X

“มาแต่ตรัง” ทกจ.ตรังทุ่ม 8 ล้าน ขับเคลื่อนเมือง เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์ ย้อนรอย “คลองห้วยยาง” ต้นธารการค้าพหุวัฒนธรรมทับเที่ยง

“มาแต่ตรัง…” ทกจ.ตรังทุ่ม 8 ล้าน ขัง-“มาแต่ตรัง…” ทกจ.ตรังทุ่ม 8 ล้าน ขับเคลื่อนเมือง เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์-เมืองเก่าอันดามัน 22-26 พ.ย.นี้ ย้อนรอย “คลองห้วยยาง” ต้นกำเนินการค้าเมืองพหุวัฒนธรรมทับเที่ยง เปิดพื้นที่ คนรุ่นใหม่ปล่อยของ มหกรรม Exhibition & art installation แลหนังที่วิกเพชรรามา ชมงาน Creative spaceที่ รพ.เก่าตรังชาตะ เปิดตลาด Creative market นำเที่ยวแบบใหม่ชมความงามสถาปัตยกรรมเมืองเก่า Old town Tour ผวจ.ตรัง เผยข่าวดี ผลสำรวจเจ้าของอาคาร-พื้นที่ ยินดีจัดโซนท่องเที่ยว “เมืองเก่าทับเที่ยง” โยนลูก ทน.ตรัง รับออกแบบดำเนินการต่อ

ตรัง “มาแต่ตรัง…” เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์ Creative tourism festival ภายใต้ โครงการยกระดับและพัฒนาด้านการท่องเที่ยวคุณภาพสูงฝั่งอันดามัน (Premium Tourism Andaman) กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองเก่าอันดามัน ทั้งนี้ เมื่อเอ่ยถึง “ตรัง” สิ่งที่คนจะคิดถึงอย่างแรก ๆ ต้องมีทะเลและหมูย่างเมืองตรัง แต่น้อยคนนักที่คิดถึงการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วเมืองเก่าตรังมีประวัติศาสตร์ยาวนาน มีสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมจำนวนมากที่มีศักยภาพในการต่อยอดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้ หากแต่เมืองเก่ายังไม่ถูกสร้างการรับรู้และใช้โอกาสจากการเป็นแหล่งท่องเที่ยว ดึงดูดให้คนแวะพักเยี่ยมเยือน ใช้มรดกวัฒนธรรมนี้มาสร้างประโยชน์ให้กับเมืองได้ยิ่งขึ้น

เมื่อวันที่ 21 กันยายน ที่มูลนิธิกุศลสถานตรัง ริมคลองห้วยยาง ภายในเขตเทศบาลนครตรัง สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง (ทกจ.ตรัง) จัดแถลงข่าวงาน “มาแต่ตรัง..” เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์ Creative tourism festival กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวภายใต้โครงการยกระดับและพัฒนาด้านการท่องเที่ยวคุณภาพสูงฝั่งอันดามัน (Premium Tourism Andaman) เพื่อสร้างโอกาสและเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นย่านเมืองเก่าตรัง โดยการนำเสนอสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมของดีของจังหวัด ดึงกลุ่มคน ท้องถิ่น ผู้ประกอบการและชุมชน มาร่วมกันสร้างสรรค์ ทำให้เมืองเก่าตรังซึ่งนอกจากเป็นเมืองค้าขายที่ตอบสนองวิถีของคนในพื้นที่แล้ว ยังสามารถรองรับคนนอกพื้นที่ที่เข้ามาท่องเที่ยวทางทะเลในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ให้มาเรียนรู้มิติวัฒนธรรมของเมืองเก่าได้

ภายในงานแถลงข่าวมีการจัดเสวนาหัวข้อ “เมืองเก่าทับเที่ยง ย่านสร้างสรรค์” โดยน.ส.อรัญญา ทองโอ ตัวแทนกลุ่ม Backyard นายวรพงศ์ เชาว์ชูเวชช ตัวแทนตรังชาตะ นายจิรวัฒน์ วิระพรสวรรค์ ตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบการ YEC และผศ.ดร.สิงหนาท แสงสีหนาท ตัวแทนศูนย์มิตรเมือง (Urban Ally) ในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และความคาดหวังในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ โดยมีสื่อมวลชน และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมงานมากมาย อาทิ นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง นางสาวเพ็ญศิริรัตน์ อาจทวีกุล ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง และ นายนิวรณ์ แสงวิสุทธิ์ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลนครตรัง เป็นต้น

กิจกรรมภายในงาน “มาแต่ตรัง..” เทศกาลท่องเที่ยวสร้างสรรค์ Creative tourismFestival จะมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 22-26 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10.00- 21.00 น. ที่คลองห้วยยาง ย่านเมืองเก่าทับเที่ยง มีกิจกรรมหลากหลายตลอดทั้ง 5 วัน ตัวอย่างกิจกรรมไฮไลต์ ได้แก่ การจัดแสดงแสงสีและเปิดพื้นที่ให้ผู้คนได้เข้ามาทำกิจกรรมในพื้นที่คริสตจักรตรัง มูลนิธิกุศสถานตรัง และริมคลองห้วยยาง นิทรรศการภาพถ่ายโรงหนังและศิลปะจัดวาง (Exhibition & art installation) ที่โรงภาพยนตร์เพชรรามาซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์แบบสแตนด์อะโลนเห่าที่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในตรัง และคลองห้วยยาง เปิดพื้นที่เรียนรู้ทดลองสร้างสรรค์ (Creative space) ณ โรงพยาบาลเก่าตรังชาตะ เปิดพื้นที่พักผ่อน ณ สวนหย่อมริมคลองห้วยยาง(Pocket park) ชมตลาดอาหารงานสร้างสรรค์และผลิตภัณฑ์ (Creative market) ณ มูลนิธิกุศลสถาน มีกิจกรรมสาธิตอาหารแนวใหม่ และกิจกรรมพาชมย่านเมืองเก่า (Old town Tour) ทั้งนี้เมืองเก่า “ทับเที่ยง” เป็นเมืองค้าขาย ศูนย์กลางย่านพาณิชยกรรมเก่าแก่ของเมือง ขยายตัวจากการขนสั่งสินค้าจากท่าเรือกันตังกระจายสู่ภูมิภาค ซึ่งมีร่องรอยเอกลักษณ์ด้านสถาปัตยกรรมแบบ บ้านร้านค้า (Shophouse) และสถานที่สำคัญทางศาสนาที่สะท้อนความเป็นพหุวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ ตรังได้ชื่อว่าเป็นเมืองอาหาร 9 มื้อ เพราะเมืองตอบสนองต่อวิถีชีวิตของกลุ่มคนที่หลากหลายผ่านกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ ทั้งพ่อค้า ชาวสวนยางและคนทั่วไป ที่ใช้เวลาในเมืองแตกต่างกันตั้งแต่เช้าจรดเย็น ดังนั้น เมืองที่พร้อมรับวิถีชีวิตคนที่หลากหลาย ย่อมมีศักยภาพเป็นพื้นที่รองรับความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มหลักที่เข้ามาท่องเที่ยวทางทะเล หรือนักท่องเที่ยวเทศกาล ที่เข้ามายังกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน

สำหรับงานในครั้งนี้ ดาดว่าจะทำให้เกิดเครือข่ายกลุ่มนักสร้างสรรค์และและกลไกการทำงานร่วมกัน มีแผนที่ท่องเที่ยวย่านเมืองเก่าตรัง เกิดเป็นพื้นที่สร้างสรรค์แห่งใหม่ของตรัง มีพื้นที่นั่งเล่นสร้างสรรค์กลางเมืองเก่าทับเที่ยง ได้บันทึกเรื่องราว รากเหง้าทางวัฒนธรรมของสินทรัพย์ในพื้นที่เมืองตรัง ธุรกิจในย่านเมืองเท่าได้รายได้เพิ่มขึ้นระหว่างเทศกาล เกิดการต่อยอดธุรกิจใหม่ และมีการรับรู้ กิจกรรมการท่องเที่ยวเมืองเก่าตรังในวงกว้าง

นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของงานในครั้งนี้ว่า จัดขึ้นเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในพื้นที่เมืองเก่าตรัง โดยใช้กิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือ ในการสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจและกระตุ้นเศรษฐกิจในเขตเมืองเก่าตรัง เป็นหมุดหมายสำคัญในการขับเคลื่อนย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ในเครือข่ายย่านสร้างสรรค์ประเทศไทย (TCDN) เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและสร้างประสบการณ์ใหม่กับคนตรังและกลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน ผ่านกรอบแนวคิด เศรษฐกิจสร้างสรรค์และสอดคล้องกับเทรนด์การท่องเที่ยวของประเทศ

ทั้งนี้จังหวัดตรังมีศักยภาพในการท่องเที่ยวเรารู้กันว่ามีแหล่งท่องเที่ยวที่สวยงาม และเรามีเมืองเก่า มีโบราณสถาน มีสถาปัตยกรรม มีวิถีของชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณีพื้นถิ่นที่มีสตอรี่ที่เป็นของเก่า ซึ่งสามารถนำมาเป็นจุดขายในเรื่องของการท่องเที่ยวเมืองเก่าได้ แล้วเราได้มีการกำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพ ที่อยู่ในชุมชนเมืองเก่าทับเที่ยง ในอำเภอเมืองตรัง ซึ่งเราได้จับมือกับทางเทศบาลนครตรัง ในการพัฒนาคลองห้วยยางและสถานที่รอบข้างๆ โดยในส่วนของสถาปัตยกรรมเมืองเก่าเป็นจุดแรกที่เราจะพัฒนา ถือเป็นการเริ่มต้นที่ได้รับความร่วมมือจากสำนักส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์(CEA)เข้ามาช่วยในการพัฒนา

นายขจรศักดิ์กล่าวอีกว่า นอกจากนี้จังหวัดตรังมีสนามบิน ที่จะได้รับการพัฒนาเป็นสนามบินนานาชาติ ที่มีรันเวย์มาตรฐาน 2,900 กว่าเมตร จะเสร็จในปี 2558 เราได้มีการเตรียมความพร้อมล่วงหน้า ซึ่งมีการประชุมเตรียมความพร้อมของภาครัฐและเอกชน เตรียมด่านตรวจคนเข้าเมือง เตรียมเรื่องของปตท.จัดเรื่องการเติมน้ำมันเครื่องบินเพื่อรองรับเป็นไฟล์ทบินต่างประเทศแบบเหมาลำ และเรามีอาหารพื้นถิ่นที่อร่อยอยู่แล้ว ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวมีพร้อมอยู่แล้ว ถ้ามาท่องเที่ยวเมืองเก่าที่ตรังแล้วจะทำให้นักท่องเที่ยวได้ทั้งในเรื่องของสุขภาพและท่องเที่ยวแหล่งธรรมชาติด้วย สิ่งเหล่านี้จะมีการบูรณาการในเชิงการท่องเที่ยวของพหุวัฒนธรรม

“เทรนด์การท่องเที่ยวตรังในพื้นที่ต่าง ๆ ก็อยากเชิญชวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นชาวจีนหรือยุโรป ให้เข้ามาเที่ยว ให้รู้จักจังหวัดตรังมากขึ้น จะประทับใจแน่นอน เพราะจังหวัดตรังไม่ได้มีแค่หมูย่าง เรามีสถิติสูงสุดคือปี 2562 นักท่องเที่ยวเข้ามาประมาณ 1,500,000 คน เป็นรายได้ประมาณ 9,000 กว่าล้านบาท เราคาดหวังว่าปีนี้ขอให้เท่ากับปี 2562”ผู้ว่าฯตรังระบุ

นายขจรศักดิ์กล่าวถึงแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่เขตเมืองเก่าทับเที่ยง 1.9 ตารางกิโลกเมตร ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ ว่า เรามีการพูดคุยและสำรวจ ทาง CEA ก็สำรวจ ทางเทศบาลนครตรัง ชุมชนทับเที่ยง โดยเฉพาะคนที่เป็นเจ้าของอาคารเก่าที่มีอายุมากกว่า 100 ปี เขาให้ความร่วมมือ ยินดีที่จะให้ใช้อาคาร เพื่อจัดโซน หรือ เป็นย่านเมืองเก่า ถือว่าเป็นเรื่องดี คนตรังรักที่อนุรักษ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองเก่า ซึ่งเราได้จัดตั้งงบเป็นสารตั้งต้นในการจัดงานครั้งนี้ประมาณ 8 ล้านบาท เพื่อพัฒนาคลองห้วยยางและจุดที่เป็นแลนด์มาร์ค ตอนนี้การดีไซน์ออกแบบย่านเมืองเก่า ทางเทศบาลนครตรังรับช่วงต่อไป เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเองมีงบประมาณในการสนับสนุนก็จะเกิดเหตุผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ในความสำเร็จที่ทุกภาคส่วนจะต้องเคลื่อนกันหมด

ด้านนางสาวเพ็ญศิริรัตน์ อาจทวีกุล ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง กล่าวว่า สำหรับบริเวณเขตเมืองเก่าตรัง ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง เนื้อที่ประมาณ 1.91 ตารางกิโลเมตร หรือ 1,192.95 ไร่ และขอบเขตพื้นที่ต่อเนื่อง อีกประมาณ 4.05 ตารางกิโลเมตร หรือ 2,528.92 ไร่ โดยองค์ประกอบสำคัญของเมืองส่วนใหญ่กระจุกตัวหนาแน่นอยู่ในบริเวณใจกลางเมือง ซึ่งเป็นย่านศูนย์กลางพาณิชยกรรมเก่าแก่ของเมือง หรือเกาะเมืองทับเที่ยงเป็นหลัก องค์ประกอบเมืองที่สำคัญ ประกอบด้วย หอนาฬิกา สถานีรถไฟ และวิหารคริสตจักรตรัง เป็นต้น

การจัดกิจกรรมครั้งนี้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในเขตเมืองเก่าตรัง โดยใช้การส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือ และเพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้แก่เมืองเก่าตรัง โดยใช้อิทธิพลทางวัฒนธรรม (Soft Power) ตลอดจนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวและบริการ รวมทั้งกระจายรายได้สู่เศรษฐกิจฐานรากในเขตเมืองเก่าตรัง

ด้านนางสาวพันธิตรา สินพิบูลย์ ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA กล่าวว่า CEA มีภารกิจ มีโครงการ เครือข่ายย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ประเทศไทย ซึ่งมีเครือข่ายทั้งหมด 33 จังหวัดทั่วประเทศ รวมจังหวัดตรังด้วย และตรังไปเร็วกว่าจังหวัดอื่น ซึ่งโครงการเริ่มเมื่อปี 2563

เนื่องจากว่ามีนักสร้างสรรค์ในพื้นที่ มีพื้นที่สร้างสรรค์ มีสินทรัพย์ มีหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งต้องบอกว่าไม่ได้เป็นทุกจังหวัดที่หน่วยงานเห็นความสำคัญของการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ CEA เราเป็นเหมือนพี่เลี้ยงเป็นตัวสนับสนุนด้วยการเอาประสบการณ์ที่เราทำกับกรุงเทพฯ ย่านเจริญกรุง ตลาดน้อย เชียงใหม่ และขอนแก่น สำหรับจังหวัดตรังเรามี 2 ย่านที่เป็นย่านต้นแบบ คือ ย่านเมืองเก่าทับเที่ยง และย่านกันตัง เพื่อให้เห็นถึงกระบวนการการทำงาน และดีใจมากที่ตรังลงตัวมาก อย่างที่ผ่านมางาน “เถตรัง” ที่จัดขึ้นที่โรงพยาบาลเก่าตรังชาตะ เกิดจากคนรุ่นใหม่ร่วมตัวกันขึ้นมา เช่น นำไม้เทพธาโร ผ้าทอนาหมื่นศรีมาถ่ายทอดผ่านอาคารเก่าให้มีคุณค่า และเรามาเจอกับคลองห้วยยาง ถ้าเราทำทุกอย่างให้น่าอยู่ จะมีคนเข้ามาเที่ยว เมื่อคลองห้วยยางต่อไปเดินได้แล้ว เสร็จอาหารเช้า มีดนตรีเบาๆ มีพื้นที่ในการสร้างสรรค์ งานสร้างสรรค์จะไม่รู้จบ นี่คือแนวทางของCEA

“เพราะเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็น แนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ การศึกษา การสร้างสรรค์งาน และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา ที่เชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรม การสั่งสมความรู้ของสังคม และเทคโนโลยีนวัตกรรม สมัยใหม่ ” นางสาวพันธิตรา กล่าว

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน