กรุงทพฯ – ม็อบหนุ่ม-สาวโรงงาน 3 บริษัท รวมพลจี้รัฐบาลเศรษฐา-กระทรวงแรงงานอนุมัติเงินชดเชยเหตุโรงงานเลิกจ้าง และดำเนินคดีนายจ้างต่างชาติ
วันที่ 21 ธันวาคม 2566 เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน คนงานบอดี้แฟชั่น เอเอ็มซี สปึนนิ่ง และแอลฟ่า กว่า 100 คน เดินขบวนจากบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปยังกระทรวงแรงงาน เพื่อเรียกร้องรัฐบาล และนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ให้ติดตามและแก้ปัญหา
เนื่องจาก บริษัท บอดี้แฟชั่น ผู้ผลิตชุดชั้นในชื่อดังระดับโลก ปิดกิจการ เลิกจ้างคนงาน 1,174 คน ไม่จ่ายเงินค่าชดเชย ตั้งแต่ปี 2562
ข่าวน่าสนใจ:
- "กรุงเทพฯ ดีต่อใจ" ชวน ฮีลกาย..ฮีลใจ รับปีใหม่ 3-5 ม.ค.68
- "ตรังโมเดล" โกโก้สร้างรายได้ให้เกษตรกร กิโลกรัมละ 8 บาท ภาคเกษตร-เอกชนร่วมมือเปิดจุดรับซื้อ 11 แห่ง
- แลนด์มาร์กใหม่ ขวัญใจเด็ก ๆ สวนสนุกในร่ม ใหญ่สุดในระยอง
- คืบหน้า! เจ้าของร้านหื่น คุกคามทางเพศพนักงาน ขอมีเซ็กซ์ ส่งภาพโป๊-ของลับ ให้ประจำ ด้านเจ้าของร้านปิดปากเงียบ
ต่อมา เดือนมิถุนายน 2566 บริษัท แอลฟ่าสปินนิ่ง ปิดกิจการ เลิกจ้างคนงาน 132 คนและบริษัท เอเอ็มซี สปินนิ่ง เลิกจ้างคนงาน 153 คนโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
แต่กระทรวงแรงงานไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายแรงงาน มาตรา 118 (ค่าชดเชย) ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน คนงานทั้ง 3 บริษัท จึงยังไม่ได้รับเงินค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ทำให้เกิดความเดือดร้อนอย่างหนัก ขณะที่การดำเนินคดีทางแพ่งและอาญาเป็นไปอย่างล่าช้า
โดยค่าชดเชยคนงานทั้ง 3 บริษัท มีดังนี้
♦บริษัท บอดี้แฟชั่น เลิกจ้าง 1,174 คน ไม่จ่ายค่าชดเชยรวม 101 ล้าน 941,799.45 บาท
♦บริษัท แอลฟ่า สปีนนิ่ง เลิกจ้าง 132 คน ไม่จ่ายค่าชดเชยรวม 19 ล้าน 338,087.91 บาท
♦บริษัท เอเอ็มซี เลิกจ้าง 153 คน ไม่จ่ายเงินค่าชดเชย 18 ล้าน 479,206 บาท
เครือข่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชน คนงานบอดี้แฟชั่น เอเอ็มซี สปึนนิ่ง และแอลฟ่า จึงเรียกร้องให้รัฐบาลต้องรับผิดชอบลูกจ้างในอัตราเท่ากับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ซึ่งเป็นไปตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน และขอให้ดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญาต่อนายจ้างทั้ง 3 บริษัทอย่างเด็ดขาด เพื่อไม่ให้ละเมิดกฎหมายแรงงานอีกต่อไป
ด้วยการอนุมัติเงินกองทนสงเคราะห์ หรือเงินอื่นใด ในการเยียวยาคนงานที่เดือดร้อนดังเช่น การใช้งบกลาง 750 ล้านบาท จ่ายให้คนงานไทยที่เดินทางกลับจากอิสราเอล
กระทรวงแรงงานปล่อยปละละเลยต่อการบังคับใช้กฎหมายแรงงาน แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไม่ได้ปกป้องสิทธิประโยชน์และยังสร้างความเสียหายเดือดร้อนให้ประชาชน
พร้อมข้อเรียกร้อง ดังนี้
1.นายทุนข้ามชาติ เจ้าของสินค้าแบลนด์เนม ผู้ผลิต ในห่วงโซ่การผลิตทุกระดับชั้น ให้มีความรับผิดชอบ
ในการจ่ายเงินค่าชดเชยให้แก้ลูกจ้าง
2.กระทรวงแงงาน ดำเนินคดีทางแพ่งนายจ้างต่างชาติที่คดโกงเงินค่าจ้างและค่าชดเชยโดยทันที และให้ถือเป็นอาชญากรทางเศรษฐกิจ
3.กระทรวงแรงงานต้องอนุมัติเงินกองทุนสงเคราะห์หรือเงินอื่นใด รวมทั้งงบกลาง ในการเยียว
ลูกจ้างเครือช่ายแรงงานเพื่อสิทธิประชาชนและคนงานทั้ง 3 บริษัท
พร้อมขอให้สื่อมวลชนและประชาชนเป็นปากเสียงร่วมกันเรียกร้องต่อรัฐบาลเศรษฐาและกระทรวงแรงงาน ซึ่งนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
เยียวยาความเดือดร้อนของคนงานทั้ง 3 บริษัทเปินการเร่งด่วน
ทั้งนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมบางส่วน ยังปีนประตูทางเข้ากระทรวงแรงงานด้วย เนื่องจากทางกระทรวงปิดประตู
ต่อมา นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นตัวแทนเข้าเจรจาและรับข้อเรียกร้องจากผู้ชุมนุม
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: