วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม 2567 เวลา 11.30 น.นายวันชัย จันทร์พร ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม (เป็นประธาน) เปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเจรจาต่อรองในภาวะวิกฤตจิตเวชและยาเสพติด โดยมีนายปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครพนม กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ ซึ่งการจัดประชุมครั้งนี้ กำหนดขึ้นในห้วงระหว่าง วันที่ 14-15 มีนาคม 2567 ณ ห้องประชุมใหญ่ โรงแรมไอโฮเทล นครพนม ต.ท่าคัอ อ.เมืองนครพนม
สืบเนื่อง จากปัญหาของผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตเวชก่อเหตุความรุนแรงกับผู้คนใกล้ชิด ครอบครัว หรือคนในชุมชน ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชน ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในปัจจุบัน คณะรัฐมนตรีมีมติให้กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด โดยมุ่งเน้นการดูแลต่อเนื่องในชุมชนของผู้ป่วยจิตเวช ยาเสพติด ที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง โดยจัดตั้งชุดปฏิบัติการประจำตำบล ชุดรักษาความปลอดภัย ชุดเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อเข้าสู่กระบวน การบำบัดรักษาที่เหมาะสม รวมทั้ง ค้นหาคัดกรองและเฝ้าระวังการก่อความรุนแรงจากนโยบายด้านยาเสพติด จังหวัดนครพนม
ข่าวน่าสนใจ:
- คู่แข่งนอกสายตานายก ก้อย “พนธ์ มรุชพงษ์สาธร” ขอวัดดีกรีว่าที่นายก อบจ.แปดริ้ว
- ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิขานรับนโยบายกระทรวงคมนาคม พร้อมอำนวยความสะดวกผู้โดยสาร ช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
- พะเยา หนุ่มขโมยย่องฉกเงินร้านข้าวมันไก่ 3 ครั้งเจ้าของสุดทนแจ้งตรจับ
- ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย เชิญส่วนราชการ เอกชน สื่อมวลชน 50 คน เยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนกระตุ้นการท่องเที่ยว-เศรษฐกิจในชุมชน อย่างยั่งยืน
โดยได้แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการดูแลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง โดยบูรณาการนำเข้าข้อมูล เข้าสู่ระบบข้อมูลผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (one data center) จากข้อมูลตั้งแต่ปี 2564 ถึงปัจจุบัน มีจำนวนผู้ป่วยจิตเวชเสพติด ทั้งสิ้น 5,595 คน แบ่งประเภทเป็น ผู้ป่วยสีแดง จำนวน 707 คน ,ผู้ป่วยสีส้ม จำนวน 290 คน ,ผู้ป่วยสีเหลือง จำนวน 818 คน และผู้ป่วยสีเขียว จำนวน 3,780 คน ซึ่งผู้ป่วยที่ต้องดูแลเฝ้าระวังและพร้อมจะก่อเหตุความรุนแรงได้ทุกเมื่อ โดยโรคจิตเวชที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง 4 อันดับได้แก่ 1.โรคจิตเวชที่เกิดจากยาเสพติด 2.โรคจิตเภท 3.โรคความผิดปกติทางอารมณ์ และ 4.โรคจิตเวชอื่นๆ เมื่อกลับไปใช้ยาเสพติดซ้ำ จะนำไปสู่การเกิดอาการทางจิตที่รุนแรง เช่น หลงผิด หวาดระแวง หูแว่ว ภาพหลอน และมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงทำร้ายตนเองและผู้อื่นหรือทำลายทรัพย์สิน ซึ่งในปีงบประมาณ 2566 ที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงจากผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด ซึ่งมีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ ดังนั้น หากผู้ปฏิบัติงานมีความรู้และทักษะที่จำเป็นในการเจรจาต่อรองเมื่อเกิดเหตุบุคคลคุ้มคลั่ง เอะอะ อาระวาด ก็จะสามารถลดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินทั้งของตนเองและผู้อื่น จากปัญหาดังกล่าวสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม ได้ให้ความสำคัญกับการป้องกันและเฝ้าระวังผลกระทบจากผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติด โดยเฉพาะการพัฒนาศักยภาพบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการเจรจาต่อรอง จึงได้จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเจรจาต่อรองให้ภาวะวิกฤตจิตเวชและยาเสพติดขึ้น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุม มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะการเจรจาต่อรอง เมื่อเกิดเหตุการณ์ก้าวร้าวรุนแรงขึ้น ซึ่งการดำเนินการประชุมครั้งนี้ มีเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตและยาเสพติด ในโรงพยาบาล , ตำรวจภูธรจังหวัดนครพนม และที่ทำการปกครองอำเภอ รวมจำนวน 80 คน โดยมีวิทยากรผู้บรรยายความรู้ โดย อาจารย์วัลลี ธรรมโกสิทธิ์ นักจิตวิทยาคลินิกเชี่ยวชาญ ที่ปรึกษาสถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ พร้อมคณะฯ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: