รมช.ไชยา สั่งด่วนกรมฝนหลวงฯ เติมน้ำในเขื่อนอย่างเต็มอิ่มก่อนหมดฤดูฝนพร้อมรับมือเอลนีโญ
นครสวรรค์-นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและมอบโยบายการดำเนินงานให้แก่กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ณ ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคกลาง สนามบินนครสวรรค์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ โดยมีนางสาวชุติมา เสชัง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์และหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ร่วมต้อนรับ
ข่าวน่าสนใจ:
- ประเดิม 10 วันอันตรายแปดริ้ว ยักษ์โหม่งยักษ์ดับ 1 คามอเตอร์เวย์สาย 7
- ผู้ต้องสงสัยคดีคาร์บอมขัดขืน ดึงพวงมาลัยจนรถเสียหลักพุ่งชนคอสะพานยับ ทหารตาย 1 เจ็บ 3 ส่วนคนร้ายหนีเข้าป่า
- เด็กไทยเจ๋ง! วิทยาลัยเทคนิคคูเมือง บุรีรัมย์ คว้าแชมป์หุ่นยนต์ยุวชนโลก คว้า 2 ทอง-โล่ชนะเลิศ
- สืบสวนบางพลีโชว์ผลงานตามรวบอดีตช่างกุญแจผันตัวเป็นโจรใช้ความรู้ที่มีทำกุญแจรีโมทขโมย จยย.หรู
นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่นายกรัฐมนตรีมีความห่วงใยเกษตรกรและพี่น้องประชาชนในเรื่องสถานการณ์น้ำทั้งน้ำท่วมและภัยแล้ง ซึ่งได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังทุกพื้นที่เสี่ยง และกำชับให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ติดตามพื้นที่ฝนต่ำกว่าปกติ จากภาวะเอลนีโญ เพื่อช่วยเหลือให้ทันท่วงทีและเกิดผลกระทบต่อประชาชนน้อยที่สุด และจากสถานการณ์ปริมาณน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศขณะนี้พบว่า มีเขื่อนและอ่างเก็บน้ำหลายแห่งที่มีปริมาณน้ำเก็บกักต่ำกว่า 50% ประกอบกับจากการคาดการณ์สถานการณ์เอลนีโญที่จะส่งผลกระทบไปจนถึงกลางปี 2567 ทำให้ต้องเฝ้าระวังและเตรียมรับมือกับปัญหาภัยแล้งที่อาจเกิดขึ้นได้ จึงได้สั่งการให้ทางกรมฝนหลวงและการบินเกษตรประสานงานกับกรมชลประทาน ติดตามข้อมูลปริมาณน้ำและความต้องการของแต่ละเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ เร่งปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเก็บกักน้ำให้ได้มากที่สุดก่อนหมดฤดูฝน และติดตามสภาพอากาศอย่างต่อเนื่องทุกวันเพื่อวางแผนปฏิบัติการฝนหลวงให้เหมาะสม ทั้งนี้ กำชับให้ระวังและหลีกเลี่ยงพื้นที่ประสบปัญหาอุทกภัยด้วย เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบแก่พื้นที่การเกษตรและประชาชน
ด้านนายสุพิศ พิทักษ์ธรรม อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ขานรับนโยบายการดำเนินการดังกล่าว โดยสั่งให้ 11 หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงทั่วทุกภูมิภาค ระดมกำลังปฏิบัติการฝนหลวงบูรณาการทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่ เพื่อช่วยเหลือพื้นที่เป้าหมาย ทั้งเขื่อน อ่างเก็บน้ำ หรือพื้นที่การเกษตรบางชนิดที่ยังต้องการน้ำก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตในช่วงเดือนพฤศจิกายน สำหรับพื้นที่ในภาคกลาง
ทั้งนี้ ในส่วนของผลปฏิบัติการฝนหลวงตั้งแต่เริ่มตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงในปี 2566 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 25 กันยายน 2566 มีการขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 175 วัน 3,795 เที่ยวบิน มีรายงานฝนตก 67 จังหวัด มีพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติการฝนหลวง 191.38 ล้านไร่ มีฝนตกในพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ 266 แห่ง (เขื่อนขนาดใหญ่ 34 แห่ง เขื่อนขนาดกลางและขนาดเล็ก 232 แห่ง) ปริมาณน้ำสะสม 523.29 ล้าน ลบ.ม. อย่างไรก็ตาม กรมฝนหลวงฯ ยังคงปฏิบัติการฝนหลวงต่อเนื่องทุกวันไม่มีวันหยุด โดยประชาชน พี่น้องเกษตรกร สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารแจ้งความต้องการน้ำเพื่อขอรับบริการฝนหลวงได้เป็นประจำทุกวันที่
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: