กรุงเทพฯ – ไทย เข้าสู่ ‘ฤดูร้อน’ ปี 2567 แล้วตั้งแต่ 21 ก.พ. จะสิ้นสุดกลาง พ.ค. คาด ปีนี้ร้อนอบอ้าวทั่วไปทั้งฤดู เตือน 5 จังหวัด แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์สุโขทัย ตาก และอุดรธานี ร้อนจัดทสุด อุณหภูมิสูงสุด 43.0-44.5 °ซ. กทม. 40.0-41.0 °ซ. โดยตั้งแต่ช่วงกลาง มี.ค.-ต้น พ.ค. อากาศจะร้อนอบอ้าวถึงร้อนจัด กลาง มี.ค.-เม.ย. มีโอกาสเกิดพายุฤดูร้อน
นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา แจ้งการเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทย ประจำปี 2567 ประเทศไทยสิ้นสุดฤดูหนาว และเริ่มเข้าสู่ฤดูร้อนแล้วตั้งแต่วันที่ 21 ก.พ. 2567 ตามเกณฑ์การพิจารณาการเข้าสู่ฤดูร้อน และจะสิ้นสุดฤดูร้อนในช่วงกลางเดือน พ.ค.67 โดยปีนี้อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยบริเวณประเทศไทยตอนบน 36-37 °ซ. ซึ่งสูงกว่าค่าปกติ และสูงกว่าปีที่แล้ว ลักษณะอากาศจะร้อนอบอ้าวโดยทั่วไปและจะมีอากาศร้อนจัดในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะ 5 จังหวัดที่มีโอกาสร้อนจัดที่สุด ได้แก่แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก และอุดรธานี ตั้งแต่กลางเดือน มี.ค.-ต้น พ.ค. สำหรับปริมาณฝนรวมเฉลี่ยจะน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 30
คาดหมายพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดอากาศร้อนจัด ประกอบด้วย ♦ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิสูงสุด 42-44 °ซ. บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยาเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เลยหนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่นมหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ข่าวน่าสนใจ:
- โหดเหี้ยม!หนุ่มถูกมีดฟันยับดับกลางถนน คาดทะเลาะในวงเหล้า
- พะเยา หนุ่มขโมยย่องฉกเงินร้านข้าวมันไก่ 3 ครั้งเจ้าของสุดทนแจ้งตรจับ
- ปป.แม่สายทานมูมมามจนลืมตัว เรียกเก็บเงินแบบไม่อาย แต่ต่อรองราคาได้
- มท.1 เยือนจังหวัดนครพนม เปิดงานมหกรรมเทศกาลปลาลุ่มน้ำสงคราม ประจำปี 2567 ครั้งที่ 21 ผลักดัน Soft Power อำเภอศรีสงคราม
♦ภาคกลางและตะวันตก อุณหภูมิสูงสุด 41-44 °ซ. บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานีชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา กาญจนบุรีราชบุรี นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี นครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และสระแก้ว
♦ภาคใต้ อุณหภูมิสูงสุด 40-41 °ซ. บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานีนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล และกรุงเทพมหานครอุณหภูมิสูงสุด 40-41 °ซ.
ทั้งนี้ ภาคใต้ ช่วงปลายเดือนก.พ.-ปลาย เม.ย. จะมีอากาศร้อนในหลายพื้นที่ และร้อนจัดบางแห่งในบางวัน กับมีฝนตกร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ คลื่นลมในทะเลจะมีคลื่นสูง 1 เมตร จากนั้น จะมีฝนเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะฝั่งตะวันตกจะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง คลื่นลมในทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้นบางช่วงอาจสูง 2-3 เมตร
ในช่วงเปลี่ยนฤดูจากปลายฤดูหนาวไปต้นฤดูร้อน (ปลาย ก.พ.-กลาง มี.ค.) บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก จะมีพายุฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น เนื่องจากมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปะทะกับอากาศประเทศไทยที่เริ่มร้อนขึ้น และอีกสาเหตุหนึ่งมาจากคลื่นกระแสลมตะวันตกที่พัดจากประเทศเมียนมาเข้ามาปกคลุม
ช่วงกลางฤดูร้อน (กลาง มี.ค.-เม.ย.) มีโอกาสเกิดพายุฤดูร้อน พายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้บางพื้นที่ โดยจะมีผลกระทบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อนในวันแรก ส่วนภาคเหนือ กลาง ตะวันออก กรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะได้รับผลกระทบในวันถัดไป ทั้งนี้ บริเวณที่มีโอกาสเกิดพายุฤดูร้อนรุนแรงส่วนมากอยู่บริเวณจังหวัดที่มีอากาศร้อนจัดทางภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
“ช่วงฤดูร้อนนี้นอกจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นจะมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของผู้คนและสัตว์แล้ว ดัชนีความร้อน หรือ Heat Index คือ อุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ว่าขณะนั้นอากาศร้อนเท่าไร เป็นสภาวะที่ทำให้ร่างกายเรารู้สึกร้อนมากกว่าอุณหภูมิตามจริง ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพทำให้เจ็บป่วยได้ ดังนั้น ขอให้ประชาชนติดตามพยากรณ์ค่าดัชนีความร้อนของกรมอุตุนิยมวิทยา www.rnd.tmd.go.th/heatindexanalysis ประกอบด้วยเพื่อใช้วางแผนกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และดูแลตนเองให้ปลอดภัยในฤดูร้อนนี้” อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวเตือนในช่วงท้าย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: