สถานการณ์ภัยแล้งในหลายพื้นที่ของจังหวัดอุทัยธานี ส่อเค้าเกิดภัยแล้งยาวนาน โดยเฉพาะเขื่อนวังร่มเกล้าเหลือเพียงน้ำขังในแอ่งน้ำลึกเท่านั้น ไม่สามารถปล่อยน้ำไปช่วยพื้นที่การเกษตรตามระบบชลประทานได้ และต้องสงวนน้ำที่เหลือเพื่อรักษาระบบนิเวศน์เท่านั้น หากจะนำน้ำไปหล่อเลี้ยงต้นข้าวเกษตรกรต้องตั้งเครื่องสูบน้ำไปช่วยเหลือตัวเอง
เวลา 16.00 น.วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 เขื่อนวังร่มเกล้าซึ่งเป็นเขื่อนทดน้ำและระบายน้ำ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ 2 อำเภอ พื้นที่เหนือเขื่อนอยู่ในพื้นที่อำเภอทัพทัน และพื้นที่ท้ายเขื่อนอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ขณะนี้เกิดสถานการณ์ภัยแล้งอย่างหนัก ทั้งบริเวณพื้นที่เหนือเขื่อน และท้ายเขื่อนวังร่มเกล้า ปริมาณพื้นที่ส่วนใหญ่น้ำแห้งแล้ว แต่ยังปริมาณขังในแอ่งน้ำลึกอยู่บ้างเท่านั้น ซึ่งเกษตรกรชาวนาส่วนใหญ่ที่อยู่ในพื้นที่เขตชลประทานไม่กล้าเสี่ยงต่อการทำนาปรัง เนื่องจากหวั่นเกรงว่าน้ำจะไม่เพียงพอ แต่ก็เป็นจริงต่อการคาดเดาถึงสถานการณ์ภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นในฤดูแล้งนี้ อย่างไรก็ตามก็จะมีเกษตรกรชาวนาเสี่ยงทำนา แต่ต้องยอมรับถึงสถานการณ์ภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นอย่างยาวนาน
และจากสถานการณ์ภัยแล้งดังกล่าว แหล่งน้ำของเขื่อนวังร่มเกล้าที่ยังมีน้ำขังอยู่ในแอ่งน้ำลึก ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสุดท้ายของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ในพื้นที่อำเภอทัพทัน และอำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ต่างต้องต้อนฝูงสัตว์เลี้ยงทั้งควาย แพะ และแกะ พากันมาแทะเล็มหญ้าที่พอมีหญ้าขึ้นอยู่รวมถึงสัตว์เลี้ยงได้กินน้ำที่แหล่งน้ำแห่งนี้ ส่วนน้ำที่มีขังอยู่ในแอ่งน้ำลึกทางชลประทานได้สงวนได้เพื่อรักษาระบบนิเวศน์ และสงวนไว้ช่วยเหลือเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรชาวนา ที่เสียงทำนาปรังและขาดน้ำ แต่ต้องช่วยเหลือตัวเองด้วยการนำเครื่องสูบน้ำมาตั้ง สูบน้ำไปตามคลองชลประทาน แล้วจึงตั้งเครื่องสูบน้ำ สูบน้ำเข้าพื้นที่นาข้าวของตนเอง ซึ่งมีการย้ำเตือนของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ช่วงว่างเว้นจากการทำนา หากจะเพาะปลูกพืชเพื่อดำรงชีพและเป็นรายได้ก็ขอให้ปลูกพืชใช้น้ำน้อย โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วเท่านั้นเพราะจะไม่เสี่ยงต่อสถานการณ์ภัยแล้ง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: