ชาวบ้านที่อยู่ตามท้องถิ่นชนบทต่างๆจะมี นา ห้วย หนอง คลอง บึง ต่างๆ ซึ่งเมื่อถึงหน้าฝนหรือฤดูน้ำหลากน้ำก็จะเจิ่งนองเต็มไปด้วยน้ำ สัตว์น้ำประเภท กุ้ง หอย ปู ปลา ก็จะดีใจได้น้ำ และอาศัยอยู่ในลำธาร ห้วย หนอง คลองบึงต่างๆให้ชาวบ้านได้จับขายกันเป็นจำนวนมาก
เช่นเดียวกัน เมื่อถึงหน้าแล้ง น้ำในห้วย หนอง คลองบึง ตามสระน้ำ หรือท้องร่องต่างๆ ก็จะแห้งขอดลง ทำให้ชาวบ้านได้อาศัยช่วงหน้าร้อนนี้หนีร้อนไปจับปลากัน เช่นเดียวกับ ชาวบ้านในพื้นที่หมู่ 10 ต.หนองช้างแล่น อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ซึ่งในสวนปาล์มน้ำมันก็จะมีการขุดท้องร่องพักน้ำเอาไว้ กุ้ง หอย ปู ปลาที่มากับน้ำหลากในช่วงหน้าฝนได้เข้ามาพักอาศัย พอถึงหน้าแล้งปีละครั้งเจ้าของสวนหรือลูกหลานก็จะได้ทำการสูบน้ำ เพื่อจับปลากันอย่างสนุกสนาน ซึ่งนอกจากจะคลายร้อนได้แล้ว ยังได้มีการทำกิจกรรมร่วมกัน โดยการนำเด็กๆลูกหลานเรียนรู้ธรรมชาติ เรียนรู้วิธีการหากินตามแบบวิถีท้องถิ่น โดยการสูบน้ำ และร่วมกันจับปลา ซึ่งมีเป็นจำนวนมากในธรรมชาติ เช่น ปลาช่อน ปลาหมอ รวมทั้งปลาไหล และปลาอื่นๆ ซึ่งปลาที่ได้ก็นำมาแบ่งกัน เพื่อต่างก็นำไปทำอาหารในครอบครัว ลดรายจ่ายในช่วงนี้ ซึ่งเป็นช่วงฤดูปิดกรีดยางพาราด้วย และหนีสภาพอากาศร้อนลงน้ำจับปลากันด้วย ซึ่งการสูบน้ำหรือจับปลาในช่วงหน้าแล้งก็เป็นวิถีชีวิตของคนไทย ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว หากอยู่กับธรรมชาติและวิถีชุมชนจริงๆ ทุกครอบครัวสามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนลงได้ เพราะพืชผักสวนครัวหากใครมีที่มีทางก็สามารถปลูกกินเองได้ สัตว์น้ำในธรรมชาติก็หากินได้ทั้งในฤดูฝน น้ำหลาก และช่วงหน้าแล้งอย่างนี้ ในที่นี้ พบเต่าด้วย จำนวน 2 ตัว ชาวบ้านก็ย้ายปล่อยคืนธรรมชาติในท้องร่องอื่นๆต่อไป เพราะสภาพพื้นที่นี้แม้จะเป็นช่วงหน้าแล้งแต่น้ำก็ไม่ได้แห้งหมด สัตว์น้ำเล็กๆ รวมทั้งเต่าก็สามารถอาศัยอยู่ขยายพันธุ์ได้ต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
ข่าวน่าสนใจ:
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: