 32.78% เขื่อนสิริกิติ์ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำคัญในลุ่มน้ำน่าน ล่าสุดมีปริมาณน้ำเก็บกัก 4,890 ล้าน ลบ.ม. ร้อยละ 51% เป็นปริมาณน้ำใช้การ 2,040 ล้าน ลบ.ม. ร้อยละ 31% ซึ่งมีปริมาณน้ำน้อยกว่า ปี 2565 จำนวน 894 ล้าน ลบ.ม.
จากการตรวจสอบพื้นที่ จ.อุตรดิตถ์ พบพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำด้านการเกษตร จำนวน 4 ตำบล ได้แก่ ต.วังแดง อ.ตรอน , ต.ท่าสัก ต.ท่ามะเฟือง ต.นาอิน อ.พิชัย และ พบพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งจากปริมาณน้ำฝนน้อย 48 ตำบล 9 อำเภอ ทั้งนี้ ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการมาตรการรับมือฤดูฝนปี 66 และ มาตรการเพิ่มเติมเพื่อรองรับสถานการณ์เอลนีโญ อย่างเคร่งครัด เตรียมแผนเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนให้ทันกับสถานการณ์ “ปี 65 น้ำในห้วงเวลานี้ตามแหล่งเก็บกักน้ำสำคัญๆ มีปริมาณน้ำมากกว่า ทั้งเขื่อนสิริกิติ์และเขื่อนภูมิพล สทนช.จึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแผนรับมือจนถึงปี 2568 เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในระยะยาว ที่มีความเป็นห่วงคือ จากที่ราคาข้าวสูง จึงได้มีการขอความร่วมมือชะลอการขยายพื้นที่ทำนาทั้งในเขตและนอกเขตชลประทาน หวั่นเกิดความเสียหาย ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำผังน้ำก่อให้เกิดประโยชน์ทำให้ทราบถึงเส้นทางน้ำ รูปตัดลำน้ำ ติดตามการระบายน้ำและสิ่งกีดขวางทางน้ำ เป็นต้น นอกจากนี้ ผังน้ำยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยตัดสินใจในการสร้างที่อยู่อาศัย โรงงาน นิคมอุตสาหกรรม ไม่ให้อยู่ในพื้นที่น้ำหลากหรือกีดขวางทางระบายน้ำ
รวมถึงเสนอแนะการใช้ประโยชน์ที่ดินในขอบเขตพื้นที่ตามระบบทางน้ำที่ได้กำหนดแนวเขตไว้ โดยผังน้ำจะกำหนดขอบเขตชัดเจนว่า บริเวณใดเป็นพื้นที่สงวนไว้ให้ทางน้ำโดยเฉพาะ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ขณะนี้การจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำน่าน ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ และได้นำไปรับฟังความคิดเห็นเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 5 และ 7 กันยายน 2566 พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียในเขตผังน้ำมีสิทธิเสนอข้อสอบถาม ข้อเสนอแนะ และข้อคิดเห็นต่อผังน้ำและรายการประกอบผังดังกล่าว โดยให้ทำเป็นหนังสือ หรือผ่านช่องทางออนไลน์ได้ www.onwr.go.th”รองเลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: