iWind คว้ารางวัล “ESQR’s Quality Achievements Award 2023 in the GOLD CATEGORY” จากการประเมินโดยสถาบัน European Society for Quality Research (ESQR) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างงานการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติครั้งที่ 28 หรือ COP28 ที่นครดูไบของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยรางวัลดังกล่าวเป็นรางวัลเชิดชูเกียรติ เครื่องหมายการรับรองความเป็นเลิศทางด้านคุณภาพการดำเนินงานของบริษัท การเป็นองค์กรต้นแบบของการดำเนินธุรกิจที่ดีตามเกณฑ์มาตรฐานและมีคุณภาพ รวมถึงการบริหารงานตามแบบอย่างว่าด้วยองค์กรสู่ความเป็นเลิศตามมาตรฐานสากล ซึ่งรางวัลดังกล่าวเป็นรางวัลอันทรงเกียรติระดับโลกที่มีมายาวนานกว่า 47 ปี และได้รับการยอมรับจากบริษัท องค์กรชั้นนำทั่วโลก เป็นการยกระดับสู่การเป็นองค์กรที่มีคุณภาพตามหลักสากล
iWind ตระหนักถึงการบริหารงานและการจัดการองค์กรอย่างเป็นระบบ โดยใช้มาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพ (QMS) ISO 9001 iWind คำนึงถึงความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก โดยใช้มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001) เราใช้มาตรฐานสากลที่ให้ข้อกำหนดสำหรับระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ด้วยจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีแก่ลูกจ้างและบุคลากรอื่น ๆ (ISO 45001) และ iWind ทำให้เห็นว่าเป็นองค์กรที่มีความโดดเด่นด้านปฏิบัติการบริหารคุณภาพ เรามีทีมงานพร้อมที่จะให้บริการด้านการบำรุงรักษา ซ่อมบำรุงกังหันลม ตลอดจนการออกแบบโครงการกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า ที่มีความชำนาญและประสบการณ์ ด้วยอุปกรณ์คุณภาพที่ทันสมัย
โดย บริษัทฯ ยังคงเป็นผู้บุกเบิกและริเริ่มพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าจากพลังงานลมอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ใหม่ๆ ที่มีศักยภาพในหลายภูมิภาค ดร.สุเมธ สุทธภักติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท iWind ได้ให้ข้อมูลว่าผลการพิจารณารางวัลดังกล่าวจะเป็นบรรทัดฐานให้บริษัทฯ คงไว้ซึ่งความเป็นมืออาชีพ ตลอดจนการไม่หยุดนิ่งและพัฒนาไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง และจะช่วยสนับสนุนงานขององค์กรที่ขณะนี้อยู่ในระหว่างการขยายกรอบการพัฒนาโครงการกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าไปยังต่างประเทศมากกว่า 4,500 MW สร้างความมั่นใจให้แก่กลุ่มลูกค้าและกลุ่มนักลงทุนในระดับสากล ทำให้ iWind สามารถต่อยอดธุรกิจและขยายบริการไปยังหลายประเทศ อีกทั้งเป็นการตอกย้ำความมั่นใจให้แก่ชุมชนโดยรอบโครงการต่างๆ ว่าเราจะคงไว้ซึ่งบริการและคุณภาพของการบำรุงรักษาด้านการผลิตไฟฟ้าควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม เราจะมุ่งพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งความใส่ใจในการดูแลชุมชนอย่างยั่งยืนตลอดไป
สำหรับอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนจากพลังงานลมนั้น ดร.สุเมธ สุทธภักติ ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในปี 2566 นี้ถือเป็นปีสำคัญที่โลกจะต้องบันทึกไว้ ว่ามนุษย์โลกเรามีการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมทะลุถึง 1 ล้านเมกะวัตต์ เป็นที่เรียบร้อย โดยมนุษย์โลกเราใช้เวลากว่า 40 ปี เพื่อเดินมาถึงจุดนี้ หากแต่ความท้าทายจากนี้คืออีก 1 ล้านเมกะวัตต์ถัดไป เรามีเป้าหมายที่จะต้องไปแตะที่ 2 ล้านเมกะวัตต์จากนี้ไปในอีก 10 ปี หมายความว่า โดยเฉลี่ยแล้วจะต้องมีกังหันลมติดตั้งปีละไม่ต่ำกว่า 1 แสนเมกะวัตต์ ซึ่งในปี 2566 นี้ก็มีตัวเลขติดตั้งไปกว่า 120,000 กว่าเมกะวัตต์เป็นที่เรียบร้อย นับว่าจากนี้ไปการพัฒนาโครงการกังหันลมจะเข้มข้นและเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมท้าทายให้กลุ่มนักลงทุนไทยได้เข้าไปร่วมกันสนับสนุนตามวาระใหม่ของโลกเราอีกต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: