X

กฟผ. ค้นพบ ‘ค้างคาวหายาก-อนุรักษ์นกแก้วโม่ง’

กรุงเทพฯ – กฟผ. ร่วมนำเสนอผลงาน โครงการปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วม การค้นพบค้างคาวหายากที่เขื่อนรัชชประภา และการอนุรักษ์นกแก้วโม่งที่บางกรวย พร้อมร่วมบรรยายภารกิจสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ควบคู่การดูแลสังคม สิ่งแวดล้อม ในการประชุมวิชาการนานาชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ปี 2566

นายธวัชชัย สำราญวานิช ผู้ช่วยผู้ว่าการแผนงานโรงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมบรรยายในการ ประชุมวิชาการนานาชาติด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ปี 2566 (International Conference on Biodiversity : IBD2023) เวทีระดับนานาชาติ ในการแสดงพลังความร่วมมือด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และยกระดับความสามารถของนักวิจัยไทย ในการวิจัย การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสร้างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 ณ สวนหลวง ร.๙ กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติกว่า 600 คน

นายธวัชชัย สำราญวานิช นำเสนอบทบาทของ กฟผ. ที่ตระหนักถึงสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของโลกปัจจุบัน ในหัวข้อ ‘The Role of EGAT towards Climate Change and Biodiversity Targets : บทบาทของ กฟผ. เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพ’ โดยระบุว่า

กฟผ. มีภารกิจหลักในการผลิตไฟฟ้า เพื่อรักษาความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย ควบคู่กับการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านกลยุทธ์ Triple S : Source Transformation การจัดการตั้งแต่ต้นกำเนิด Sink Co-Creation การเพิ่มปริมาณการดูดซับกักเก็บคาร์บอน Support Measures Mechanism กลไกการสนับสนุนโครงการชดเชยและหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นรูปธรรม เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050

พร้อมทั้งดำเนินงานอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่รอบเขื่อนและโรงไฟฟ้าของ กฟผ. อย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ค้นพบและอนุรักษ์พันธุ์พืชที่สำคัญ เช่น ต้นเทียนสิรินธร ซึ่งเป็นพืชถิ่นเดียวบริเวณเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี การส่งเสริมการอนุรักษ์นกแก้วโม่ง สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ของประเทศไทย การค้นพบค้างคาวหายากในพื้นที่เขื่อนรัชชประภา การติดตามและเฝ้าระวังหญ้าทะเลและพะยูนบริเวณพื้นที่ทะเลอันดามัน จ.กระบี่ และโครงการปะการังเทียมจากลูกถ้วยฉนวนไฟฟ้า โดยร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ กฟผ. ยังคงค้นหาเทคโนโลยีใหม่ เพื่อบรรลุความท้าทายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ควบคู่ไปกับการรักษาความมั่นคงทางพลังงานไฟฟ้าเพื่อความสุขของคนไทยอย่างยั่งยืน 

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of ลักขณา สุริยงค์

ลักขณา สุริยงค์

ทำหน้าที่สื่อมวลชนมาเกือบ 30 ปี ทั้งงานสายข่าวและจัดรายการทีวี-วิทยุมานับไม่ถ้วน "ไม่เป็นกลาง แต่เป็นธรรม พร้อมนำเสนอความจริง"