พ่อเมืองเตรียมพัฒนาเมืองรองรับ ขณะการรถไฟปรับแผนพัฒนาจุดท่องเที่ยวในเส้นทางรถไฟทางคู่ ปรับพื้นที่วางตู้คอนเทรนเนอร์ไปที่เด่นชัย บริษัทที่ปรึกษาการรถไฟเชื่อว่า ปี 2571 สินค้าเดินเส้นทางนี้เข้าจีนสะดวก ท้องถิ่นเตรียมรับท้องเที่ยว ส่วนปัญหาผ่านป่าสงวนอนุรักษ์และการเวนคืนที่ดินในชุมชนจบแล้ว
สถานีเด่นชัย ปัจจุบันยังคงมีผู้โดยสารมาใช้บริการอย่างหน้าตา ทุกเที่ยวรถไฟสายเหนือที่เดินทางไปสู่เมืองต่างๆ ในภาคกลางและสถานีกรุงเทพอภิวัฒน์ ให้บริการตามนโยบายการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางรางตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชกาลที่ 5 เป็นต้นมาและดำเนินการก่อสร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว สถานีเด่นชัยเปิดการเดินรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2455 จนปัจจุบันรัฐบาลกำลังเร่งก่อสร้างวางรางรถไฟทางคู่ แยกจากสถานีเด่นชัยไปยังล้านนาตะวันออกปลายทางที่อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เส้นทางสายนี้ต้องใช้งบประมาณ 72,835 ล้านบาท ระยะทาง 323.10 กม. การก่อสร้างแบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ 1.เด่นขัย – งาว 2.งาว – เชียงราย และ ช่วง 3 เชียงรายถึงอำเภอเชียงของ ในส่วนของช่วงที่ 1 เด่นชัย – อำเภองาว ปัจจุบันสามารถก่อสร้างคืบหน้าไปแล้วเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ไปสิ้นสุดสัญญาเดือนมกราคม 2571 ซึ่งการรถไฟมาการแก้ปัญหาปิดอุปสรรคทุกทางแล้ว
ตามแผนการก่อสร้าง เน้นศูนย์รวมอยู่ที่สถานีจังหวัดแพร่ทั้งจุดรับผู้โดยสารและจุดวางสินค้าตู้คอนเทรนเนอร์ แต่พบปัญหาอุปสรรคเนื่องจากแพร่เป็นพื้นที่น้ำท่วมและอยู่ระหว่างการขยายเมืองจากความเจริญอย่างรวดเร็ว การทำจุดวางตู้คอนเทรนเนอร์สินค้าที่ส่งมากับรถไฟอาจทำให้เกิดปัญหากับตัวเมืองได้ จึงได้ย้ายไปอยู่ที่ สถานีเด่นชัย
นายเจษฎา ไทยยิ่ง วิศวกรที่ปรึกษา บริษัทเออีซี จำกัด กล่าวว่า ต่อไปเด่นชัยจะกลายเป็นศูนย์รวมการขนส่งสินค้าที่จะส่งไปยัง กทม. เชียงใหม่ หรือเชียงของ และพร้อมที่จะส่งไปยังประเทศจีนได้อย่างสะดวกกว่าจุดวางสินค้าที่เชียงใหม่ เพราะการขนส่งระยะทางสั้นลง ส่งผลกับต้นทุนของสินค้า ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการออกแบบที่เหมาะสมอยู่
จากแผนงานก่อสร้างทางรถไฟดังกล่าว ภาคเอกชน หอการค้า และผู้บริหารจังหวัดแพร่ ต้องการใช้ระบบการคมนาคมที่สมบูรณ์ทั้ง การขนส่งทางรถยนต์ ทางอากาศ และทางระบบราง นายชุติเดช มีจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ กล่าวว่า โครงการก่อสร้างรางรถไฟทางคู่ที่แพร่ มีอุโมงค์ที่ยาวที่สุดในประเทศไทยโดยมีความยาวถึง 6 กิโลเมตรเศษ รวมทั้งการรถไฟได้อำนวยความสะดวกในการออกแบบทางรถไฟให้มีความพร้อมในการรองรับการท่องเที่ยวด้วย ซึ่งจะเป็นโอกาสในการพัฒนาเมืองสู่เมืองท่องเที่ยวในอนาคตของจังหวัดแพร่ได้เป็นอย่างดีนอกจากนั้นทางรถไฟสายเด่นชัย-เชียงของ จะทำให้จังหวัดแพร่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วซึ่งทุกภาคส่วนในจังหวัดแพร่กำลังวางแผนรองรับกับการเจริญเติบโตของเมือง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
ข่าวน่าสนใจ:
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: