กรุงเทพฯ – คุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร ยังแย่ ปกคลุมด้วยฝุ่น PM2.5 แม้ผู้ว่าฯ กทม.ออกประกาศให้ทำงานจากที่พัก ล่าสุด มี 4 เขตอยู่ในระดับสีแดง ที่เหลือสีส้มทั้งหมด
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 เวลาล่าสุด 11:00 น. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร อยู่ที่ 65.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.)
โดยมี 4 เขต ที่อยู่ในระดับสีแดง (มีผลกระทบต่อสุขภาพ) ประกอบด้วย
1.เขตบางรัก 78.9 มคก./ลบ.ม.
2.เขตทวีวัฒนา 78.9 มคก./ลบ.ม.
3.เขตบางบอน 75.9 มคก./ลบ.ม.
4.เขตยานนาวา 75.2 มคก./ลบ.ม.
ขณะที่อีก 46 เขต อยู่ในระดับสีส้ม
ข่าวน่าสนใจ:
- ทีดีอาร์ไอ จัดเวิร์คชอป “ CONTENT CREATOR WORKSHOP: SYNERGY FOR CLEAN ENERGY”
- ททท.เชิญชม แสง สี สวยงามอลังการ “VIJIT CHAO PHRAYA 2024” วันนี้-15 ธค. ฟรี
- ปัญหาที่ท้าทายของ “กรมชลประทาน” กับการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงแจ้งเตือนการเกิดอุทกภัยใน “พื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง”
- ตรัง อึ้ง!! เด็ก-เยาวชนหลุดออกนอกระบบการศึกษากว่า 6 พันคน ศึกษาธิการตรังสั่งรวบรวม-วิเคราะห์ข้อมูล รับนโยบาย Thailand zero dropout
ทั้งนี้ ค่า PM2.5 มีแนวโน้มลดลง
อย่างไรก็ตาม เมื่อช่วงเช้าถึงสาย มีพื้นที่ที่ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน 65 พื้นที่ โดยอยู่ในระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ 10 พื้นที่ ประกอบด้วย 1.เขตบางรัก 2.เขตยานนาวา 3.เขตธนบุรี 4.เขตคลองสาน 5.เขตบางกอกน้อย 6.เขตบึงกุ่ม 7.เขตตลิ่งชัน 8.เขตทวีวัฒนา 9.เขตบางบอน 10.เขตประเวศ
และอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 55 พื้นที่
ข้อแนะนำสุขภาพ
🔴คุณภาพอากาศระดับสีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ
ประชาชนทุกคน : งดกิจกรรมกลางแจ้ง หากมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองทุกครั้ง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
ผู้ที่มีโรคประจำตัว : ควรอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศ ให้เตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
🟠คุณภาพอากาศระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: