กรุงเทพฯ – พรรคก้าวไกล มีมติเอกฉันท์ เลือกผู้ที่จะลงสมัครรับเลือกตั้ง นายก อบจ. เชียงใหม่ ไม่ใช่ ‘ทัศนีย์ บูรณุปกรณ์’ แต่เป็น ‘พันธุ์อาจ ชัยรัตน์’ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
วันที่ 18 มีนาคม 2567 หลังจาก นางสาวทัศนีย์ บูรณุปกรณ์ อดีต ส.ส.เชียงใหม่ ลาออกจากพรรคเพื่อไทย ด้วยเหตุผลจัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว ก่อนสมัครเป็นสมาชิกพรรคก้าวไกล และประกาศตัว พร้อมที่จะสู้ศึกลงสมัครรับเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงใหม่ ซึ่งก็น่าจะเป็นในนามพรรคก้าวไกล ซึ่งคาดว่าพรรคจะเปิดตัว นางสาวทัศนีย์ หรือ กุ้ง เร็ว ๆ นี้
อย่างไรก็ตาม ล่าสุด พรรคก้าวไกลเปิดรายชื่อบุคคลที่พรรคจะส่งลงสมัครรับเลือกตั้ง นายก อบจ.เชียงใหม่ ที่กลับกลายเป็น ‘นายพันธุ์อาจ ชัยรัตน์’ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และกรรมาธิการวิสามัญพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือตอนล่าง 1 และเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ
โดยกรรมการบริหารพรรคก้าวไกล มีมติเป็นเอกฉันท์ เห็นชอบให้ นายพันธุ์อาจ ผ่านการคัดเลือกเป็น ผู้สมัครนายก อบจ.เชียงใหม่ ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
นายพันธุ์อาจ เป็นชาวเชียงใหม่โดยกำเนิด จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปริญญาเอกจาก Aalborg University เดนมาร์ก
ข่าวน่าสนใจ:
- บรรยากาศคึกคัก รับสมัครเลือกตั้งนายก อบจ. ส.อบจ. สกลนคร วันแรก
- “ปลายฝน ต้นหนาว เคาท์ดาวน์ มิวสิคเฟส สุราษฎร์ธานี” ไฮไลท์ประกวดควายไทยมูลค่ากว่า 10 ล้าน
- คู่แข่งนอกสายตานายก ก้อย “พนธ์ มรุชพงษ์สาธร” ขอวัดดีกรีว่าที่นายก อบจ.แปดริ้ว
- บ้านใหญ่พรรคเพื่อไทยเชียงราย เปิดตัวผู้สมัครนายก อบจ.พร้อมกับนำทีมผู้สมัคร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย ทั้ง 36 เขต ในนามพรรคเพื่อไทย
หลังเรียนจบ นายพันธุ์อาจ ทำงานคลุกคลีในแวดวงนวัตกรรมมาโดยตลอด โดยในระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง ผอ.สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ได้พยายามผลักดันแนวคิด ‘Innovation Thailand’ ผ่าน ‘Innovation for Crafted Living’ หรือนวัตกรรมเพื่อการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น
ระหว่างดำรงตำแหน่ง นายพันธุ์อาจ ได้ผลักดันให้ NIA มีบทบาทสำคัญในการสร้างโอกาสการเข้าถึงและใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานทางนวัตกรรม โดย NIA ถูกจัดให้เป็นอันดับที่ 1 จากผลการสำรวจ 2022-2023 Thailand’s Most Admired Company ในกลุ่มองค์การมหาชน (นวัตกรรม+เทคโนโลยี) ที่ได้รับความเชื่อมั่น การจดจำ และการยอมรับสูงสุดในเชิงภาพลักษณ์ รวมถึงความพึงพอใจในการให้บริการ และการทำประโยชน์เพื่อสังคม
หลังดำรงตำแหน่ง ผอ.NIA 2 สมัย หมดวาระเมื่อปี 2566 นายพันธุ์อาจ หันมาทำงานด้านการส่งเสริมสตาร์ตอัปในไทย
การตัดสินใจลงสู่สนามเลือกตั้ง อบจ.เชียงใหม่ ไม่ใช่เพราะเป็นจังหวัดบ้านเกิด และเมืองที่เขากับครอบครัวใช้ชีวิตอยู่เท่านั้น แต่เพราะเล็งเห็นว่า การใช้นวัตกรรมเป็นหลักในการขับเคลื่อนพัฒนาเมือง คือ คำตอบของการบริหารท้องถิ่นยุคใหม่ เขามีเป้าหมายจะสร้างเชียงใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยศักยภาพด้านงานคราฟต์และไลฟ์สไตล์ที่เป็นต้นทุนดั้งเดิมของเชียงใหม่ โดยไม่ได้ทำเพียงเพื่อตอบโจทย์เศรษฐกิจการท่องเที่ยว แต่เพื่อมอบคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนเชียงใหม่ไปพร้อม ๆ กัน
ประวัตินายพันธุ์ฮาจ
ประวัติการศึกษา
– 2549 ปริญญาเอก สาขาเศรษฐศาสตร์นวัตกรรม Aalborg University, Denmark
– 2540 ปริญญาโทวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม)
University of Sussex, UK
– 2539 ประกาศนียบัตรเศรษฐศาสตร์การเมืองนวัตกรรม, Linköping University, Sweden
– 2538 ปริญญาตรีวิทยาศาสตรบัณฑิต (ฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
– 2534 จบการศึกษาชั้นมัธยมปลาย จากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย
ประวัติการทำงาน
– กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท โนวิสเคปคอนซัลติ้งกรุ๊ป จำกัด
– ผู้อำนวยการฝ่ายต่างประเทศและพัฒนานักนโยบาย สำนักงานพัฒนานโยบายสาธารณะ
– ที่ปรึกษา สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– กรรมการและเลขานุการ ในคณะกรรมการจัดตั้งกองทุนพัฒนานวัตกรรม (ต่อมายกระดับเป็นสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ)
– กรรมการและเลขานุการการจัดตั้งฝ่ายวิจัยนโยบาย (ต่อมายกระดับเป็นสำนักงานนโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ สวทน.)
– หัวหน้าคณะที่ปรึกษา การจัดทำแผนที่นำทางวิจัยและนวัตกรรมระยะยาว บมจ.มิตรผล
– หัวหน้าคณะที่ปรึกษา การทำนวัตกรรมบริการในธนาคาร บมจ.ธนาคารกรุงไทย
– ที่ปรึกษาการออกแบบและพัฒนาเมืองเพื่อสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– ที่ปรึกษาการจัดทำแผนที่นำทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมสับปะรดไทย สถาบันอาหาร
– ที่ปรึกษานโยบายระบบนวัตกรรมแห่งชาติของไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประสบการณ์และผลงานที่เกี่ยวข้อง
– กรรมการกิติมศักดิ์ คณะกรรมการบริหารมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
– คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ
– คณะกรรมการพัฒนาจังหวัดด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
– คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาและเตรียมความพร้อมกับการพัฒนาเทคโนโลยีการใช้ไฟฟ้าเป็นพลังงานในการขับเคลื่อนยานพาหนะของประเทศไทย
– คณะอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปเศรษฐกิจกระแสใหม่
– ที่ปรึกษาคณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
– คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการ เกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพการให้บริการของภาครัฐ
– คณะอนุกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนประเทศ สภาผู้แทนราษฎร
– คณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดการภาวะวิกฤติโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ภัยแล้ง และเศรษฐกิจ
– คณะกรรมการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของมวลชน กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม
รางวัลที่ได้รับ
– รางวัล Rising Star ในงานสัมมนานานาชาตินวัตกรรมภาครัฐ Innovation Labs World 2018 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2561
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: