จังหวัดระนองจัดแสดงโขนรามเกียรติ์ ในงานประเพณีลอยกระทง ปี 2566
ณ บริเวณเวทีกลาง ลานอเนกประสงค์เทศบาลเมืองระนอง ได้จัดให้มีการแสดงโขนรามเกียรติ์ ตอน กลลวงมารีศ ยุทธวิธีรามา อสุราอย่าศึก ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมวัฒนะรรม กระทรวงวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทย อันมีมาตั้งแต่โบราณกาล อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดระนอง ในงานประเพณีลอยกระทง ประจำปี 2566 โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ นายกเทศมนตรีเมืองระนอง ภาคเอกชน ประชาชนและนักท่องเที่ยวร่วมรับชมจำนวนมาก
ข่าวน่าสนใจ:
สำหรับโขนเป็นนาฏศิลป์ชั้นสูงของไทย มีกำเนิดมาตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ในชั้นเดิมปรับปรุงจากการเล่น 3 ประเภท คือ หนังใหญ่ ชักนาคดึกดำบรรพ์ และกระบี่ กระบอง ได้ปรับปรุงแก้ไขให้ประณีตตามลำดับ แต่เดิมนั้นผู้แสดงโขนจะต้องสวมหัวโขน เปิดหน้าทั้งหมด จึงต้องมีผู้พูดแทนเรียกว่าผู้พากษ์ -เจราจา ต่อมาได้ปรับปรุงให้ผู้แสดง ซึ่งเป็นตัวเทพบุตร เทพธิดา และมนุษย์ชาย หญิง สวมแต่เครื่องประดับไม่ต้องเปิดหน้าทั้งหมด เครื่องประดับศรีษะ ได้แก่ ชฎา มงกุฎ รัดเกล้า กระบังหน้า ซึ่งมีศัพท์เรีกยกว่า ศิราภรณ์ แต่ผู้แสดงโขนที่สวมศิราภรณ์เหล่านี้ ก็ยังคงรักษาประเพณีเดิมไว้ คือ ไม่ต้องพูดเอง ต้องมีผุ้พากษ์
สำหรับการจัดงานประเพณีลอยกระทงจังหวัดระนอง ประจำปี 2566 เริ่มตั้งแต่วันที่ 19-28 พฤศจิกายน 2566 ณ ลานอเนกประสงค์หน้าเทศบาลเมืองระนอง .
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: