ตรัง อานิสงส์ “ปลาโมล่า” ปลามหาสมุทรสุดน่ารักในทะเลอันดามันไทย ทำท่องเที่ยวดำน้ำทะเลอันดามันตรังคึกคัก แห่จองเรือ มุ่งไปหินม่วงหินแดงที่เป็นกองหินกลางทะเลกระบี่และตรัง
นายณัฐวัส หรือครูปาล์ม ศศิธร เจ้าของบริษัทเลตรังไดฟ์วิ่ง จำกัด/ครูสอนดำน้ำ ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า หลังจากเมื่อ 2 อาทิตย์ที่ผ่านมาในโซเชียล ได้มีกลุ่มนักดำน้ำโพสต์ในกลุ่มดำน้ำ พบเจอปลาโมล่า ในทะเลอันดามันประเทศไทย ที่ บริเวณหินม่วงหินแดง ซึ่งจุดที่เจอคือหินม่วง/หินแดงเป็นกองหินกลางทะเลกระบี่และตรัง ซึ่งปลาแสงอาทิตย์ หรือ ปลาโมล่า นี้หาดูได้ยากมาก ส่วนใหญ่จะไปเจอทางฝั่งบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย และบ้านเราโอกาสที่จะพบเจอนั้นน้อยมาก
และตั้งแต่มีกระแสว่าพบปลาโมล่า ที่บริเวณดังกล่าว ทำให้มีกลุ่มนักดำน้ำติดต่อเข้ามา ในพื้นที่จังหวัดตรัง เพื่อที่จะให้เราเตรียมเรือและอุปกรณ์ เพื่อไปดำน้ำดูปลาโมล่า และการเดินทางด้วยสปีดโบ๊ท จาก จ.ตรัง ใช้เวลาประมาณเพียง 1 ชั่วโมง 30 นาทีเท่านั้น ถือว่าตรังก็ได้อานิสงส์ ทำให้มีกลุ่มนักท่องเที่ยวกลุ่มดำน้ำมาติดต่อไปเที่ยวดำน้ำดูปลาโมล่า กันเป็นจำนวนมาก
ซึ่งเคยทราบว่าในประเทศไทยมีการค้นพบปลาโมล่า แค่ 2-3 ครั้งเท่านั้น เพราะหากจะอยากเห็นปลาชนิดนี้ จะต้องไปถึงเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งไม่ใช่ว่านักดำน้ำทุกคนที่ไปเที่ยวแล้วจะได้เจอ ซึ่งตนเองเคยไปเที่ยวถึง 5 ครั้งแต่ก็เจอปลาชนิดนี้เพียงครั้งเดียว
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง ทดลองล้อมคอกหญ้าทะเล เร่งหาทางออกฟื้นฟูหญ้าทะเล ภาระกิจด่วนทำแข่งกับเวลาที่เหลืออยู่กับความอยู่รอดของพะยูน
- ตรัง ราคายางดิ่งกว่า 20 บาทต่อกิโลกรัม กยท.หนุนสถาบันทำโครงการชะลอยางสู้นายทุน
- ตรัง อึ้ง!! เด็ก-เยาวชนหลุดออกนอกระบบการศึกษากว่า 6 พันคน ศึกษาธิการตรังสั่งรวบรวม-วิเคราะห์ข้อมูล รับนโยบาย Thailand zero dropout
- ตรัง จากสวนปาล์มตรังสู่ศูนย์การเรียนรู้เกษตรผสมผสานต้นแบบ ขุดสระน้ำเป็นรูปเลข 9 อารบิก สอดคล้องกับแนวคิดของในหลวงรัชกาลที่ 9
เมื่อมีกระแสพบสัตว์แปลก ๆ หรือหาดูได้ยากจะทำให้ พวกนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะนักดำน้ำ มาเที่ยวและต้องการที่จะไปเจอ เพราะเป็นสัตว์หายากและเป็นสัตว์ทะเลน้ำลึก อยู่ดี ๆ ก็มาโผล่ในบริเวณน้ำตื้น ทำให้กลุ่มดำน้ำรู้สึกตื่นเต้นและจากการเดินทางก็ไม่ไกลด้วย
สำหรับปลาโมล่า หรือ ปลาแสงอาทิตย์ มีลักษณะวงกลมแบนๆ มีครีบบนครีบล่าง มีหางเล็ก-ปากเล็กนิดเดียว ซึ่งจะอาศัยอยู่ในน้ำลึกระดับ 100 เมตร และจะกลับมาในน้ำตื้นเพื่อมาทำความสะอาดตัวมันเอง โดยมาชาร์จแบตพลังงานและก็กลับลงสู่ที่ลึกต่อไป หากเราจะไปดูปลาชนิดนี้ ที่ประเทศอินโดนีเซียจะต้องไปในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน-ตุลาคม ซึ่งกลุ่มนักดำน้ำก็จะแห่ไปกันที่บาหลี
และในที่ประเทศไทยที่เจอก็ตรงที่บริเวณหินม่วง เขตรอยต่อกระบี่-ตรัง ในระดับความลึกประมาณ 20-25 เมตร ซึ่งว่ายเข้ามาในกองหินทำให้นักดำน้ำถ่ายรูปไว้ได้ จึงทำให้เป็นกระแส ที่ทำให้นักดำน้ำยอมจ่ายเงินซื้อทริป แห่มาท่องเที่ยวในทะเล จ.ตรัง และฝั่งเกาะลันตา จ.กระบี่ ก็คึกคักไปด้วย เพื่อที่จะมาดำน้ำดูปลาโมล่า ตัวนี้
ซึ่งในช่วงนี้เราได้เจอสัตว์แปลก ๆ บ่อย นอกจากจะเจอปลาโมล่า แล้ว ยังมีพบเจอวาฬเผือกอีกด้วย ที่เป็นการค้นเจอครั้งแรกของประเทศไทย ที่เราเจอปลาตัวนี้พบเจอเพียงตัวเดียว สำหรับหินม่วงหินแดงนั้น เป็นไดฟ์ที่ติด top ten ของโลก จะเป็นบริเวณหินที่มีโผล่น้ำและหินที่จมน้ำ ซึ่งเป็นกองปะการังที่มีทั้งสีม่วงสีแดง ทำให้บริเวณตรงนี้พบเจอสัตว์ใหญ่เยอะอย่างเช่น แมนต้า ฉลามวาฬ แพลงก์ตอน วนเวียนอยู่แถวนั้นเยอะ และเมื่อมีปลาโมล่า เข้ามาตรงบริเวณนี้ ทำให้กลายเป็นที่ฮือฮาของนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะกลุ่มดำน้ำในประเทศไทย
จากที่เราพบสัตว์แปลก ๆ ที่หาดูได้ยาก โผล่มานั้นมองว่าเป็นเรื่องของกระแสน้ำโทโมไคพัดเข้ามา ซึ่งก่อนหน้านั้นก็เคยพบเจอว่าปลาชนิดนี้เคยเข้ามาแถวหมู่เกาะสิมิลัน และก็มีมาเกยตื้นอยู่แถวจังหวัดสตูลด้วย
ขอบคุณภาพประกอบ : ปลาโมล่า ครูปาล์มถ่ายที่เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเดือนสิงหาคม 2566 และ ภาพกลุ่มนักดำน้ำ ภาพใต้ท้องทะเลตรัง ปะการัง ฝูงปลา
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: