กรุงเทพฯ – เช็กที่นี่ สถานที่ วิธีลงคะแนน เลือกตั้งผู้แทนฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตน เป็นคณะกรรมการประกันสังคม
การจัดการเลือกตั้ง ผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน เป็นกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดสปส.) จะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ (24 ธ.ค.66) ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่เปิดให้ผู้ประกันตนใช้สิทธิเลือกตัวแทนได้โดยจะเป็นการเลือกตัวแทนของทั้งฝ่ายนายจ้างและผู้ประกันตน เข้าไปทำหน้าที่เสนอความเห็นและนโยบาย ในการดูแลจัดการบริหารกองทุนประกันสังคม ซึ่งมีเงินสะสม 2.27 ล้านล้านบาท ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
โดยมีผู้ประกันตนลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งไว้ 945,609 คน นายจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคม ลงทะเบียน 4,209 คน
ทั้งผู้ประกันตน (ลูกจ้าง) และนายจ้าง สามารถลงคะแนนเสียงเลือกตัวแทน ได้ฝ่ายละ 7 คน จากผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่ายผู้ประกันตน 247 คน ขณะที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งฝ่ายนายจ้างมี 69 คน
ข่าวน่าสนใจ:
ผู้ประกันตนและนายจ้างที่มีสิทธิ จะต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ในวันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 08.00– 16.00 น. ณ สถานที่เลือกตั้งที่มีรายชื่อ ผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และ มาตรา 40 ที่ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และสถานที่เลือกตั้ง ที่นี่ https://sbe.sso.go.th/sbe/
เตรียมตัว-วิธีการลงคะแนน
1️⃣ตรวจสอบรายชื่อ
-เว็บไซต์ www.sso.go.th
-ณ สถานที่เลือกตั้ง (คูหา)
2️⃣ยื่นหลักฐานแสดงตัวตน
บัตรประชาชน ใบขับขี่ หนังสือเดินทาง หรือบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มีภาพถ่ายและหมายเลขบัตรประชาชนชัดเจน
3️⃣รับบัตรเลือกตั้ง
ลงชื่อในต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง
กรณีไม่สามารถเขียนได้ให้ใช้ ลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือขวา ลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือซ้าย และลายพิมพ์นิ้วอื่น ตามลำดับ
4️⃣ลงคะแนน
ให้เขียนเลขอารบิกที่ต้องการเลือก ในช่องเขียนหมายเลขด้วยตนเอง และสามารถเขียนได้ไม่เกิน 7 หมายเลข (ไม่มีข่องให้กากบาท) ***ห้ามผู้ใช้สิทธิลงคะแนนนำเอกสารเข้าไปในที่เลือกตั้ง***
5️⃣หย่อนบัตรลงหีบ
พับบัตรและหย่อนลงคะแนน ลงหีบด้วยตนเอง
ทั้งนี้ ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จะต้องจำเบอร์ผู้สมัครที่ตนเองจะเลือกให้ได้แม่นยำ ก่อนเข้าคูหาเลือกตั้ง
ใช้สิทธิเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมได้ที่ไหน
ภาคกลาง
– กรุงเทพมหานคร มี 14 หน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย เขตคลองเตย เขตคันนายาว เขตดินแดง เขตธนบุรี เขตบางขุนเทียน เขตบางเขน เขตบางแค เขตบางรัก เขตปทุมวัน เขตพระนคร เขตมีนบุรี เขตยานนาวา เขตสวนหลวงและเขตหลักสี่
– จ.สมุทรปราการ มี 6 หน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อ.บางบ่อ อ.บางพลี อ.บางเสาธง อ.พระประแดง อ.พระสมุทรเจดีย์ และ อ.เมืองสมุทรปราการ
– จ.สมุทรสาคร มี 2 หน่วยเลือกตั้ง คือ อ.กระทุ่มแบน และ อ.เมืองสมุทรสาคร
– จ.นนทบุรี มี 2 หน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อ.บางบัวทอง และ อ.เมืองนนทบุรี
– ขณะที่จังหวัดอื่น ๆ อย่าง อุทัยธานี ชัยนาท นครสวรรค์ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สมุทรสงครามสระบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง ต่างมีหน่วยเลือกตั้งเดียวในแต่ละจังหวัด โดยจะตั้งอยู่ภายในเขตอำเภอเมืองเท่านั้น
ภาคเหนือ
– จ.เชียงใหม่ มี 2 หน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อำเภอฝาง และอำเภอเมืองเชียงใหม่
– จ.ลำปาง มี 2 หน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อำเภอเถิน และอำเภอเมืองลำปาง
– จ.น่าน มี 2 หน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อำเภอปัว และอำเภอเมืองน่าน
– จ.ตาก มี 2 หน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อำเภอแม่สอด และอำเภอเมืองตาก
– ขณะที่จังหวัดอื่น ๆ อย่าง แม่ฮ่องสอน เชียงราย ลำพูน พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก กำแพงเพชรเพชรบูรณ์ และพิจิตร ต่างมีหน่วยเลือกตั้งเดียวในแต่ละจังหวัด โดยจะตั้งอยู่ภายในเขตอำเภอเมืองเท่านั้น
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
– จ.ขอนแก่น มี 2 หน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อ.ชุมแพ และ อ.เมืองขอนแก่น
– จ.นครราชสีมา มี 3 หน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อ.โนนสูง อ.ปากช่อง และ อ.เมืองนครราชสีมา
– ขณะที่จังหวัดอื่นๆ อย่าง กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครพนม บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลยศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ ต่างมีหน่วยเลือกตั้งเดียวในแต่ละจังหวัด โดยจะตั้งอยู่ภายในเขตอำเภอเมืองเท่านั้น
ภาคตะวันออก
– จ.ชลบุรี มี 3 หน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อ.บางละมุง อ.ศรีราชา และ อ.เมืองชลบุรี
– จ.ระยอง มี 3 หน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อ.นิคมพัฒนา อ.ปลวกแดง และ อ.เมืองระยอง
– จ.ปราจีนบุรี มี 3 หน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อ.กบินทร์บุรี อ.ศรีมหาโพธิ และ อ.เมืองปราจีนบุรี
– จ.ฉะเชิงเทรา มี 2 หน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อ.บางปะกง และ อ.เมืองฉะเชิงเทรา
– จ.ตราด มี 2 หน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อ.เกาะช้าง และ อ.เมืองตราด
– จังหวัดอื่น ๆ อย่าง จันทบุรี นครนายก และสระแก้ว ต่างมีหน่วยเลือกตั้งเดียวในแต่ละจังหวัด โดยจะตั้งอยู่ภายในเขตอำเภอเมืองเท่านั้น
ภาคตะวันตก
– จ.ประจวบคีรีขันธ์ มี 3 หน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อ.บางสะพาน อ.ปราณบุรี อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์
– จ.นครปฐม มี 2หน่วยเลือกตั้ง ประกอบไปด้วย อ.สามพราน และ อ.เมืองนครปฐม
– จังหวัดอื่น ๆ อย่าง กาญจนบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี และราชบุรี ต่างมีหน่วยเลือกตั้งเดียวในแต่ละจังหวัดโดยจะตั้งอยู่ภายในเขตอำเภอเมืองเท่านั้น
หากมีข้อสงสัย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์อำนวยการการเลือกตั้ง โทร.02-956-2222
เวลา 08.30-16.30 น. ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: